สืบเนื่องจากพาดหัวข่าวนี้ “โรงพยาบาลเอกชนขาดทุนบาน จ่อออกจากประกันสังคม ผลพวงลดงบค่ารักษากลุ่มโรคค่าใช้จ่ายสูงถึง 40% ผ่าน 10 ปี โรงพยาบาลเอกชนแห่ออกเกือบ 30 แห่ง หายกว่า 22% ” (BTimes) (https://www.facebook.com/share/p/uxQvyVuyKZuVxkS5/?) ผมเตือนอยู่เสมอครับ ว่าปัญหา healthcare บ้านเราหนักไม่แพ้ชาติอื่น อย่าชะล่าใจว่าเรามีสวัสดิการรัฐช่วยนักเลย ด้วยโครงสร้างมันอยู่ไม่ได้อยู่แล้ว มันคือแชร์ลูกโซ่ครับ เอาเงินคนทำงานมายืดอายุให้คนป่วย ให้ค่าใช้จ่ายบานปลายไปเรื่อยๆ ในขณะที่ประชากรรุ่นใหม่มีจำนวนลดลงเรื่อยๆ แม้ดูดีในทางจริยธรรมแต่มันจะพาเราชิบหายกันหมด เราต้องยอมรับความจริงอันดับแรกกันก่อนว่าแม้จะอยากช่วยแค่ไหนแต่เราช่วยไม่ได้ทุกคน สิ่งที่เราควรจะทำคือทำยังไงก็ได้ให้ทุกคนใช้เงินอย่างรู้คุณค่าและไม่ถลุงเงินกองกลาง จะได้มีเงินเหลือไปช่วยคนอื่นมากขึ้น ระบบประกันคือหนึ่งในหนทางไปสู่สิ่งนี้ครับ คุณลองคิดดูง่ายๆ นะ ขนาด บ.ประกันที่มุ่งหากำไร มี incentive ที่จะดูแลเงินที่ตัวเองรับมาให้มีประสิทธิภาพเพื่อให้เหลือกำไรเข้ากระเป๋า ยังขาดทุนกันยับๆ ตัว รพ. เองที่รับผู้ป่วยประกันสังคมก็ยังขาดทุนจนต้องขอถอนตัว แล้วนับประสาอะไรกับภาครัฐเอง จะเข้าเนื้อเละเทะขนาดไหน ที่มันยังดูไม่รุนแรงเพราะเราเอาภาษีมาอุ้มอยู่หรอก แต่เอาเงินมาอุ้มค่าใช้จ่ายแบบนี้มีแต่ทำให้เราจนลงๆ แล้วคิดว่าในระยะยาวสวัสดิการต่างๆ แบบนี้มันจะอยู่รอดได้ยังไงในวันที่เราทั้งจนทั้งคนน้อย ระบบประกันมันไม่เพอร์เฟ็กต์หรอกครับ แต่เชื่อเถอะ ราคาค่ารักษาพยาบาลต่างๆ ในยุคนี้มันไปไกลเกินกว่าที่เราจะเลือกแบกรับความเสี่ยงด้วยตัวเองคนเดียวเป็น solution หลักแล้ว อย่างน้อยมีประกันสุขภาพติดตัวเอาไว้เป็นทางเลือกบ้างเพื่อบริหารความเสี่ยงเถอะ ต่อให้ซวยขึ้นมาจริงๆ จะได้ไม่เจ็บหนัก ถ้าชีวิตเรายังไม่ล้มละลายก็ยังพอไปต่อได้นะ avoid pain สำคัญกว่า gain pleasure ความเจ็บปวดส่งผลกระทบต่อจิตใจเรามากกว่าความรู้สึกพึงพอใจครับ คิดเรื่องการวางแผนการเงินและบริหารความเสี่ยงกันเอาไว้ด้วย จะได้ไม่ไปกระทบคนข้างหลัง เราจะไม่สามารถลดอำนาจรัฐได้เลยครับถ้าภาคเอกชนยังดูแลกันเองไม่ดี ความช่วยเหลือจากภาครัฐจะถูกเรียกหาอยู่ร่ำไป #siamstr