Oddbean new post about | logout
 สืบเนื่องจากประเด็นที่ถกกับพี่ปกป้องใน Discord เมื่อคืน ผมมองว่ายิ่งไม่แปลกใจที่ทุกวันนี้ธุรกิจและหน่วยงานต่างๆ ถูกใช้เป็นเครื่องมือตาม agenda ทางการเมือง และเกิดพฤติกรรมแบบทุนนิยมอุปถัมภ์ (crony capitalism) เล่นพรรคเล่นพวกกันได้ง่ายขึ้น

มันเป็นเพราะอะไร และมันเชื่อมโยงกลับมาที่เรื่องเงิน (money) ยังไง?

(1/4)

#siamstr 
 (2/4)

ง่ายๆ เลยครับ ปัญหาของทุกวันนี้คือเงินทำหน้าที่เป็น store of value ไม่ได้แล้ว (เหลือฟังก์ชั่นได้แค่ 2 อย่าง คือเป็น unit of account กับ medium of exchange) นั่นแปลว่า ถ้าเราอยากจะเก็บพลังงานและคุณค่าจากงานที่เราลงทุนลงแรงไปเพื่อให้ได้ค่าตอบแทนมา เราต้องเอาเงิน fiat ที่ได้มาไปแปลงเป็นสินทรัพย์อย่างอื่น

ซึ่งสำหรับคนทั่วไป ที่รู้เท่าทันปัญหานี้ แต่ไม่มีความเชี่ยวชาญหรือไม่อยากเสียเวลามาทำตัวเป็นนักลงทุน ไม่อยากเสี่ยงเกินไป หนึ่งในทางเลือกที่ลดความเสี่ยงได้ดีและจัดการไม่ยุ่งยากคือเอาเงินไปใส่ไว้ในกองทุนต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นกองทุนตลาดเงิน กองทุนตราสารหนี้ กองทุนหุ้น กองทุนอสังหาริมทรัพย์ หรือกองทุนอะไรก็แล้วแต่ที่เหมาะกับเป้าหมายและระดับความเสี่ยงที่ตัวเองรับได้ จะได้ไม่ต้องบริหารหรือคอย monitor เอง 

(ซึ่งถูกหลักแล้วนะ สำหรับคนที่ไม่อยากเป็นนักลงทุนมืออาชีพ ผมไม่แนะนำให้เล่นหุ้นรายตัวหรือเลือกซื้อที่ดิน/อสังหาริมทรัพย์แบบมั่วๆ เลย) 
 (3/4)

ประเด็นมันอยู่ที่ว่า ทันทีที่เราเอาเงินไปให้กองทุนพวกนี้ดูแล หากมีการตัดสินใจอะไร เช่นสิทธิในการโหวตของผู้ถือหุ้น กองทุนพวกนี้จะเป็นคนรับหน้าที่ตัดสินใจโหวตแทนเรา กองทุนพวกนี้เสมือนได้อำนาจในการโหวตกำหนดทิศทางของ บ. ต่างๆ ที่ตัวเองดูแลเงินทุนอยู่ไปจากประชาชนทั่วไปเลยฟรีๆ

ประชาชนทั่วไปเหมือนถูกบีบให้อยู่บนทางสองแพร่ง คุณต้องเลือกเอา ระหว่างจะเก็บเงินเอาไว้เฉยๆ รอให้โดนปล้นอำนาจซื้อไปเรื่อยๆ ทุกปี หรือจะหนีมาพึ่งกองทุน แต่ต้องยอมยกอำนาจการโหวตให้ บ. ที่เข้ามาจัดการกองทุนให้คุณ ซึ่งส่วนมากก็เป็นนายทุนใหญ่ทั้งนั้น

ไม่หลงเหลือหนทาง neutral ให้คุณเลือกแล้วครับ จะยอมโดนปล้นตายไปแบบไร้ทางสู้ หรือยอมให้พี่เบิ้มมีอำนาจผูกขาดในการกำหนดทิศทางของธุรกิจและสังคมมากขึ้น

หากเราอยู่ภายใต้ระบบ sound money ประชาชนมีที่เก็บรักษามูลค่าที่ดีพอและไม่ซับซ้อน ตราบใดที่เงินยังรักษามูลค่าในตัวมันเองได้ การลงทุนอื่นๆ จะเป็นแค่ทางเลือก ไม่ใช่หนทางบังคับแบบทุกวันนี้ บ. เหล่านี้จะได้เสียงโหวตมากขึ้นเพียงเท่าจำนวนคนที่สนใจอยากได้ผลตอบแทนจากการลงทุนจริงๆ เท่านั้น ตลาดจะจัดสรรทรัพยากรและทำงานตามประโยชน์ที่มันควรสร้างจริงๆ 
 (4/4)

หนำซ้ำ หากบรรดานายทุนและรัฐบาลคิดจะฮั้วกันขึ้นมา เค้าสามารถหยิบเอาปัญหาที่เค้าสร้างขึ้นมาเองนี้ มาเป็นข้ออ้างในการสร้างความชอบธรรมและเพิ่มอำนาจให้ตัวเองได้อีก

สถานการณ์สมมติ: สมมติว่า บ. จัดการเงินลงทุนยักษ์ใหญ่คิดชั่ว เค้าสามารถเอาเสียงโหวตจากเงินของประชาชนที่เค้าบริหารเงิน ไปโหวตเลือกคนของเค้า ไปโหวตสนับสนุนนโยบายเอื้อประโยชน์ให้ บ. ที่เค้าอยากดัน หรือสนับสนุนนโยบายของรัฐบาล ที่ฟังดูดีรับผิดชอบต่อสังคม แต่สร้างความได้เปรียบให้พรรคพวกและกีดกันคู่แข่งทางอ้อม (ESG แค่กๆๆ!!) ได้ง่ายกว่าบนระบบ sound money ที่คนไหนไม่สนใจลงทุนก็แค่เก็บเงินเอาไว้เฉยๆ ไม่ต้องไปเพิ่มสิทธิ์การตัดสินใจทางธุรกิจให้แก่ใคร

ภายใต้ระบบเงิน fiat คนที่พยายามวิ่งหนีมัน อาจไม่รู้ตัวเลยว่ากำลังถูกนำเสียงโหวตไปใช้สนับสนุนนโยบายที่ทำร้ายสังคมในระยะยาว

หากแผนร้ายนี้สำเร็จ บ. ใหญ่ๆ ที่มีสายสัมพันธ์ที่ดีกับรัฐบาลและ บ. จัดการการลงทุน จะมีกำไรมากขึ้น ธุรกิจรายย่อยเกิดใหม่และแข่งขันได้ยาก เกิดการผูกขาด สินค้าและบริการคุณภาพด้อยลง ความเหลื่อมล้ำถ่างออก เพราะตลาดไม่เสรี

เค้าก็จะใช้ผลลัพธ์ที่แย่ลงนี้แหละครับ ในการอ้างว่ารัฐบาลต้องเพิ่มการกำกับดูแลมากขึ้น เห็นมั้ยว่า บ. ใหญ่ๆ ต่างก็โตเอาๆ ไอ้พวกนี้มันเห็นแก่ตัว หวังแต่ผลกำไร รัฐต้องเข้ามาช่วยแทรกแซงและกระจายทรัพยากร ไม่ให้สังคมพังทลาย คนต้องเข้าถึงโอกาสอย่างเท่าเทียม ไม่ใช่คนรวยเท่านั้นที่มีโอกาส (ลูกไม้เดิมๆ)

และถ้าคุณหวังว่าจะมีจุดให้คุณชี้ประเด็นว่าต้นตอของปัญหามันเกิดมาจากแนวคิด interventionism ให้ภาครัฐแทรกแซงแบบสังคมนิยม กับระบบเงิน fiat ต่างหาก ก็อย่าหวังง่ายๆ ครับ

เค้า coin คำศัพท์ขึ้นมาไว้เรียบร้อยแล้ว เค้าจะโทษว่าปัญหาทั้งหมดเกิดมาจาก financial capitalism!!! 

เพราะไอ้พวกนายทุนมันออกแบบเครื่องมือทางการเงินอันซับซ้อนขึ้นมาเพื่อหวังฟันกำไรหรอก ไอ้พวกนี้มันทำนาบนหลังคน นั่งอยู่ในห้องแอร์โยกตัวเลขไปมาก็รวยเอาๆ คนจนก้มหน้าก้มตาเป็นทาสให้ตายก็ได้แค่เศษเงิน เราต้อง tax the rich! eat the rich!! โปรดให้อำนาจเราในการปราบปรามทุนนิยมสามานย์

ทุนนิยมจะถูกทาสีเป็นปิศาจเสมอ เพื่อกลบเกลื่อนความผิดพลาดของเหล่า central planner ครับ!! 
 เสริมนิดนึงทุนนิยมมาคู่กับความเหลื่อมล้ำอยู่แล้ว มันแปลว่าแตกต่าง เหลื่อมล้ำที่ต่าวคนต่างสร้าง proof of work ตามความสามารถเฉพาะตัว กับ เหลื่อมล้ำที่ รวยกระจุกจนกระจาย ก็ใช้คำว่าเหลื่อมล้ำได้เหมือนกัน ปล.เหลื่อมล้ำในทุนนิยมเป็นเรื่องที่ดี 
 ฟังแล้วนึกถึงคำพูดของ Milton Friedman เลยครับ สังคมที่ให้ความเท่าเทียมมาก่อนเสรีภาพจะไม่ได้ทั้งความเท่าเทียมและเสรีภาพ ส่วนสังคมที่ให้เสรีภาพมาก่อนความเท่าเทียมจะไม่ได้สังคมที่เท่าเทียม แต่จะเข้าใกล้ความเท่าเทียมได้มากกว่าระบบใดๆ ที่เคยสร้างมา เพราะคุณจะสร้างความเท่าเทียมได้ก็ต่อเมื่อคุณอนุญาตให้คนบางคนมีอำนาจในการริบเอาทรัพยากรและตัดสินใจแทนคนอื่นว่าใครควรจะทำอะไร แต่สิ่งที่จะเกิดขึ้นตามมาก็คือเค้าจะเก็บส่วนต่างเป็นค่า commission ไปด้วยในระหว่างทาง 555 
 มีฟังย้อนหลังมั้ยครับ 
 อ่อ ผมมองไม่เห็นครับ เมื่อวานตอบแล้วว่าไม่มี เดี๋ยวผมตามอ่านย้อนหลังเอาครับ ขอบคุณที่สรุปให้นะครับ 
 ขอโทษทีครับ เป็นการคุยใน discord ไม่มีการอัดไว้

ที่ผมเขียนนี้เป็นแค่หนึ่งในประเด็นที่พี่ปกป้องยกขึ้นมาเองครับ ต้องรอดูว่ามีใครจำเนื้อหาส่วนอื่นได้และเขียนสรุปออกมาอีกมั้ย 😂

ถ้าผมมีเวลาอาจจะลองเขียนถึงประเด็นอื่นที่นึกออกนะครับ 
 ขอบคุณสำหรับการเรียบเรียงนะคะ 
 ยินดีครับ 
 เด่วๆ ทำไมนายแยกเป็นต่อนๆ ? (4/4) 
 ขอบคุณที่สรุปภาพรวมให้ครับพี่ ทำให้เห็นเหตุการณ์เป็นลำดับอย่างเป็นเหตุเป็นผลกันด้วย 
 ยินดีครับ มันเป็นการสรุปผสมกับที่กลับไปคิดต่อด้วย เลยจะยาวนิดนึง ขอบคุณที่อ่านจบนะครับ 😂