Oddbean new post about | logout
 *โพสต์นี้เป็นฉบับสมบูรณ์จากในเฟซ*
*มีย่อยไปบ้างแต่อยากให้อ่านจนครบแล้วแยกประเด็นไปทีละข้อนะครับ*

*********************************

"เงินสดคือหนี้"

ตัวเรามองเห็นปัญหาที่คนส่วนใหญ่งงกันมีดังนี้

1.นิยามไม่ตรงกัน (definition) บางคนหยิบนิยามตามบัญชี นิยามตามเศรษฐศาสตร์การเงินกระแสหลัก (ไม่ใช่ออสเตรียน) นิยามตามกฎหมาย นิยามอะไรก็ตามแต่ทำให้มันเข้าใจผิด นิยามที่หลากหลายทำให้การโต้ตอบประเด็นมันไม่ได้ตรงกันและหาข้อสรุปลงตัวได้ยาก กล่าวคือไม่คุยคนละภาษาก็คุยคนละเรื่อง การจะทำความเข้าใจระหว่างกันได้จะต้องจับต้นชนปลายว่าสิ่งที่เราพูดด้วยกันนั้นใช่เรื่องเดียวกันภาษาเดียวกันหรือไม่

2.สืบเนื่องจากข้อแรก คนพูดประโยคนี้ต้อง "พูดให้ชัด" ว่ายึดตามนิยามไหน แต่หลักๆผมคิดว่าเหล่า apologist (หลายคน) ก็พยายามจะดีเฟ้นด้วยวิชาความรู้บนแนวคิดออสเตรียนกัน ซึ่งมันก็ถูกต้องในแง่:

2.1) สถานการณ์ ณ ปัจจุบันมันเป็น "fiat standard" ด้วยเหตุนี้คำอธิบายนิยามที่สะท้อนกับสถานการณ์นี้ที่มัน “เป็น” มากที่สุด ไม่ใช่คำนิยามการเงินสมัยใหม่ตามแนวทางเศรษฐศาสตร์กระแสหลักปัจจุบัน แต่เป็นออสเตรียนที่ชัดเจนและถูกต้องกว่า 

2.2) จากข้อ (2.1) “การนิยาม” ที่ถูกต้องไม่ใช่แค่เรื่องการทำความเข้าใจ “fiat standard” เท่านั้น มันยังรวมไปถึงนิยามทางเศรษฐศาสตร์ในปัจจุบันที่นำไปสู่ปัญหาอย่างอื่นที่เราเห็นในปัจจุบันได้ 

ยกตัวอย่างปัญหา: การเกิดตลาดล้มเหลว (market failure) นักคิดสายนีโอเคนส์ (neo-keynesianism) มักจะอธิบายว่าเป็นเพราะตลาดเสรีทำงานผิดพลาดและมันไม่สมบูรณ์แบบไงละ ตลาดตามจริงแล้วมันมันไม่ได้มีการกำกับตัวเอง (self-regulating) หมายความว่ามันไม่ได้มีความเป็นระบบระเบียบอะไร กรณีที่เห็นภาพมากที่สุดในเรื่องของตลาดล้มเหลวที่ชอบหยิบยกมาบ่อยก็คือ 1.การผูกขาด (monopoly) 2.อันตรายบนศีลธรรม (moral hazard) 3.การจัดสรรทรัพยากรในภาคเอกชนไม่มีประสิทธิภาพ (productive andallocative inefficiency) 4.สิ่งแวดล้อมเสียหายเพราะกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ฯลฯ

ทางออกของนีโอเคนส์: รัฐแทรกแซง (government interventionism) ภายใต้ตามหลักนิยามทางเศรษฐศาสตร์และการจำแนกปัญหาทางเศรษฐศาสตร์ มันจะต้อง “ทำอย่างไรก็ได้ให้เกิดความสมบูรณ์” หมายถึง ถ้าตลาดล้มเหลวมันลดทอนความพึงพอใจของปัจเจก รัฐก็ต้องเข้าไปช่วยเหลือเสีย หรือ ถ้าเกิดความไม่แฟร์ตาม “กลไกตลาด” (?) อย่างการผูกขาด รัฐบาลจะต้องเข้าไปแทรกแซงเพื่อให้เกิดการแข่งขันเสรีขึ้นตามโมเดล “การแข่งขันสมบูรณ์” (perfect competition) … 

Keys: การแทรกแซงของรัฐ, การแข่งขันสมบูรณ์, อรรถประโยช์นิยม (ความพึงพอใจ) 

ตรงกันข้ามการนิยามเศรษฐศาสตร์ที่ถูกต้องอย่างแท้จริงไม่ใช่การนิยามตามแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ของสำนักคลาสสิค (classical economics) ไม่ใช่การนิยามตามสำนักนีโอคลาสสิค (neoclassical economics) หรือสำนักเคนส์จนถึงโพสต์เคนส์ เพราะทุกนิยามมันจะวนเวียนอยู่กับการจำกัดมนุษย์อยู่เพียงแค่ “สัตว์ทางเศรษฐกิจ” (homo economicus) แต่นิยามที่ถูกต้องคือนิยามของออสเตรียนครับ เพราะอะไร?

การนิยามเศรษฐศาสตร์ตามความเป็นจริงที่ออสเตรียนเสนอมาตลอดคือศาสตร์ที่ศึกษา “Man act” คือมองมนุษย์ในภาพกว้างไม่ได้เจาะจงว่าต้องเป็นสิ่งใดสิ่งหนึ่งเพราะมันซับซ้อน ไม่ใช่นิยามแบบ "utilitarianism-style economics" ต้อง maximize สิ่งที่เรียกว่า 'ความพึงพอใจ' 'กำไร' 'ความสุข' หรืออะไรก็แล้วแต่ ตรงนี้ผมพอจะอธิบายให้เข้าใจได้ง่ายครับยังไม่ต้องลงดีเทลลึก แต่ผมอยากบอกปัญหาส่วนหนึ่งที่ไม่ว่าคนที่เป็น bitcoiner หรือใครก็ตามที่สมาทานสำนักเศรษฐศาสตร์ออสเตรียน หรือ สายตลาดเสรีทั้งหลาแหล่มักจะตกอยู่ในกับดักนิยามทางเศรษฐศาสตร์ที่เล่าเรียนและถูกปูมาอย่างมีปัญหา แล้วบางครั้งเราก็ดันไปใช้โดยไม่รู้ตัว...

(2.2.1) ยกตัวอย่างกับดับทางนิยามทางเศรษฐศาสตร์:
(1) 'กลไกตลาดคือสิ่งที่ดีที่สุดในทุกเรื่อง' ซึ่งคำนี้ถ้ามองโดยตามปกติไม่มีปัญหา แต่หากมองบนประเด็นจริยศาสตร์และเศรษฐศาสตร์ออสเตรียนตามจริงมันมีปัญหาเต็มๆ เพราะตลาดเนี่ยมันเป็นสภาวะ "asymmetric information" มันจึงไม่เพอร์เฟคหรือดีที่สุด ถ้าพูดโดยคงให้คำมันดูดีก็ต้องพูดว่า "กลไกตลาดไม่ได้ดีที่สุด แต่มันดีกว่ารัฐบาล"

ตรงนี้ให้ระวังนิยามเศรษฐศาสตร์ปัจจุบันเพราะหลายคนศึกษาออสเตรียน แต่เอา neoclassical economics ไปปนนิยามซะแล้ว

(2) ‘เงินเฟ้อ คือ การเพิ่มขึ้นของระดับราคาสินค้าและบริการและเงินฝืด คือ การลดลงของราคาสินค้าและบริการ’ อันนี้ไม่ต้องลงรายละเอียดอะไรมากเพราะปัญหามันก็กลับไปที่ “Keynesian revolution” นิยามความหมายเงินเฟ้อถูกบิดเบือนไปจากเดิม 

มีอีกหลายอันแต่ผมนึกไม่ออก ตัวอย่างอื่นมักจะรวมไปถึง “มายาคติ” ทางเศรษฐศาสตร์ที่เพี้ยนอันเกิดจากนิยามทางเศรษฐศาสตร์มันมีปัญหาด้วย

3.เนื่องจากคนออกมาไม่เห็นด้วยในประเด็น “เงินสดคือหนี้” ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มปัญญาชน "เทคโนแครต" (technocrat) ก่อนอื่นสหายที่รักทุกท่านต้องเข้าใจว่าคนทำงานเป็นเทคโนแครต หรือ กลุ่มชนชั้นผู้จัดการ (Managerialism) ย่อมดำรงอยู่ด้วยความไม่เป็นมิตรและประโยชน์ต่อประชาชนอย่างแท้จริง พวกเขามีทัศนคติที่จะต้องคำนึงถึงสถาบันและหน้าที่ของตนเองโดยอ้างทำเพื่อประชาชน (กี่โมง?) 

คนพวกนี้มีความเป็นมืออาชีพที่มักจะมีพลังในการตัดสินใจทิศทางขององค์กรใดก็ตามสูงไม่ว่าจะภาครัฐ ภาคเอกชน กลุ่มนอกภาครัฐ ซ้ำร้ายคือยุคปัจจุบันเทคโนแครตคอ่นข้างอินกับประเด็นซ้ายมากหลายเรื่อง อย่างเช่น เรื่องเศรษฐกิจให้เท่าเทียมกันยันการสร้างวัฒนธรรมแบบพลเมืองโลกนิยม เป็นต้น 

แต่คนเหล่านี้แตกต่างจากคอมมิวนิสต์ช่วงสงครามเย็น เพราะเทคโนแครตคือฝ่ายซ้ายใหม่ที่ผลิบานช่วงระหว่างสงครามเย็น แล้วเมื่อกระบวนทัศน์โลกที่ "เสรีนิยม" ชนะสงครามเย็น ก็เหลือเพียงกลุ่มพวกเขา (เทคโนแครต) ที่คุมทิศทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคมของทั่วโลก กลุ่มนี้มีโอกาสรอดในยุคที่รัฐมีบทบาทกับโลกนี้สูงเพราะพวกเขาคือบุคลากรสำคัญในบริบทโลกปัจจุบัน

ย้อนกลับมาในเรื่องของ "เงิน" หน้าที่ของพวกเขาคือต้องรักษาสถานภาพของตนเองด้วยการไม่ให้สถาบันตัวเองเกิดความเสื่อมและต้องพิทักษ์รักษาระบอบการปกครองแบบนี้เอาไว้ให้มั่นคงยืนนานสืบไป 
กล่าวคือ ความเป็นเทคโนแครตทำให้ต้อง "รักษาสถานภาพของระบอบในปัจจุบัน" แม้แต่เรื่องความรู้วิชาการเรียนในเศรษฐศาสตร์การเงินกระแสหลักที่เป็นอยู่แบบนี้ แน่นอนว่าในทางกลับกันพวกเขาก็กลัวจนหัวหดว่าระบอบของตัวเองกำลังพังทลายลงเพราะความจริงใหม่เข้ามาแทนที่ (สื่อถึงยุค “หลังความจริง” หรือ post-truth ตามบริบททางการเมืองแบบยุคหลังสมัยใหม่) 

แน่นอนว่าเมื่อเรา tracking ปัญหาตรงนี้จะพบว่าจะเจอมันเกิดขึ้นหลัง “Keynesian revolution” จะเห็นว่าผลกระทบมันกว้างไกลมาก เพราะมันนำไปสู่ความขัดแย้งในนิยามเศรษฐศาสตร์ นิยามแนวคิดทางการเมือง นิยามความรู้เฉพาะทางใดๆ ก็ตามถูกเปลี่ยนแปลงเพราะ "ชนชั้นนำหัวก้าวหน้า” 

4.ต้องยอมรับอย่างทั่วกันว่าคนทั่วไปไม่ได้เก็ทออสเตรียนขนาดนั้น ไม่ได้เก็ทสิ่งที่ นักเศรษฐศาสตร์ออสเตรียน หรือ ใครหลายคนเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจตรงนี้ 

แม้ว่าฝั่งหนึ่งจะต้องยืนยันว่า 'Fiat standard" มันมีปัญหาอย่างไร … คนส่วนใหญ่อาจไม่ได้เข้าใจสิ่งที่สื่อนักหากเป็นประเด็นที่ซับซ้อนเกินไป ยกเว้นแต่จะนำเข้าไอเดียที่ถูกย่อยเข้าใจง่ายแล้วเกิด gaslighting ขึ้นพร้อมกับความเหมาะสมของสถานการณ์ (ทุกฝ่ายใช้หมดไม่ว่าใคร)  หรือ เทคโนแครตบางกลุ่มที่มีความคิดความเข้าใจว่า “Fiat standard” มีปัญหาอย่างไรและข้อเสนอของสำนักออสเตรียนสำคัญอย่างไร แต่พวกเขามีหน้าที่ในชีวิตที่สำคัญกว่าตามข้อ (3) หมายความว่าหน้าที่สำคัญกว่าแต่นั้นก็คือการรักษาระบอบปัจจุบันเอาไว้ 

แต่ผมเห็นว่าระบอบมันกล่อมเกลาและหล่อหลอมความเชื่อความคิดคนได้เหมือนกันมันจึงมีแค่คนเพียงหยิบมือเท่านั้นที่จะเป็นสิ่งแปลกแยกจากระบอบนี้แล้วไม่สามารถเปลี่ยนแปลงอะไรได้ในระบอบแบบนี้ด้วยคนเพียงหยิบมือที่อยู่ภายในระบบแล้วหวัง “ปฏิรูป” ผมเข้าใจได้ว่าคนที่เป็นเทคโนแครต ไม่ใช่คนแบบนโปเลียน ซีซาร์ ฮิตเลอร์ หรือมหาบุรุษทั้งหลายที่มีพละกำลังและบารมีที่จะ “ปฏิวัติ” เพื่อเปลี่ยนหน้าประวัติศาสตร์ได้

ในท้ายที่สุดคนหลายคนที่ตาสว่างแล้วก็ต้องจำใจยอมรับความเป็น “ขี้ข้า” ในระบบ "ทุนนิยมผู้จัดการ" ที่สร้างสภาวะทาสภายใต้รัฐ-ชาติสมัยใหม่

5.หากเรามองประเด็นนี้ไปไกลกว่านั้น หรือ ไม่ใช่แค่ประเด็นนี้แต่รวมไปถึงการมีอยู่ของขั้วตรงข้ามของรัฐ ขั้วตรงข้ามขององค์กรนอกรัฐ ขั้วตรงข้ามของแนวคิดฝ่ายซ้ายทั้งปวงย่อมเป็นอุปสรรคของชนชั้นนำที่ปกครองโลกอยู่ 

สำหรับกรณีของ “เงิน” การมีอยู่ของอิสรภาพทางการเงินในโลกย่อมเป็นอุปสรรคของชนชั้นนำยิวที่ควบคุมเงินโลก ยกตัวอย่าง World Economic Forum ช่วงหนึ่งที่ Klaus Schwab พยายามจะพูดถึงความอันตรายต่อระบบโลกปัจจุบันที่เกิดจาก anti-system movement อย่าง “libertarianism” ตรงนี้สำคัญอย่างยิ่งยวดถ้าใครนำไปขมวดปมหรือขยายความตรงนี้เพิ่มให้จะเป็นพระคุณยิ่ง

#siamstr 
 ระเบิดฟอร์มแล้วครับ 555 
 Top Form หว่ะ @SOUP  นี่ ไงที่ผมบอกเรื่อง คำว่า ให้ตลาดตัดสิน มันไม่ใช่ Austrians Eco ซึ่ง Austrians Eco มุ่งไปที่ Man Act สังเกตพวกที่นำเอา ออสเตรียนไปใช้เป็น Behave eco หลายๆคน มันก็มุ่งตรงความหมายสู่ man Act 

ประเด็นเรื่องจริยศาสตร์ อันนี้สำคัญมากๆ ประเด็นเรื่องของ Autsrians Economic จึงพยายาม โน้มเข้ามาสู่ พยายามโน้มมาสู่สิ่งที่ดีงาม ตามไปด้วย ไม่ใช่เพียง ผลลัพธ์ทางเศรษฐกิจ หรือ มองว่า คน คือ สัตว์เศรษฐกิจ แต่มันกำลังบอกว่า ตลาดมีตัวตน 
 ข้อมูลดีมากครับ ได้เข้าใจอะไรหลายอย่างเพิ่มขึ้นมากเลย 
 เด่วพี่ต้องหาเวลามาทำสมาธิอ่านดีๆ ขอบคุณมากๆ