Oddbean new post about | logout

Notes by Sirat | export

 ที่เค้ารู้เพราะเค้าแอบประสานงานกับทางการเก็บข้อมูลการรับฟลูออไรด์ของคนทั่วโลกไว้แล้ว อีกหน่อย @005213ef เค้าจะเอา 5G ใส่ลงท่อประปาแน่ๆ 55555 🤣🤣 
 ไม่เกี่ยว แค่จงใจเอาเรื่องที่แม่งดูไม่มีทางเกี่ยวกันได้เลยมายัดรวมกันให้ดูกาวๆ เฉยๆ

เนี่ยยยย อย่าเชื่อฟังคำสั่งผู้บัญชาการมาก เราต้องมีพื้นที่ให้ creativity~~ 555555555 🤣 
 นั่นขาคนหรือขาเปรต omgggggg 😭😭 
 เทนโด้จิแบล็คเมล์เลาเหยอ 555555 
 Verify โดยการลองก้าวลงไปดู เผื่อเป็นภาพหลอกตา 5555 
 nostr:npub1dkd59r7zg45wthcce56cayltcqqp4km8dg9zzffgwpz48htaf0gqsa47gq เมื่อไหร่... 
 อ่าว ยังอยู่อีกเรอะ 5555 
 น่าสนใจ อยากอ่านอะ แต่กองดองเต็มไปหมดเลย 😭

#siamstr nostr:note18glxxdzmz9547srkhzqxmatmgkvs3cxr5dlt7hvk35jsvz8vr0gqkrd2aj 
 ไปเจอมีมนี้มา เกียดอ่า 5555555555555555 🤣

#siamstr https://image.nostr.build/d91ee30f3688d75cae422d065d6ba0deec55aaeb1bce6c28822f1695cd1ad668.jpg  
 ผมเคยเตือนไปแล้วหลายๆครั้งว่า Subjectiv... 
 หมายถึงยังไงนะยังไม่ค่อยเก็ต 
 สืบเนื่องจากประเด็นที่ถกกับพี่ปกป้องใน Discord เมื่อคืน ผมมองว่ายิ่งไม่แปลกใจที่ทุกวันนี้ธุรกิจและหน่วยงานต่างๆ ถูกใช้เป็นเครื่องมือตาม agenda ทางการเมือง และเกิดพฤติกรรมแบบทุนนิยมอุปถัมภ์ (crony capitalism) เล่นพรรคเล่นพวกกันได้ง่ายขึ้น

มันเป็นเพราะอะไร และมันเชื่อมโยงกลับมาที่เรื่องเงิน (money) ยังไง?

(1/4)

#siamstr 
 (2/4)

ง่ายๆ เลยครับ ปัญหาของทุกวันนี้คือเงินทำหน้าที่เป็น store of value ไม่ได้แล้ว (เหลือฟังก์ชั่นได้แค่ 2 อย่าง คือเป็น unit of account กับ medium of exchange) นั่นแปลว่า ถ้าเราอยากจะเก็บพลังงานและคุณค่าจากงานที่เราลงทุนลงแรงไปเพื่อให้ได้ค่าตอบแทนมา เราต้องเอาเงิน fiat ที่ได้มาไปแปลงเป็นสินทรัพย์อย่างอื่น

ซึ่งสำหรับคนทั่วไป ที่รู้เท่าทันปัญหานี้ แต่ไม่มีความเชี่ยวชาญหรือไม่อยากเสียเวลามาทำตัวเป็นนักลงทุน ไม่อยากเสี่ยงเกินไป หนึ่งในทางเลือกที่ลดความเสี่ยงได้ดีและจัดการไม่ยุ่งยากคือเอาเงินไปใส่ไว้ในกองทุนต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นกองทุนตลาดเงิน กองทุนตราสารหนี้ กองทุนหุ้น กองทุนอสังหาริมทรัพย์ หรือกองทุนอะไรก็แล้วแต่ที่เหมาะกับเป้าหมายและระดับความเสี่ยงที่ตัวเองรับได้ จะได้ไม่ต้องบริหารหรือคอย monitor เอง 

(ซึ่งถูกหลักแล้วนะ สำหรับคนที่ไม่อยากเป็นนักลงทุนมืออาชีพ ผมไม่แนะนำให้เล่นหุ้นรายตัวหรือเลือกซื้อที่ดิน/อสังหาริมทรัพย์แบบมั่วๆ เลย) 
 (3/4)

ประเด็นมันอยู่ที่ว่า ทันทีที่เราเอาเงินไปให้กองทุนพวกนี้ดูแล หากมีการตัดสินใจอะไร เช่นสิทธิในการโหวตของผู้ถือหุ้น กองทุนพวกนี้จะเป็นคนรับหน้าที่ตัดสินใจโหวตแทนเรา กองทุนพวกนี้เสมือนได้อำนาจในการโหวตกำหนดทิศทางของ บ. ต่างๆ ที่ตัวเองดูแลเงินทุนอยู่ไปจากประชาชนทั่วไปเลยฟรีๆ

ประชาชนทั่วไปเหมือนถูกบีบให้อยู่บนทางสองแพร่ง คุณต้องเลือกเอา ระหว่างจะเก็บเงินเอาไว้เฉยๆ รอให้โดนปล้นอำนาจซื้อไปเรื่อยๆ ทุกปี หรือจะหนีมาพึ่งกองทุน แต่ต้องยอมยกอำนาจการโหวตให้ บ. ที่เข้ามาจัดการกองทุนให้คุณ ซึ่งส่วนมากก็เป็นนายทุนใหญ่ทั้งนั้น

ไม่หลงเหลือหนทาง neutral ให้คุณเลือกแล้วครับ จะยอมโดนปล้นตายไปแบบไร้ทางสู้ หรือยอมให้พี่เบิ้มมีอำนาจผูกขาดในการกำหนดทิศทางของธุรกิจและสังคมมากขึ้น

หากเราอยู่ภายใต้ระบบ sound money ประชาชนมีที่เก็บรักษามูลค่าที่ดีพอและไม่ซับซ้อน ตราบใดที่เงินยังรักษามูลค่าในตัวมันเองได้ การลงทุนอื่นๆ จะเป็นแค่ทางเลือก ไม่ใช่หนทางบังคับแบบทุกวันนี้ บ. เหล่านี้จะได้เสียงโหวตมากขึ้นเพียงเท่าจำนวนคนที่สนใจอยากได้ผลตอบแทนจากการลงทุนจริงๆ เท่านั้น ตลาดจะจัดสรรทรัพยากรและทำงานตามประโยชน์ที่มันควรสร้างจริงๆ 
 (4/4)

หนำซ้ำ หากบรรดานายทุนและรัฐบาลคิดจะฮั้วกันขึ้นมา เค้าสามารถหยิบเอาปัญหาที่เค้าสร้างขึ้นมาเองนี้ มาเป็นข้ออ้างในการสร้างความชอบธรรมและเพิ่มอำนาจให้ตัวเองได้อีก

สถานการณ์สมมติ: สมมติว่า บ. จัดการเงินลงทุนยักษ์ใหญ่คิดชั่ว เค้าสามารถเอาเสียงโหวตจากเงินของประชาชนที่เค้าบริหารเงิน ไปโหวตเลือกคนของเค้า ไปโหวตสนับสนุนนโยบายเอื้อประโยชน์ให้ บ. ที่เค้าอยากดัน หรือสนับสนุนนโยบายของรัฐบาล ที่ฟังดูดีรับผิดชอบต่อสังคม แต่สร้างความได้เปรียบให้พรรคพวกและกีดกันคู่แข่งทางอ้อม (ESG แค่กๆๆ!!) ได้ง่ายกว่าบนระบบ sound money ที่คนไหนไม่สนใจลงทุนก็แค่เก็บเงินเอาไว้เฉยๆ ไม่ต้องไปเพิ่มสิทธิ์การตัดสินใจทางธุรกิจให้แก่ใคร

ภายใต้ระบบเงิน fiat คนที่พยายามวิ่งหนีมัน อาจไม่รู้ตัวเลยว่ากำลังถูกนำเสียงโหวตไปใช้สนับสนุนนโยบายที่ทำร้ายสังคมในระยะยาว

หากแผนร้ายนี้สำเร็จ บ. ใหญ่ๆ ที่มีสายสัมพันธ์ที่ดีกับรัฐบาลและ บ. จัดการการลงทุน จะมีกำไรมากขึ้น ธุรกิจรายย่อยเกิดใหม่และแข่งขันได้ยาก เกิดการผูกขาด สินค้าและบริการคุณภาพด้อยลง ความเหลื่อมล้ำถ่างออก เพราะตลาดไม่เสรี

เค้าก็จะใช้ผลลัพธ์ที่แย่ลงนี้แหละครับ ในการอ้างว่ารัฐบาลต้องเพิ่มการกำกับดูแลมากขึ้น เห็นมั้ยว่า บ. ใหญ่ๆ ต่างก็โตเอาๆ ไอ้พวกนี้มันเห็นแก่ตัว หวังแต่ผลกำไร รัฐต้องเข้ามาช่วยแทรกแซงและกระจายทรัพยากร ไม่ให้สังคมพังทลาย คนต้องเข้าถึงโอกาสอย่างเท่าเทียม ไม่ใช่คนรวยเท่านั้นที่มีโอกาส (ลูกไม้เดิมๆ)

และถ้าคุณหวังว่าจะมีจุดให้คุณชี้ประเด็นว่าต้นตอของปัญหามันเกิดมาจากแนวคิด interventionism ให้ภาครัฐแทรกแซงแบบสังคมนิยม กับระบบเงิน fiat ต่างหาก ก็อย่าหวังง่ายๆ ครับ

เค้า coin คำศัพท์ขึ้นมาไว้เรียบร้อยแล้ว เค้าจะโทษว่าปัญหาทั้งหมดเกิดมาจาก financial capitalism!!! 

เพราะไอ้พวกนายทุนมันออกแบบเครื่องมือทางการเงินอันซับซ้อนขึ้นมาเพื่อหวังฟันกำไรหรอก ไอ้พวกนี้มันทำนาบนหลังคน นั่งอยู่ในห้องแอร์โยกตัวเลขไปมาก็รวยเอาๆ คนจนก้มหน้าก้มตาเป็นทาสให้ตายก็ได้แค่เศษเงิน เราต้อง tax the rich! eat the rich!! โปรดให้อำนาจเราในการปราบปรามทุนนิยมสามานย์

ทุนนิยมจะถูกทาสีเป็นปิศาจเสมอ เพื่อกลบเกลื่อนความผิดพลาดของเหล่า central planner ครับ!! 
 ขอโทษทีครับ เป็นการคุยใน discord ไม่มีการอัดไว้

ที่ผมเขียนนี้เป็นแค่หนึ่งในประเด็นที่พี่ปกป้องยกขึ้นมาเองครับ ต้องรอดูว่ามีใครจำเนื้อหาส่วนอื่นได้และเขียนสรุปออกมาอีกมั้ย 😂

ถ้าผมมีเวลาอาจจะลองเขียนถึงประเด็นอื่นที่นึกออกนะครับ 
 ยินดีครับ 
 ยินดีครับ มันเป็นการสรุปผสมกับที่กลับไปคิดต่อด้วย เลยจะยาวนิดนึง ขอบคุณที่อ่านจบนะครับ 😂 
 ฟังแล้วนึกถึงคำพูดของ Milton Friedman เลยครับ สังคมที่ให้ความเท่าเทียมมาก่อนเสรีภาพจะไม่ได้ทั้งความเท่าเทียมและเสรีภาพ ส่วนสังคมที่ให้เสรีภาพมาก่อนความเท่าเทียมจะไม่ได้สังคมที่เท่าเทียม แต่จะเข้าใกล้ความเท่าเทียมได้มากกว่าระบบใดๆ ที่เคยสร้างมา เพราะคุณจะสร้างความเท่าเทียมได้ก็ต่อเมื่อคุณอนุญาตให้คนบางคนมีอำนาจในการริบเอาทรัพยากรและตัดสินใจแทนคนอื่นว่าใครควรจะทำอะไร แต่สิ่งที่จะเกิดขึ้นตามมาก็คือเค้าจะเก็บส่วนต่างเป็นค่า commission ไปด้วยในระหว่างทาง 555 
 ของดีจะฟังกันทำไมหลายรอบ เนาะ! 5555 

ห... 
 เหยดดดด ฟิตจังวะ 555 
 จริงๆ ก็พอได้อยู่นะ แต่ตัวทฤษฎีมันเองไม่ได้มีรายละเอียดเยอะมาก ต่อให้แถมเรื่องเล่าเสริมเข้าไปก็อาจจะจบได้ในเวลาไม่นาน 555 
 Blackrock มีแต่ยิว มองไปทางไหนก็มีแต่ยิ... 
 นึกถึงมีมสไปเดอร์แมนเลย everywhere i go, i see ยิว‘s face 5555555555 
 ว่าแต่คืนนี้บ่นอะไรดี หรืออู้งานด... 
 สุ่มเสี่ยงต่อความปลอดภัยในชีวิตมากกว่าด่าประเทศมหาอำนาจที่มีนิวเคลียร์เป็นตันๆ อีกนะครับนั่น 555555555 
 Reserve requirement 10 กว่าเปอร์เซ็นต์ที่ว่านี้คือตัวเลขของไทยเหรอครับพี่ปกป้อง 
 Feedback ได้นะครับ กังวลเรื่องนี้เหมือนกัน เรื่องมันแอบลึก 😂 
 โอ้ ขอบคุณมากเลยครับ 
 ขอบคุณพี่ @ Thairatel pk มากๆ เลยครับสำหรับการแลกเปลี่ยนมุมมองและเรื่องเล่าต่างๆ วันนี้ เฮียความรู้เยอะมว้ากกกกก เดี๋ยวไว้วันหลังมาขอเรียนรู้ใหม่นะครับ 555

ใครผ่านมาเห็นโพสต์นี้แล้วอยากให้ feedback สำหรับนำไปปรับปรุงบอกได้เลยนะครับ เรื่องไหนยากไปหรืออยากให้ขยายความเพิ่มบอกได้ครับผม

ปล. ขอบคุณ @TungKukk ด้วยที่เป็นแม่งาน 🤩

#siamstr 
 คุยใน discord ไม่มีอัดไว้นะครับ 😂 
 อะฮรือ ขอบคุณมากเลยครับ 🥺 
 #arnsangeคือตำรวจ nostr:npub1qpfp8mcp4qvd433s8sam8602drwru6m000057w9ux6l7sc7txxnq... 
 วันนี้เค้าฟังยาวๆ เลย น่ากลัวมาก มาตรงเวลาด้วย 555555 
 ผมโดนตำรวจ add มา ถ้ารับแอดผมจะโดนรวบมั้ยครับ!! 5555555

หาเฟซผมเจอด้วย แฮ็คข้อมูลราชการมาใช่มั้ย 🤣 
 อ่านโพสต์แล้วคงมีคนงง การพิมพ์เงินเกี่ยวอะไรกับ fake otaku 555555555 
 ดูมันมีให้เลือกแต่ละอย่างสิ 555555 
 ขอเขียนเพิ่มเติมซะหน่อยละกัน

อันนี้ผมคิดเล่นๆ ว่าเป็นอีก 1 ตัวอย่างสะท้อนว่ายิ่งภาครัฐใช้ กม. แทรกแซงยิ่งเละนะครับ มันจะทำลายวัฒนธรรมการให้ทิปเอาได้เลยในระยะยาว

เดิม milton friedman เคยบอกว่าการให้ทิปเป็นวิธีการหาทางออกของตลาดรูปแบบหนึ่ง ในการให้รางวัลคนที่ทำดีและลงโทษคนที่บริการห่วย เป็นการหาทางออกอย่างชาญฉลาดโดยไม่ต้องพึ่งกลไกรัฐ

ทุกวันนี้กลายเป็นอะไรไปแล้วก็ไม่รู้สินะ 

ส่วนนึงผมมองว่าอาจเป็นเพราะประชาชนถูกทำให้ชีวิตอยู่ยากขึ้นจนต้องเห็นแก่ตัวเพื่อเอาตัวรอด (จากเดิมไม่ได้ทิปอาจจะแค่เสียโอกาส แต่ตอนนี้ถ้าไม่ได้ทิปอยู่ไม่ได้แล้ว นายจ้างเองก็อาศัยช่องโหว่ตรงนี้ตัดต้นทุนตัวเองซึ่งถูกบังคับมาจากค่าแรงขั้นต่ำ และแน่นอนว่าผู้ที่ทำชีวิตคนให้ยากขึ้นคือรัฐ ด้วยระบบเงิน fiat)

ในขณะเดียวกัน การศึกษาจากภาครัฐก็ไปบังคับปลูกฝังแนวคิดเรื่องสิทธิต่างๆ ให้คน entitled คิดว่าตัวเองสมควรได้รับสิ่งต่างๆ นานาเพียงแค่เกิดมาเป็นคน ไม่ได้ถูกปลูกฝังให้เน้นเรื่องความรับผิดชอบและยอมรับผลจากการกระทำของตัวเอง คนมันเลยยิ่งคิดกันแต่ว่าฉันทำงานเทอต้องให้ทิปฉัน

เมื่อนายจ้างลำบากจาก กม. ค่าแรงขั้นต่ำจนต้องผลักภาระมาให้ผู้บริโภคช่วยจ่ายทิปให้พนักงาน เมื่อพนักงานรายได้ไม่พอจนต้องลำเลิกเอาเงินจากทุกคนในทุกทางเพื่อเอาตัวรอดแม้จะบริการห่วยแค่ไหน เมื่อผู้บริโภคเจอบรรยากาศแบบนี้และถูกบีบบังคับกลายๆ ให้ต้องจ่ายทิป คิดว่าเค้าจะชื่นชมกับสิ่งที่ได้รับ และมองวัฒนธรรมการจ่ายทิปเป็นเรื่องที่ดีเหรอ จะพาลให้เค้าอยากโจมตีวัฒนธรรมการให้ทิปมากกว่า ทั้งที่จุดเริ่มต้นมันควรจะเป็นเรื่องที่ดีแบบที่ friedman บอก

ไม่อยากอคติ แต่มันก็อดคิดไม่ได้ ว่าบางทีการล่มสลายของวัฒนธรรม มันก็มาจากเรื่องเล็กๆ และฝีมือของภาครัฐที่กระทำการโดยไม่รู้อิโหน่อิเหน่ และสร้าง unintended consequences ที่อยู่นอกเหนือโมเดลทางเศรษฐศาสตร์ของเหล่า central planner ขึ้นมาอีกแล้ว

#siamstr nostr:note1dyuhg8qrhdtge08s569g7ge8dt8ara3xflauw4pxncnsdwx3ygtqyzpjk6 
 ยิ่งถ้าผลที่ไม่คาดคิดนี้ไม่ใช่สิ่งที่คนคิดนโยบายให้คุณค่าอยู่แล้ว ยิ่งถูกมองข้ามได้ง่ายๆ เลยครับ

หลายๆ ครั้งเราสนใจกันแต่อุดมคติว่าภาครัฐต้องเป็นคนจัดเตรียมนู่นนี่ให้ จนกลายเป็นว่าภาคเอกชนหาทางออกกันเองแล้วโดนด่าซะงั้น ว่าทำไมไม่ช่วยกันโวยวายให้รัฐทำหน้าที่ของตัวเองให้ดี ยึดติดกับวิธีการจนมองไม่เห็นแล้วว่ามนุษย์เรามีวิธีแก้ปัญหาหลายแบบ ที่ไม่ใช่การสั่งการจากส่วนกลาง 
 ABCT = Austrians Business cycle theory

โดยอธิบายการเกิด Boom & B... 
 ผมว่ายังไงเราก็กระทบแน่ๆ แม้รัฐบาลไทยไม่กระตุ้น ศก. เพราะช่วงนั้นเมกาเสกเงินเพิ่มในระบบประมาณ 40%+ ยังไงก็กระทบทั้งโลก ชิบหายทุกหย่อมหญ้า 555555 เชี่ยเอ๊ย 
 ตอนนี้กำลังเกิด economic boom แล้วจากนั้นไ... 
 แต่ ABCT ทำนายปีไม่ได้นะผมว่า มันขึ้นอยู่กับว่ารัฐจะทำอะไรต่อด้วย ถ้าปั๊มเงินเข้าระบบเพื่อยื้อปัญหา ตัวเลข ศก. ก็อาจจะดูลงแค่ในระยะเวลาสั้นๆ เหมือนเมกาตอนช่วงวิกฤต subprime และคนก็จะเข้าใจไปว่าเราได้รัฐบาลและธนาคารกลางช่วยทำ soft landing ให้ไม่ต้องเจ็บหนัก

Empirical evidence ก็ผลออกมาค่อนข้าง mixed ว่า ABCT ทำนายวิกฤต ศก. ได้มั้ย ส่วนนึงก็เพราะมันวัดผลยากและตัวแปรแทรกซ้อนเยอะ มี lag effect อีก ทุกวันนี้พวกสาย mainstream เลยชอบมองว่า ABCT เป็นทฤษฎีที่เชื่อถือไม่ได้ พวกเราก็โดนมองเป็นแค่ ideologue ต่อไป ไม่ถูกยอมรับในแวดวงวิชาการ 😓 
 มันเลยมีคนแซวปัญหาของแนวคิด economic model ใน mainstream ไง ว่ามันอาจจะดูเหมือนให้ prediction ได้มากที่สุดเท่าที่เราจะพัฒนาเครื่องมือขึ้นมาได้ แต่ข้อเสียของมันคือ prediction พวกนี้มันจะทำนายได้ ‘จนกว่าจะถึงวันที่มันทำนายไม่ได้’ ซึ่งก็ไม่มีใครรู้อยู่ดีว่าแล้ววันไหนที่โมเดลมันจะมั่ว 555 
 Come on ! 
Come on !

Baby 

ให้คุกกี้ทำนายกัน 

nostr:npub1pyg... 
 เดี๋ยวเลาจิไปเป็นเจ้าหนูจำไม ถามคำถามยากๆ ฟุ้งๆ ให้ เอาให้โดนด่ากลางรายการเลยว่าถามเห้อะไรของมึง 5555555 
 ขออนุญาตระเบิดฟอร์มหัวร้อนจากพาดหัวข่าวเมื่อ 2-3 วันก่อน

“สมาคมโรงพยาบาลเอกชน บอกกังวลโรงพยาบาลถอนตัวจาก 'ประกันสังคม' เพราะถูกตัดงบโรคค่าใช้จ่ายสูงถึง 40% แถมไม่ได้ปรับค่าตอบแทนมา 5 ปีแล้ว
 #BrandInside”

ที่มา: https://www.facebook.com/share/p/FeWBoFuh2uhrRaA6/?

ใครที่ยังฝันหวานว่าเราจะมืรัฐสวัสดิการได้สบายๆ อยากให้หมั่นสังเกตข่าวทำนองนี้ดีๆ ครับ ผมเตือนมานานแล้ว ระบบแบบนี้มันอยู่ไม่ได้หรอก นับถอยหลังรอวันล่มสลายครับ ยังไงก็ต้องเปลี่ยน

อย่ารอหวังพึ่งแต่สวัสดิการจากรัฐ ถ้ารัฐถังแตกเมื่อไหร่เค้าก็ต้องลดรายจ่ายและคุณภาพของสวัสดิการรักษาพยาบาลลง และอย่าลืมนะครับ ชนชั้นกลางแบบพวกเราไม่ใช่ฐานเสียงนักการเมือง เค้าไม่มาสนใจคุณหรอก เค้าพร้อมก่อหนี้เพื่อเอาเงินมาอุ้มเอาใจรากหญ้า ส่วนชนชั้นกลางแบบพวกเราก็ไปแย่งกับคนจนเวลาต่อคิวรอใช้สวัสดิการเอาเองละกัน และคุณภาพมันจะห่วยลงเรื่อยๆ ประสิทธิภาพตกลงเรื่อยๆ จนแม้แต่หมอพยาบาลในระบบก็ทนอยู่ไม่ได้

ถ้าอยากทดสอบว่าผมพูดจริงรึเปล่า ลองสังเกตสวัสดิการ 3 ประเภทหลักของทางภาครัฐก็ได้ครับ 

สิทธิ์ 30 บาทหรือ สปสช. นี่ขยันเอาใจกันเหลือเกิน พยายามขยายขอบเขตกันไปเรื่อยๆ จากเดิม fix รพ. ก็ขยายเป็นจะให้ไปเข้า รพ. ไหนก็ได้ มีสิทธิ์รับยาฟรีตามร้านขายยาอีก

ส่วนสิทธิ์ของข้าราชการ แม้จำนวนคนน้อยกว่าแต่ได้จัดหนักจัดเต็มมานานแล้ว แต่ในอนาคตถ้ารัฐถังแตกมันก็ต้องทยอยตัดสวัสดิการ

ส่วนสิทธิ์ประกันสังคม ซึ่งคนกินเงินเดือนและชนชั้นกลางส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มนี้โดยภาวะจำยอม ถูกบังคับให้จ่ายเงินสมทบ แต่กลับได้สวัสดิการน้อยและถูกละเลยมากที่สุด จนมีหลายคนพูดกันเลยว่าถ้าเลือกได้อย่าไปสมัครประกันสังคม รอใช้สิทธิ์ สปสช. เอาดีกว่า ตังค์ก็ไม่ต้องจ่าย แถมได้สวัสดิการจัดเต็มกว่าเยอะ นี่แหละครับ รัฐเค้าจะดูแลคุณซึ่งเป็นคนจ่ายภาษีหลักๆ แบบนี้!

ระบบมันบิดเบี้ยวไปหมด คนจ่ายตังค์ได้ของห่วยใครจะอยากจ่าย มันถึงได้สร้าง mindset รอของฟรีกันแบบนี้ไง ระบบ incentive กลับหัวกลับหางแบบนี้มันอยู่ไม่ได้ อย่าไปเชื่อครับว่าเราจะเป็นแบบสแกนดิเนเวียร์ เริ่มต้นเราก็จนกว่าเค้า คนเยอะกว่าเค้าแล้ว มาดีไซน์ระบบกลับหัวกลับหางแบบนี้อีกระวังจะได้เป็นเวเนซูเอล่าแทน

ที่สำคัญ อย่าไปฝากชีวิตไว้กับคนที่รีดไถเงินจากคุณเพื่อใช้เอาใจฐานเสียงตัวเอง มันเสี่ยงเกินไปครับ

ผมพูดเสมอ วันนี้ถ้าเป็นไปได้ ถ้าไม่เหลือบ่ากว่าแรง หันมาพึ่งพาภาคเอกชนด้วยกันคุณยังหวังประสิทธิภาพจากเงินที่เสียไปได้มากกว่า เอาเงินไปซื้อประกันสุขภาพซะตั้งแต่วันที่ยังทำได้ครับ!!

มันไม่เพอร์เฟ็กต์หรอก เพราะธุรกิจประกันและ รพ. ยังถูกภาครัฐกำกับดูแลจุ้นจ้านมากมายจนวิธีปฏิบัติห่วยๆ ทั้งหลายใน บ. เหล่านี้ยังไม่ถูกล้างออกไปตามกลไกตลาด แต่เค้าใช้เงินอย่างรู้คุณค่ามากกว่ารัฐแน่นอน เพราะมันผลประโยชน์ของเค้าโดยตรง ถ้าสุรุ่ยสุร่ายเกินเค้าเจ๊ง เค้าต้องมี skin in the game ไม่เหมือนภาครัฐที่ต่อให้บริหารชิบหายยังไงก็ก่อหนี้หรือรีดภาษีเพิ่มได้ แถมเผลอๆ ใช้ผลงานห่วยๆ เป็นข้ออ้างเพื่อของบเพิ่มได้ด้วย

อยากให้เก็บข่าวนี้มาคิดกันดีๆ ครับ ประเทศเราถ้าไม่เปลี่ยนแปลงวิธีคิดวิธีปฏิบัติ มีแต่นับถอยหลังรอวันสิ้นชาติ ถึงเวลานั้นคุณจะไม่ได้กลัวแค่เจ๊กหรอก คนไทยนี่แหละจะหันมาเป็นศัตรูกันเอง หาเหยื่อ ห้ำหั่นกันเองเพื่อเอาตัวรอด!!!

#siamstr 
 มันเข้าลูปนรกไปแล้วอะครับ ประชาชนดูแลตัวเองไม่ได้จนต้องพึ่งรัฐ ยิ่งประชาชนต้องการพึ่งรัฐมาก รัฐยิ่งต้องมีค่าใช้จ่ายมาก ยิ่งรัฐมีค่าใช้จ่ายมากยิ่งต้องรีดภาษีหรือเสกเงินเพิ่ม ยิ่งเสกเงินเพิ่มยิ่งทำลายเงินเก็บประชาชนจนซื้อสินค้าหรือบริการเพื่อดูแลตัวเองไม่ได้ (คนส่วนมากเลยไม่ซื้อประกันสุขภาพ ปิดโอกาสที่เอกชนจะพึ่งกันเอง) ยิ่งประชาชนดูแลตัวเองไม่ได้ยิ่งต้องคลานกลับมาพึ่งรัฐใหม่ 

เราจะออกจากลูปนี้ยังไงผมยังคิดไม่ออกเลยครับถ้าไม่ทำประเทศให้รวย แต่มันจะรวยได้ยังไงในเมื่อเรารีดภาษีเอามาละลายกับค่ารักษาพยาบาลหมดแล้ว 
 สุขภาพต้องดูแลอยู่แล้วแหละครับ แต่สำหรับคนที่ไม่มีเงินเก็บพอจะจ่ายค่ารักษาด้วยตัวเองคนเดียว ยังไงก็ต้องพึ่งเงินคนอื่นเพื่อช่วยเฉลี่ยภัยครับ

ผมยังไม่ค่อยแนะนำให้คนส่วนใหญ่เลือก self-insured นะ ค่ารักษาแพงขึ้นโดยเฉลี่ย 7-10 กว่าเปอร์เซ็นต์เป็นเรื่องปกติ โตเร็วกว่าอัตราการเพิ่มขึ้นของ M2 ที่เหล่า bitcoiner กลัวกันอีกครับ อย่างน้อยมีประกันสุขภาพติดไว้ซักหน่อยนึงเอาไว้กันตาย ให้มันช่วยเฉพาะกรณีป่วยหนักจริงๆ ก็ยังดี ตราบใดที่ถ้าแค่ป่วยแต่ยังไม่ล้มละลาย ชีวิตเรายังพอไปต่อได้ don’t get knocked out!

แต่อย่าไปโดนตัวแทนประกันล่อซื้อครบทุกแพ็คเกจนะครับถ้าไม่รวยจริง ผมเห็นมาเยอะแล้วหลายคนที่ฟังตัวแทนบิ๊วต์แล้วกลัว จ่ายแบบจัดหนักจัดเต็มจนแทบไม่เหลือเงินไว้ลงทุนต่อเองเลย กะเอาชีวิตฝากไว้กับประกัน อันนั้นก็ผิดหลักการ น่ากลัวไม่แพ้กันครับ 
 คนไทยชะล่าใจไปมากครับ หลายคนภูมิใจว่าระบบ สปสช. เราดีจนต่างชาติแห่ชื่นชมและมาขอดูงาน ไม่คิดว่าภาพแบบที่อเมริกาหรืออังกฤษจะเกิดขึ้นกับเรา แต่ผมมองว่ามันแค่รอเวลาครับ ถ้าเราไม่เปลี่ยนแย่แน่ ทุกวันนี้ขนาด บ.ประกันเองยังอ่วมกันเลย 
 ลำพังความไม่คิดมากของคนก็ทำให้ใช้ชีวิตประมาทอยู่แล้ว แต่ชีวิตยุค fiat ทำให้มันยากขึ้นไปอีกครับ ราคาที่เราต้องจ่ายเพื่อความปลอดภัยและบริหารความเสี่ยงในชีวิตมันสูงเกิน หลายคนหาเงินได้ไม่มากพอก็ไม่อยากไปคิดถึงมัน เพราะถ้าคิดตลอดคงไม่มีโอกาสได้ใช้ชีวิต ยุคนี้การรอดด้วยตัวเองไม่ใช่ปกติแต่เป็น privilege ไปแล้วครับ 
 Are you ready for Unfiat(Uncensored) ? 
Sunday 9:00 PM. 

On discord Local Bitcoin Thailand

nost... 
 พร้อมมมมม 🤩 
 ค่าป้ายไฟ น้องโมเน่ ก็ถือเป็น Expenses ค... 
 ขอยาดเกียด 55555555 
 เท่าที่ผมเคยไปคุยกับชาวบ้านทั่วๆ ไป เอาแค่คุยเรื่องการเก็บเงินก่อนใช้ก็ยากแล้วครับ 

แม้ว่าคนส่วนมากรู้ดีว่าเงินเสื่อมค่าเพราะของแพงขึ้นเรื่อยๆ แต่เอาแค่ให้เค้าแบ่งเงินสดมาออมทองบ้างก็เก่งแล้วครับ ยังไม่ต้องไปพูดถึงเรื่องการ DCA ในสินทรัพย์อื่น หรือการวางแผนการเงินตามหลัก financial pyramid เพื่อบริหารความเสี่ยง หรือการจัด asset allocation เลยนะ มันต้องใช้เวลาปูกันยาวๆ สำหรับคนไม่มีความรู้ ต่อให้คุณย่อยมันให้ง่ายให้ตายยังไง ก็ไม่ใช่ทุกคนจะเข้าใจหรือสนใจมันได้ในทันทีครับ

คนออกแบบระบบที่บังคับให้ทุกคนต้องมีความรู้ทางการเงินไม่งั้นหมดสิทธิ์สร้างเนื้อสร้างตัว ไอ้พวกนี้เลวระยำที่สุดครับ ผิดศีลข้อ 2 ในสเกลระดับโลก ตายไปคงได้ไปเป็นเปรตความสูงเท่าระยะทางจากโลกถึงดวงจันทร์ ให้สมกับกองธนบัตรดอลลาร์ขออปริมาณหนี้สาธารณะที่พวกมันสร้างขึ้นมา

#siamstr nostr:note1d3cwm8csw3g7nw4lvzrhymf3tjzuupavxdgkj0prsyqacx2t4h5slqwr8p 
 ผมอยากพูดถึงเรื่องแจกเงินหมื่นสั... 
 ผมมองว่าปัญหามันลึกกว่านั้นลงไปอีกครับ ทุกวันนี้ต้นทุนที่คนๆ นึงต้องจ่ายเพื่อการมีชีวิตของตัวเองและดูแลตัวเองได้ (บ้าน, รถ, ค่ารักษาพยาบาล, ประกันสุขภาพและประกันอื่นๆ) มันสูงเกินกว่าที่เค้าจะเอื้อมถึง เค้าไม่สามารถ afford มันด้วยตัวเองได้อีกแล้ว จนต้องมาหวังพึ่งใบบุญภาครัฐ

ถึงจุดนี้มันก็วนลูปแล้วครับ ยิ่งประชาชนต้องการพึ่งรัฐมาก รัฐยิ่งต้องมีค่าใช้จ่ายมาก ยิ่งรัฐมีค่าใช้จ่ายมากยิ่งต้องรีดภาษีหรือเสกเงินเพิ่ม ยิ่งเสกเงินเพิ่มยิ่งทำลายเงินเก็บประชาชนจนซื้อสินค้าหรือบริการเพื่อดูแลตัวเองไม่ได้ ยิ่งประชาชนดูแลตัวเองไม่ได้ยิ่งต้องคลานกลับมาพึ่งรัฐ 

กระบวนการทั้งหมดทั้งมวลนี้ส่งเสริมให้รัฐมีขนาดใหญ่ขึ้น และรัฐไม่มีทางจัดสรรทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพได้เท่าเอกชน (รัฐได้เงินมาจากคนอื่นและเอามาใช้เพื่อคนอื่น เป็นรูปแบบการใช้เงินที่แย่ที่สุดใน 4 แบบ) เท่ากับว่าเรากำลังเดินสู่หนทางที่ยิ่งจนแต่ยิ่งต้องใช้เงินแบบประสิทธิภาพต่ำครับ 
 มีอะไรให้ช่วยมั้ยครับ ผมยังไม่ค่อยเชี่ยวบิตคอยน์ แต่ถ้าเรื่องเศรษฐศาสตร์และกานวางแผนการเงินถามได้เลยครับ 😆

คนไทยต้องรอดดดด 
 GM 🛀
การแบ่งฝ่ายทางการเมือง (ไม่เจาะ... 
 โลก decentralized คือโลกสำหรับ übermensch นั่นเองสินะ 555 
 สืบเนื่องจากพาดหัวข่าวนี้

“โรงพยาบาลเอกชนขาดทุนบาน จ่อออกจากประกันสังคม ผลพวงลดงบค่ารักษากลุ่มโรคค่าใช้จ่ายสูงถึง 40% ผ่าน 10 ปี โรงพยาบาลเอกชนแห่ออกเกือบ 30 แห่ง หายกว่า 22% ” (BTimes)

(https://www.facebook.com/share/p/uxQvyVuyKZuVxkS5/?)

ผมเตือนอยู่เสมอครับ ว่าปัญหา healthcare บ้านเราหนักไม่แพ้ชาติอื่น อย่าชะล่าใจว่าเรามีสวัสดิการรัฐช่วยนักเลย ด้วยโครงสร้างมันอยู่ไม่ได้อยู่แล้ว มันคือแชร์ลูกโซ่ครับ เอาเงินคนทำงานมายืดอายุให้คนป่วย  ให้ค่าใช้จ่ายบานปลายไปเรื่อยๆ ในขณะที่ประชากรรุ่นใหม่มีจำนวนลดลงเรื่อยๆ แม้ดูดีในทางจริยธรรมแต่มันจะพาเราชิบหายกันหมด

เราต้องยอมรับความจริงอันดับแรกกันก่อนว่าแม้จะอยากช่วยแค่ไหนแต่เราช่วยไม่ได้ทุกคน สิ่งที่เราควรจะทำคือทำยังไงก็ได้ให้ทุกคนใช้เงินอย่างรู้คุณค่าและไม่ถลุงเงินกองกลาง จะได้มีเงินเหลือไปช่วยคนอื่นมากขึ้น ระบบประกันคือหนึ่งในหนทางไปสู่สิ่งนี้ครับ

คุณลองคิดดูง่ายๆ นะ ขนาด บ.ประกันที่มุ่งหากำไร มี incentive ที่จะดูแลเงินที่ตัวเองรับมาให้มีประสิทธิภาพเพื่อให้เหลือกำไรเข้ากระเป๋า ยังขาดทุนกันยับๆ ตัว รพ. เองที่รับผู้ป่วยประกันสังคมก็ยังขาดทุนจนต้องขอถอนตัว แล้วนับประสาอะไรกับภาครัฐเอง จะเข้าเนื้อเละเทะขนาดไหน ที่มันยังดูไม่รุนแรงเพราะเราเอาภาษีมาอุ้มอยู่หรอก แต่เอาเงินมาอุ้มค่าใช้จ่ายแบบนี้มีแต่ทำให้เราจนลงๆ แล้วคิดว่าในระยะยาวสวัสดิการต่างๆ แบบนี้มันจะอยู่รอดได้ยังไงในวันที่เราทั้งจนทั้งคนน้อย

ระบบประกันมันไม่เพอร์เฟ็กต์หรอกครับ แต่เชื่อเถอะ ราคาค่ารักษาพยาบาลต่างๆ ในยุคนี้มันไปไกลเกินกว่าที่เราจะเลือกแบกรับความเสี่ยงด้วยตัวเองคนเดียวเป็น solution หลักแล้ว อย่างน้อยมีประกันสุขภาพติดตัวเอาไว้เป็นทางเลือกบ้างเพื่อบริหารความเสี่ยงเถอะ ต่อให้ซวยขึ้นมาจริงๆ จะได้ไม่เจ็บหนัก ถ้าชีวิตเรายังไม่ล้มละลายก็ยังพอไปต่อได้นะ

avoid pain สำคัญกว่า gain pleasure ความเจ็บปวดส่งผลกระทบต่อจิตใจเรามากกว่าความรู้สึกพึงพอใจครับ

คิดเรื่องการวางแผนการเงินและบริหารความเสี่ยงกันเอาไว้ด้วย จะได้ไม่ไปกระทบคนข้างหลัง เราจะไม่สามารถลดอำนาจรัฐได้เลยครับถ้าภาคเอกชนยังดูแลกันเองไม่ดี ความช่วยเหลือจากภาครัฐจะถูกเรียกหาอยู่ร่ำไป

#siamstr 
 จากในงาน BOT Symposium 2024 จะเห็นว่าประเทศไท... 
 มีประเด็นอะไรเด็ดๆ มั้ยครับ 
 ขอบคุณครับ หนังสือน่าสนใจดี

อ่านโพสต์แล้วกลัวประเทศเราเป็นแบบนั้นเลย ยิ่งดูมีแนวโน้มอยู่ด้วย เด็กเกิดน้อย รายได้ต่ำ คนขาดความรู้ทางการเงิน เกษียณไม่ได้ หลายคนไม่มีเงินซื้อประกันสุขภาพเพื่อดูแลตัวเองด้วยซ้ำ เลยได้แต่หวังพึ่งสวัสดิการจากภาครัฐ ซึ่งด้วยโครงสร้างประชากรปิระมิดหัวคว่ำแบบตอนนี้ก็ไม่รู้จะยื้อไปได้ถึงเมื่อไหร่ 

(แต่เราต่างเรียกร้องจะเอาแต่รัฐสวัสดิการ ฝันลมๆ แล้งๆ ว่ามันจะแก้ปัญหาได้ ขนาดญี่ปุ่นรวยกว่าเรายังลำบากเลย 😓) 
 มันเลยเป็นเหตุผลนึงที่ทำให้ผมหันมาสนใจเรื่องระบบการเงิน เศรษฐศาสตร์ และระบบประกันครับ ผมมองว่าคนไทยจำนวนมากรอดยากแน่ๆ ถ้ายังใช้ชีวิตแบบเดิม ยิ่งมาโดนเงินเฟ้อปล้นทุกวันอีก 

เมื่อการดูแลพึ่งพาตัวเองได้กลายเป็นเรื่องไกลเกินเอื้อม (รายได้โตไม่ทันเงินเฟ้อ ต้องขายทรัพย์สินกิน ประกันสุขภาพก็ซื้อเองไม่ไหว ฯลฯ) ประชาชนก็จะยิ่งหวังพึ่งรัฐ สนับสนุนให้ขยายขนาดรัฐบาลไปเรื่อยๆ แต่ยิ่งให้อำนาจเยอะประชาชนยิ่งพึ่่งตัวเองไม่ได้ วนลูปนรกต่อไปแบบนี้

กลัวตอนช่วงตัวเองแก่ๆ เลยครับ หลายอย่างจะหนักกว่าตอนนี้แน่ๆ 😓 
 การอำพรางความจริง: ระบบธนาคาร, กลไกการเสกเงิน และการสร้างฮีโร่ที่จำเป็น

==========

ออกตัวไว้ก่อนว่าเป็นคนเขียนไม่ค่อยเก่งนะครับ อยากเขียนให้ดีขึ้น กระชับขึ้น เร็วขึ้นกว่านี้เหมือนกันครับ 😂 ผิดถูกอย่างไร แนะนำติชมกันได้ (ความรู้ด้านเศรษฐศาสตร์ที่เขียนนี้ผมศึกษาเอาเองหมดเลย ถ้ามีตรงไหนที่ให้ข้อมูลผิดพลาดแจ้งได้เลยนะครับ กำลังเรียนรู้ไปเรื่อยๆ เหมือนกัน)

ที่จริงผมอยากจะเขียนบทความยาวเกี่ยวกับระบบธนาคารกลางกับการอำพรางความจริง โดยโยงเข้ากับดราม่าเรื่องเงินสดคือหนี้สินนะ (หลังจากไปวอร์กับชาวบ้านมาหลายคน 555+) แต่ยังมีเวลาไม่เยอะนัก เอาเป็นว่าถ้ามีเวลาอาจจะเขียนถึงนะครับ 

วันนี้ขอเขียนเกี่ยวกับระบบธนาคารกลางและกลไกการเสกเงินแล้วกันนะ ผมอยากจะชวนทุกคนลงไปดูว่าระบบธนาคารกลางที่แทรกแซงเศรษฐกิจร่วมกับรัฐบาลเป็นสิ่งจำเป็นและฮีโร่ของชาติอย่างที่คนเชื่อกันจริงหรือไม่ (โดยส่วนตัวผมมองว่ามัน Do more harm than good ครับ)

—————

กลไกการเสกเงินโดยย่อ: 

ขอไม่เท้าความเยอะ เพราะคิดว่าหลายๆ คนในนี้น่าจะได้เห็นได้ฟังคนอธิบายผ่านๆ มาบ้างแล้วว่ากลไกการเสกเงินภายใต้ระบบ Fiat Money เป็นอย่างไร

(Disclaimer: ผมไม่ได้เจตนาโจมตีธนาคารพาณิชย์และธนาคารกลางของบ้านเรานะครับ บทความนี้เราวิจารณ์คนออกแบบระบบหรือก็คือธนาคารกลางของอเมริกาล้วนๆ ประเทศอื่นๆ ทำอะไรแทบไม่ได้เลยนอกจากต้องเล่นตามเกมในระบบที่เค้าสร้างขึ้น)

ผมขอสรุปแบบ Recap ให้รวบรัดที่สุดดังนี้: ภายใต้ระบบ Fiat เงิน (Money) ถูกสร้างขึ้นมาจากหนี้ เป็นเพียงการสัญญากันว่าแต่ละฝ่ายมีภาระผูกพันที่ต้องชำระคืนในอนาคตด้วยสิ่งที่ตกลงกัน

การเสกเงิน = การปล่อยกู้ โดยผ่านธนาคารพาณิชย์ และธนาคารกลาง

นั่นแปลว่า ทุกๆ ครั้งที่มีการกู้ยืมจากธนาคารพาณิชย์ หรือธนาคารกลางเป็นคนเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลโดยตรงหรือโดยอ้อม (คือไปกว้านซื้อพันธบัตรรัฐบาลจากธนาคารพาณิชย์มาถือเองอีกที) เงินจะถูกเสกเพิ่มขึ้นมาจากอากาศ

โดยหนี้ที่เป็นพื้นฐานสำคัญที่สุดของระบบนี้คือพันธบัตรรัฐบาล (Government Bond) เพราะมันเป็นทั้งสินทรัพย์แรกที่ถูกเสกขึ้นมาเพื่อนำมาให้ธนาคารกลางถือ (อาจพูดได้ว่าเงินถูกค้ำโดยพันธบัตรรัฐบาล) และมีบทบาทเป็นเครื่องมือในการ Manipulate อัตราดอกเบี้ยให้สูง/ต่ำตามที่ธนาคารกลางต้องการ ซึ่งโดยส่วนมากธนาคารกลางมักต้องการกดดอกเบี้ยให้ต่ำเพื่อจูงใจให้คนกู้ยืมจากธนาคารมากๆ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง คือจูงใจให้คนเป็นหนี้เพื่อเสกเงินเพิ่มจากอากาศไปเรื่อยๆ โดยเชื่อว่าการทำแบบนี้จะเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจ

—————

ตั้งเป้าเงินเฟ้อ…อ้างเหตุผลเพื่อตั้งเป้าเสกเงิน: 

เราน่าจะเคยได้ยินคำกล่าวจากภาครัฐและนักเศรษฐศาสตร์กระแสหลักบ่อยๆ ว่าต้องทำให้เงินเฟ้ออ่อนๆ ถึงจะดีต่อเศรษฐกิจ ในที่นี้แปลไทยเป็นไทยอีกทีก็คือหมายความว่า เค้า ‘ตั้งเป้าว่าจะกระตุ้นการกู้ยืมเพื่อเสกเงินเพิ่มทีละน้อยๆ’ นั่นเอง

เพื่อให้ทุกคนมีเงินอยู่ในมือ รู้สึกตัวเองร่ำรวยเพราะมีตัวเลขยอดเงินในบัญชีเพิ่มขึ้น และออกมาใช้จ่าย ปาเงินที่ถูกเสกขึ้นมาใหม่ใส่กันเพื่อแย่งกันซื้อสินค้าและบริการ (ซึ่งมีปริมาณเท่าเดิม) จนดันให้ราคาสินค้าและบริการสูงขึ้น ซึ่งก็คือเงินเฟ้อตามนิยามสมัยใหม่

(ปกติรัฐบาลมักจะอ้างตามหลักการเศรษฐศาสตร์ของสำนัก Keynesian ว่าต้องการทำให้เงินเฟ้อหน่อยๆ เพราะถ้าราคาไม่ขึ้นประชาชนจะไม่ยอมออกมาใช้จ่าย จะมัวรอให้ราคาสินค้าลง และธุรกิจจะอยู่ไม่ได้หากของราคาถูกลง ทำให้เจ๊งกันถ้วนหน้า ซึ่งเป็นตรรกะที่แทบไม่มีความจริงอยู่ในนั้นเลยครับ)

—————

ภาวะการอยู่ร่วมกันของรัฐบาลและธนาคารกลาง: 

ถึงแม้ว่าโดยหลักการแล้วเค้ามักจะอ้างว่ารัฐบาลกับธนาคารเป็นอิสระต่อกัน แต่ผมมองว่าการมีอยู่ของทั้งสององค์กรนี้มันส่งเสริมกันเอง เป็นองค์ประกอบสำคัญของกันและกันในการค้ำจุนวาทกรรมว่าระบบเศรษฐกิจของประเทศจำเป็นต้องมีการควบคุมและเข้าแทรกแซงโดยภาครัฐ

ลองพิจารณาเหตุผลต่อไปนี้ดู

รัฐบาลออกพันธบัตร เพื่อมาใช้ค้ำสกุลเงินของประเทศ ซึ่งออกโดยธนาคารกลาง

ธนาคารกลางใช้พันธบัตรเป็นหนึ่งในเครื่องมือหลักในการควบคุมปริมาณเงินขึ้นลง รวมถึงเสกเงิน

เป้าหมายของรัฐบาลกับธนาคารกลางไปในทางเดียวกัน คือการทำให้เศรษฐกิจโต แต่ทำบนกรอบแนวคิดที่ว่าต้องทำเงินให้เฟ้อ

ต้องทำเงินให้เฟ้อ = ต้องเสกเงินให้เยอะขึ้น = ต้องจูงใจให้เกิดการกู้ยืมมากขึ้น = ธนาคารกลางต้องกดดอกเบี้ยให้ต่ำๆ เข้าไว้

แต่สภาพแวดล้อมที่ดอกเบี้ยต่ำยิ่งเป็นประโยชน์ต่อรัฐบาล เพราะยิ่งกู้เงินผ่านการออกพันธบัตรได้ง่ายขึ้น เสกเงินมาใช้ได้ด้วยต้นทุนดอกเบี้ยต่ำๆ

ทีนี้มันมีจุดที่ Tricky ตรงนี้ครับ

เพื่อความเป็นอิสระต่อกัน และไม่ให้เกิดข้อครหาว่าธนาคารกลางพิมพ์เงินให้รัฐบาลใช้ฟรีๆ ธนาคารกลางเลยมักไม่เข้าซื้อพันธบัตรที่รัฐบาลออกตรงๆ ปล่อยให้รัฐบาลขายพันธบัตรให้กับธนาคารพาณิชย์และภาคเอกชนทั่วไปเอาเอง

แต่เมื่อเศรษฐกิจไม่ดี (ซึ่งก็อาจเกิดจากรัฐบาลกู้เงินไปใช้จ่ายอย่างสุรุ่ยสุร่ายและไม่รับผิดชอบเท่าที่ควร เพราะกู้มาด้วยต้นทุนต่ำ) ธนาคารกลางก็อ้างความจำเป็นในการเข้าแทรกแซงเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยการเสกเงินเข้าระบบเพิ่ม เอาเงินที่เสกใหม่เข้ากว้านซื้อพันธบัตรเหล่านั้นอยู่ดี เพื่ออัดฉีดสภาพคล่องและกดดอกเบี้ยให้ต่ำ แก้ปัญหาแบบวนลูป เป็นการตามเช็ดขี้ให้รัฐบาลด้วยการทำลายอำนาจซื้อของประชาชนที่อุตส่าห์เก็บหอมรอมริบ

ในทางกลับกัน หากปัญหาเศรษฐกิจเกิดมาจากธนาคารกลางเสียเอง (เช่น กดดอกเบี้ยต่ำผิดธรรมชาตินานเกินไป จนภาคเอกชนตัดสินใจลงทุนผิดพลาด (Malinvestment) เอาเงินไปลงในสิ่งที่ไม่สำคัญและไม่ควรลง) และการแก้ไขผ่านนโยบายการเงินของธนาคารกลางเห็นผลช้าไม่ทันการหรือไม่เพียงพอ รัฐบาลก็จะอ้างความจำเป็นในการเข้าแทรกแซงเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ไม่ว่าจะเป็นการกู้เงินมาลงทุนสร้างเมกะโปรเจ็กต์เพื่อสร้างงาน การใช้งบประมาณขาดดุล การแจกเงินหรือสวัสดิการ ฯลฯ เป็นการตามเช็ดขี้ธนาคารกลางที่บิดเบือนดอกเบี้ยจนภาคเอกชนตัดสินใจลงทุนผิดพลาด

มันดูเผินๆ เหมือนจะสมเหตุสมผลนะครับ ที่มี 2 องค์กรคอยเป็นเครื่องมือช่วย Balance และแก้ปัญหาเศรษฐกิจ ขาดมือใครไปไม่ได้ เป็นฮีโร่ที่สังคมจำเป็นต้องมี

แต่ถ้าเกิดเรามองมุมกลับว่าปัญหาเศรษฐกิจใหญ่ๆ ทั้งหลายมันเกิดมาจาก 2 องค์กรนี้เสียเองล่ะ?! 

มันจะแปลว่าจริงๆ แล้วเราอาจไม่จำเป็นต้องให้ธนาคารกลางและรัฐบาลคอยเข้ามาแทรกแซงเศรษฐกิจตั้งแต่แรกเลยก็ได้

—————

ตัวอย่างคำกล่าวอ้างแสนคลาสสิก: 

ผมขอยกตัวอย่างเหตุการณ์และ Narrative ที่เราเห็นจนชินตานะครับ

พอธนาคารกลางกระตุ้นการเสกเงินเยอะเกินไป บิดเบือนอัตราดอกเบี้ยเยอะๆ จนเกิดการจัดสรรทรัพยากรผิดพลาด เกิดวิกฤตเศรษฐกิจขึ้นมา ก็ค่อยออกมาเพิ่มดอกเบี้ยเงินกู้ให้สูงๆ เพื่อชะลอการกู้ยืมเพิ่ม เบรคคันเร่งซึ่งตัวเองเป็นผู้เหยียบแรงเกินมาอย่างยาวนานจนแหกโค้ง ฆ่าคนที่เคยถูกหลอกให้กู้มาลงทุนด้วยดอกเบี้ยต่ำให้ตายคามือ โดยบอกว่าพวกเราจำเป็นต้องทำนะ เพื่อช่วยเศรษฐกิจของประเทศเอาไว้ จำเป็นต้องมีคนเสียสละ เราจะพยายาม Soft Landing พาทุกคนฝ่าวิกฤตนี้ไปอย่างนุ่มนวลที่สุด

และหากมองว่าลำพังการควบคุมอัตราดอกเบี้ยมันช้าและไม่เพียงพอต่อการกู้วิกฤต ก็จะให้รัฐบาลเข้ามาช่วยลงทุนสร้างโครงการใหญ่ๆ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการจ้างงาน ให้ทุกคนยังรู้สึกว่ามีเงินหมุนเวียนเข้าออกจากกระเป๋า ยังมีงานทำ ชีวิตยังดำเนินต่อไปได้

นี่เป็นภาพจำปกติที่เราเห็น (หรือเค้าปลูกฝังให้เราเห็น) ว่าธนาคารกลางและรัฐบาลคือสิ่งที่จำเป็นต่อความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจ และเป็นฮีโร่ผู้กอบกู้

แต่ผมอยากชวนคิดย้อนกลับกันซักนิดนะครับ ว่าถ้าหากเราไม่มีธนาคารกลางและรัฐบาลคอยแทรกแซงดอกเบี้ยและการจัดสรรทรัพยากร... เราอาจไม่เกิดวิกฤตรุนแรงแบบนั้นตั้งแต่แรกแล้วก็ได้

Milton Friedman นักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบลเคยแซวธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) ไว้ว่า จากการที่เค้าต้องอ่านรายงานประจำปีของ Fed 50 กว่าฉบับ สิ่งเดียวที่ช่วยสร้างความขำขันให้เค้าได้ คือการเขียนแต่ละครั้งช่างดู Fed มีอำนาจแกว่งเหลือเกิน

เวลาเศรษฐกิจดี Fed จะบอกว่าเป็นเพราะนโยบายและการบริหารที่ชาญฉลาดของพวกเรา

แต่เวลาเศรษฐกิจแย่ Fed จะบอกว่า แม้พวกเราจะพยายามอย่างดีที่สุด แต่เป็นเพราะผลพวงจากปัจจัยภายนอกต่างๆ จึงทำให้สถานการณ์ยากลำบาก และหากเราไม่ช่วยไว้ปัญหาคงรุนแรงกว่านี้ไปแล้ว (เดี๋ยวแปะ Link ให้นะ)

…นั่นแหละครับ ธรรมชาติของมนุษย์เราชอบคิดหาเหตุผลเข้าข้างตัวเองและโน้มน้าวให้คนอื่นคล้อยตามเสมอ

ทุกสิ่งที่เราเคยได้ยินมา ที่ได้รับการบอกต่อๆ กันมาเชื่อถือได้แค่ไหน

ธนาคารกลางจำเป็นจริงๆ หรือ? รัฐบาลควรมีบทบาทเป็นผู้เล่นในเกมเศรษฐกิจขนาดไหน? กลไกนี้คือฮีโร่ที่จำเป็น หรือผู้ร้ายใส่หน้ากาก หรือเป็นแค่ระบบทางเลือกหนึ่ง ผมอยากชวนทุกคนตั้งคำถามนะครับ

ปล. กะเขียนสั้นๆ แต่ยาวเฉยเลย 🤣 
 ลืมติดแท็กอีกแล้ว 555555 #siamstr ใครเห็นผ่านมารบกวนกดดูต้นโพสต์ด้วยครับ เขียนอยู่นานมาก 😭

ปล. อันนี้คลิปของ Friedman ที่ผมกล่าวถึงในบทความ (นาทีที่ 3:02 - 5:05)

https://youtu.be/dgyQsIGLt_w?si=6DMNSonMSlT2W5r8 
 ยังไม่เข้าใจเรื่อง relay ว่าใช้ทำอะไร... 
 ขอเกาะด้วยคนครับ เพิ่งเล่น มึนๆ อยู่เหมือนกัน 😂 
 โอ้ ขอบคุณมากครับผม 🤩 
 คนคลั่งรัก 555 
 ทำไมการโพสว่าคนอื่นโดนหลอกถึงสร้... 
 แบบนี้เลย 55555 โดนถล่ม โดยเฉพาะพอเป็นเรื่องเกี่ยวกับระบบการเงินและเศรษฐศาสตร์ 🤪 https://image.nostr.build/14ea81f45be27ae40ab4941522d7cdaf78f7d644a2b1dacb6d0d5e002a45ad32.jpg  
 เห็นด้วยเลยครับเรื่องพันธบัตรรัฐบาลมันเทียบเท่ากับการขอกู้เงินโดยไม่มีหลักประกัน อยากจะเสริมว่าจริงๆ ฝั่งธนาคารกลางก็ตั้งบัญชีฝั่งหนี้สินต่างๆ ขึ้นมาโดยแทบไม่ต้องมีกำหนดเวลาใช้คืนเลยเหมือนกัน ถึงแม้จะอ้างว่าเสกเงินขึ้นมาเพื่ออัดฉีดสภาพคล่องชั่วคราว แต่ก็ไม่เคยบอกเลยว่าต้องดูดปริมาณเงินที่เสกขึ้นมาใหม่นี้ออกให้หมดภายในเมื่อไหร่ ขึ้นอยู่กับ judgment ล้วนๆ

และเมื่อผนวกกับเป้าหมายของรัฐบาลและธนาคารกลางที่อ้างว่าต้องทำเงินให้เฟ้ออ่อนๆ แล้ว มันคือข้ออ้างในการเสกเงินใหม่ได้เรื่อยๆ เลย 
 *โพสต์นี้เป็นฉบับสมบูรณ์จากในเฟซ*
*... 
 ระเบิดฟอร์มแล้วครับ 555 
 ลองให้เพื่อนสอนโอนบิตคอยน์เข้า on chain ครั้งแรกครับ 😂

#siamstr https://image.nostr.build/a819b0569d4651e502849df69dd61481e6fecf4c493dc1ed0269c288e260bb7f.jpg  
 ทดสอบโพสต์เนื้อหาแบบแนบ link เป็นครั้งแรกนะครับ

สืบเนื่องจากโพสต์ของ ดร. ท่านหนึ่ง 

(รายละเอียดตามแนบ: https://www.facebook.com/share/p/b8F1R165MHgpeJ6H/?)

ผมมีความเห็นต่อสิ่งที่เค้าโพสต์ดังนี้ครับ

"เงินสดเป็น asset-backed money" <-- ครับ มันแบ็คด้วยหนี้ของรัฐบาลซึ่งก็คือพันธบัตรไงครับ

"เงินสดออกเพิ่มเองไม่ได้" <-- สาบานได้นะครับว่ามนุษยชาติไม่มีปัญญาพิมพ์กระดาษออกมา และมันทำได้ยากกว่าไปขุดหาทองคำ ดังนั้นมันเชื่อถือได้เทียบเท่าทองคำแน่ๆ พวกคุณจะไม่มีวันซูเอี๋ยกัน?

"การหมุนของเงินในระบบที่ทำให้ปริมาณเงินในระบบเพิ่มขึ้น เศรษฐกิจเติบโตขึ้น…" + "ใครลองออกเงินสดดูค่ะ ไม่ว่าอยู่ในประเทศไหนก็คุก" <-- แปลว่ายอมรับแล้วใช่มั้ยครับว่าพวกคุณต้องการสงวนสิทธิ์ในการแอบเสกเงินเข้าระบบเอาไว้แต่เพียงผู้เดียว เพราะคุณมองว่าประชาชนมันเป็นควาย ถ้าปล่อยให้มันแอบพิมพ์แบงค์ปลอมมาใช้ *แม้ในทางเทคนิคมันจะกระตุ้น ศก. ได้เหมือนกัน* แต่ประชาชนมันโง่ เห็นแก่ตัว มันจะแอบพิมพ์แบงค์ปลอมจนล้นตลาดและเกิด hyperinflation ในที่สุด ไม่เหมือนพวกฉันที่เป็นคนดีมีศีลธรรมและความรู้ พวกฉันรู้ลิมิต ไม่มือเติบ ดังนั้นพวก technocrat อย่างฉันควรจะเป็นคนเพียงกลุ่มเดียวที่มีสิทธิ์ในการพิจารณาว่าจะกระตุ้น ศก. ด้วยการเสกเงินเข้าระบบเพื่อหลอกคนให้ออกมาจับจ่ายใช้สอยเท่าไหร่ดี

นี่ยังไม่ได้พูดถึงเรื่องความแฟร์เลยนะครับ ประชาชนจะเก็บเงินไว้เฉยๆ หรือเอาออกมาซื้ออะไร มันเป็นเรื่องของประชาชนครับ รัฐบาลไม่ควรยุ่ง ไม่ควรมาตัดสินใจลงโทษคนที่รู้จักเก็บออมด้วยการทำให้เงินของเค้าเสื่อมค่าลง

อ้อ แต่ขอโทษครับ ลืมไป ผมไม่เคยเห็น technocrat พวกนี้พูดถึงความแฟร์ในสิทธิในการเก็บรักษา private property อยู่แล้ว!!! 😡 
 มีคนบอกให้ลองโพสต์ 555 #siamstr 
 สวัสดีครับ 
Event not found
 (2/4)

ถ้าพูดแค่นั้นมันดูไม่มีอะไรผิดปกติใช่มั้ย แต่สิ่งที่พีคที่สุดคือข้อสรุปของบทความครับ เป็นใจความสำคัญที่อ่านแล้วกุมขมับที่สุด

ในบทความเค้ากล่าวไว้ชัดตั้งแต่แรก ว่าเงินเฟ้อทำให้เกิดการปรับโครงสร้างทางสังคม (Inflation restructures the social order.) เพราะการเปลี่ยนแปลงราคาสินค้าที่แตกต่างกันออกไป จะทำให้เกิดผู้แพ้-ผู้ชนะ

แต่ในช่วงท้ายบทความ เค้าปล่อยหมัดเด็ดด้วยการโชว์การวิเคราะห์ขั้นเทพ(?!)

โดยการเอาอัตราส่วนกำไรต่อยอดขาย (Markup) ของ บ.เอกชนมาเทียบกัน เพื่อดูว่า บ. ใหญ่ๆ ขายสินค้าได้ % กำไรสูงกว่า บ. อื่นๆ แค่ไหน แล้วเอาผลต่างที่ได้มาเปรียบเทียบกับดัชนีราคาขายส่ง (Wholesale Price Index)

ผลการวิเคราะห์ที่ได้ แปลไทยเป็นไทยก็คือ ยิ่งช่วงไหนอัตราเงินเฟ้อสูงขึ้น บ. ใหญ่ๆ จะยิ่งทำกำไรต่อยอดขายได้มากกว่า บ. อื่นๆ ที่มีขนาดเล็กกว่า

และนำข้อมูลนี้มาสรุปความทันทีว่า เงินเฟ้อไม่ได้เกิดแต่จากรัฐบาลแบบที่ Friedman พูด แต่เกิดเพราะ บ. ใหญ่ๆ มันชิงขึ้นราคาสินค้าเยอะกว่า บ. เล็กๆ ต่างหาก เป็นไอ้พวกทุนใหญ่ผูกขาดหรอกที่ทำให้เงินเฟ้อ (ข้าวของแพง) ไม่ใช่เพราะรัฐบาล!! พวกนายทุนมันได้ประโยชน์จากสิ่งนี้ เงินเฟ้อคือการที่ บ. ต่างๆ แข่งขันแย่งชิงอำนาจกันเพื่อให้เป็นเจ้าที่ขึ้นราคาสินค้าได้เร็วที่สุด!!!

อิหยังวะ 55555555 
 (4/4)

อีกอย่างนึง ข้อมูลที่ผู้เขียนเอามาสรุปเพื่อโทษนายทุน มันด่วนสรุปมากๆ 

แค่เห็นว่า บ. ใหญ่ๆ มี Markup กำไรเยอะกว่า บ. เล็กๆ ในช่วงที่เงินเฟ้อ (ของแพงขึ้น) ก็สรุปเลยว่าทุนใหญ่ผูกขาดเป็นคนสร้างเงินเฟ้อเพราะตัวเองได้ประโยชน์

จะไม่วิเคราะห์ต่อ ตั้งคำถามต่อซะหน่อยเลยเหรอ ว่ามันเกิดอะไรขึ้นในระหว่างนั้น เพราะอะไรถึงทำให้ บ. ใหญ่ๆ พวกนี้ขึ้นราคาแพงมหาโหดได้โดยยอดขายไม่ตก: 

 - รัฐบาลมีพิมพ์เงินมั้ย ใครเป็นคนได้เงินก่อน 

 - รัฐมีเข้ามาอุ้มหรือนโยบายที่ออกไปเอื้อใครรึเปล่า 

 - ธุรกิจรายย่อยล้มตายไปในระหว่างนั้นเท่าไหร่ อะไรที่ทำให้รายย่อยเหล่านั้นตาย 

 - นโยบายของรัฐบาลมีส่วนทำให้รายย่อยแข่งขันยากขึ้นจนเจ๊งไปตามๆ กันบ้างมั้ย 

 - การที่รายใหญ่ขึ้นราคาได้มากๆ เกี่ยวอะไรกับการแข่งขันที่ลดลงมั้ย

 - ถ้าการขึ้นราคามันทำได้ง่ายขนาดนั้น ทำไมเค้าไม่ทำตั้งแต่แรก มันแปลว่าเดิมเค้าทำไม่ได้รึเปล่า

 - ฯลฯ

ไม่มองความเป็นไปได้อื่นนอกจากนายทุนโลภขูดรีดบ้างเลยเหรอ 

การสรุปแบบใจเร็วด่วนได้นี้ แม้แต่ทฤษฎีรองรับยังไม่ชัดเจนเลยครับ ตกลงธุรกิจรายใหญ่เป็นคนสร้างเงินเฟ้อเหรอ? สร้างยังไง ขึ้นราคาเฉยๆ หรือต้องไปล็อบบี้ใครเพิ่ม? ทำไมอยู่ๆ นึกจะสร้างเงินเฟ้อก็สร้างได้ ธุรกิจมีอำนาจผลิตเงินเข้ากระเป๋าคนอื่นเหรอ ถึงได้ขึ้นราคาไปเท่าไหร่คนก็ยังมีเงินมาจ่ายและยังยอมจ่าย? ตกลงใครมีอำนาจควบคุมการผลิตเงิน? คุณจะอธิบายกลไกที่เกิดขึ้นยังไงให้มันสอดคล้องกัน

การคิดเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์มันต้องคิดให้ละเอียดครับ อย่ามองแค่สิ่งที่เห็นตรงหน้าแล้วสรุปเลย

ไม่งั้นคุณสุ่มเสี่ยงจะวิเคราะห์ปัญหาผิด นำเสนอทางแก้ผิดๆ ซึ่งไปซ้ำเติมปัญหาให้หนักกว่าเดิม