Oddbean new post about | logout
 สุดยอดเลยที่อยากฝึกเขียน! ✌️

ผมเองก็ไม่ได้เก่งอะไรมากนะ ผมแค่ชอบเขียน / แล้วผมก็พยายามฝึกฝนตัวเองมาเรื่อยๆ ผมเชื่อว่าใครๆ ก็สามารถเขียนได้ ถ้ามีความตั้งใจและลงมือทำอย่างจริงจังน่ะ

สำหรับมือใหม่ ผมแนะนำให้เริ่มจาก 3 อย่างนี้ก่อนเลยละกัน

เริ่มจากหา "**สิ่งที่ชอบ**" แล้ว "**เขียนมันออกมา**" ไม่ต้องคิดอะไรเยอะ ไม่ต้องกังวลเรื่องถูกผิด แค่เขียนในสิ่งที่เราชอบ, สนใจหรืออยากเล่า อาจจะเป็นเรื่องดนตรี, หนัง, เกม, อาหาร, การ์ตูน หรืออะไรก็ได้ 

สิ่งสำคัญคือการ "**ปลดปล่อย**" ความคิด, ความรู้สึกออกมาเป็นตัวหนังสือ ไม่ต้องกลัวว่าจะออกมาดีหรือไม่ดี แค่ลงมือเขียน ฝึกฝนไปเรื่อยๆ เดี๋ยวมันก็ดีเอง (เพราะคำว่า "**ดี**" มันไม่เกิดขึ้นได้ทันที มันต้องผ่านประสบการณ์ การฝึกฝน และการขัดเกลามาก่อนครับ)

จากนั้นก็ "**อ่านเยอะๆ**" เพราะการอ่านเป็นเหมือน "**อาหารสมอง**" ยิ่งเราอ่านมาก เรายิ่งได้เรียนรู้ ทั้งเรื่องภาษา, สำนวน, แนวคิด และการเล่าเรื่องจากนักเขียนเก่งๆ (ครูพักลักจำ) ลองอ่านงานเขียนหลากหลายแนวหลากหลายสไตล์ เพื่อเปิดโลกทัศน์ และหาแรงบันดาลใจในการเขียนให้กับตัวเอง (ซึ่งสุดท้ายเราก็จำเป็นต้องบูรณาการออกมาในแบบของตัวเอง /ข้อนี้สำคัญ)

และอย่าลืมที่จะ "**ฝึกฝนสม่ำเสมอ**" มันก็เหมือนกับการออกกำลังกาย ที่เรายิ่งฝึกบ่อย เราก็ยิ่งแข็งแรง การเขียน.. ถ้าเราเขียนทุกวัน เขียนวันละนิดละหน่อยก็ได้ ไม่ต้องกดดันตัวเองมาก ขอแค่เขียนให้ตัวเองสนุก เพราะมันสำคัญที่สุด!

ตอนเริ่มต้น.. ไม่ต้องไปกังวลเรื่องเทคนิค, วิธีการ อะไรมากมาย แค่ต้อง "**ลงมือทำ**" 

มันสำคัญที่ต้องหัดเขียนไปเรื่อยๆ เดี๋ยวก็จะค่อยๆ ค้นพบสไตล์ และพัฒนาฝีมือการเขียนของตัวเอง (รู้ไหมว่าผมเขียนมาหลายร้อยบทความแล้ว ผมเองก็ไม่ก็ได้คล่องในทันที ต้องผ่าน POW มาเหมือนกัน มันไม่มีทางลัด)

ผมเองก็เริ่มต้นจากการเขียน "**ไดอารี่**" ธรรมดาๆ นี่แหละ ตามสไตล์วัยรุ่น 90's ที่สมัยนั้นไม่มีเน็ตไม่มีบล็อกให้เล่น เขียนระบายความรู้สึกออกมา เรื่องราวต่างๆ ในชีวิตประจำวัน ตอนนั้นผมก็ไม่ได้คิดว่าจะต้องเอาไปให้ใครอ่าน แต่การเขียนแบบนี้มันก็ช่วยให้ผม "**คุ้นเคย**" กับการเรียบเรียงความคิด และฝึกใช้ภาษา นำเสนอออกไปผ่านตัวอักษร

นอกจากนี้ การ "**อ่าน**" ที่แนะนำไปข้างต้นก็ช่วยผมได้เยอะมาก ผมชอบอ่านหนังสือ บทความ นิยาย หลากหลายแนว ผมอ่านเยอะมากจนกระทั่งทุกวันนี้เพียงแค่ผมไม่เคยมานั่งบอกใครว่าอ่านเยอะ แล้วผมก็พยายาม "**สังเกต**" ว่านักเขียนแต่ละคนใช้ "**เทคนิค**" อะไร "**ภาษา**" แบบไหนในการเล่าเรื่อง แล้วมันส่งผลต่อคนอ่านยังไง แบบไหนดี/ไม่ดี แบบไหนเราชอบ/ไม่ชอบ

ผมอ่านหนังสือในแง่มุมแบบนั้น ไม่ได้เน้นอ่านเอาตาย หรือเอาไปสอบ ไปท่องแข่งกับใคร อ่านเพื่อให้ได้หรือเข้าใจบางอย่างแบบที่เราต้องการเท่านั้นเอง

การฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอก็สำคัญ (น่าจะพอสังเกตุได้) ผมพยายามเขียนอะไรสักอย่างทุกวัน แม้จะเป็นแค่โน๊ตสั้นๆ บนโซเชียลมีเดียก็ตาม เพราะการเขียนบ่อยๆ จะช่วยให้เรา "**คล่อง**" ขึ้น และพัฒนา "**สำนวนภาษา**" ของตัวเอง (ยอดยุทธ์ต้องหมั่นฝึกฝนกระบี่)

ท้ายสุดคือทำตามที่โน๊ตล่าสุดพึ่งแนะนำไป คือทบทวน รีวิว และหาจุดที่จะพัฒนาตัวเอง มันไม่มีใครมานั่งช่วยเรา นอกจาก้ราจะพยายามด้วยตัวเอง

ทั้งหมดก็เพราะเรามีเป้าหมาย ที่ไม่ใช่แค่อยากเขียน แต่เราอยากเขียนให้ดี เป้าหมายที่ต่างกันก็นำมาซึ่งกระบวนการที่แตกต่างเช่นกัน

แล้วถ้ามีคำถาม หรืออยากให้ช่วยดูงานเขียน บอกผมได้เลยนะ ยินดีช่วยเต็มที่

ขอให้สนุกกับการเขียน และพัฒนาฝีมือไปเรื่อยๆ นะครับ! เป็นกำลังใจให้!

#siamstr 
 ขอบคุณมากๆ ครับผม  
 ผมชอบ Note นี้เพราะ มันเหมือนมีพลังบางอย่างที่เมื่อได้อ่านแล้ว มันรู้สึกอยากที่จะลองเขียนบทความดูครับ มันเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้ผมได้ลองออกจากกรอบความสามารถของตัวเอง เพราะปกติลำพังแค่พูด ผมก็พูดไม่ค่อยจะรู้เรื่องอยู่แล้ว นี่จะมาเขียนบทความ ตายห่ากันพอดี! ตั้งแต่วันนั้นจนถึงวันนี้ ผมก็พยายามฝึกเขียนอยู่ตลอดครับ ไอ่ที่เขียนส่วนใหญ่ก็จะ เขียนๆ ลบๆ ไม่ก็ฆ่าทิ้ง สมุดที่เขียนก็เป็นเหมือนเรียงความที่เขียนไม่จบสักที อารมณ์มันจะประมาณ พอเขียนไปได้สักพักแล้วกลับมาอ่าน มันอ่านไม่ค่อยรู้เรื่อง เขียนไปเขียนมาเหมือนมันแยกเป็นคนละส่วนกัน ที่นี่ไอ่เราก็กลัวเสียกระดาษไปฟรีๆ ผมก็เลยแก้ไขปัญหาโดยการไปให้ AI ช่วย ป้อนโครงเรื่องให้กับมันแล้วค่อยพยายามมาแก้คำบางคำ หรือบางประโยค ให้มันพออ่านแล้วคนเข้าใจ มันก็เลยไม่แปลกที่ผลงานของผมดูเหมือน AI เขียนครับ 55555 #Siamstr

ส่วนอยากให้พี่เขียนอะไรนั้น ผมอยากให้พี่เขียนเกี่ยวกับเรื่องราวความผิดพลาดที่พี่คิดว่าเป็นเรื่องที่ใหญ่ที่สุดในชีวิตที่ผ่านมา แล้วพี่ได้เรียนรู้อะไรจากเหตุการณ์หรือสถาณการณ์นั้นบ้าง ผมรออ่านอยู่นะครับ ขอบคุณครับ 
 พี่จงใจไม่คอมเม้น เพราะการเรียนรู้ด้วยตัวเอง ประเมินและพัฒนาตัวเองนั้นยั่งยืนที่สุด พี่จะแนะนำเมื่อรู้สึกว่าใครสักคนไปต่อไม่ได้เพราะขาดประสบการณ์บางอย่างเท่านั้น 

จริงๆ การเขียนคือการตกผลึกความคิดผ่านตัวอักษร สมมุติว่าตัด a.i. ออกไป (ซึ่งพี่ลองมาหมดแล้ว มันยังขาดอรรถรส ขาดมิติบางอย่าง) เราจะเขียนได้ดีก็ต่อเมื่อผลคกความคิดของเราตกคะกอนมาดี เรายะมีผลึกความคิดแบบนั้นก็ต่อเมื่อเราผ่านเรื่องราว ผ่านประสบการณ์และทบทวนสิ่งต่างๆ อยู่ตลอดเวลา 

ดังนั้นการจะเขียนได้ดีไม่ได้ต้องการแค่ทักษะในการเขียน มันอาศัยความรู้สึกนึกคิด องค์ความรู้และการสั่งสมประสบการณ์ด้วย การเริ่มต้นได้ไม่ดีจคง้ป็นเรื่องจำเป็น มันเป็นหนทางไปสู่จุดนั้น

ส่วนเรื่องความผิดพลาด พี่รู้สึกว่ามันไม่ควรถูกระบุว่ามันคือ "ความผิดพลาด" เพราะชีวิตของใครสักคนที่จะหยั่งรู้ ที่จะประสบความสำเร็จ ที่จะค้นพบสิ่งที่ถูก เขาย่อมต้องมีชีวิตอยู่เพื่อเรียนรู้สิ่งผิดก่อนทั้งสิ้น เราไม่สามารถบอกได้ว่าอะไรถูก ถ้าไม่รู้ว่าอะไรผิด เราไม่สามารถบอกได้ว่านั่นคือสีดำ ถ้าไม่เคยเจอสีอื่นมาก่อน

Anyway..

ชีวิตพี่มีความผิดพลาดที่ทรงคุณค่าเยอะ ไว้พี่จะหาเวลาละเมียดมันออกมาครับ #siamstr

 
 # Trouble is a Friend

ถึงแอดมินวาวผู้กล้า,

น้อยคนนักจะกล้าท้าทายพี่ด้วยคำขอ แต่เมื่อใจเอ่ยถึง พี่ก็พร้อมจะสนอง... 

ทว่า.. สิ่งที่พี่ให้อาจไม่ใช่สิ่งที่นายคาดหวัง เพราะพี่เองก็มีวิถีที่ต้องยึดมั่น เมื่อใดที่พี่ถูกบังคับให้ทำในสิ่งที่ไม่ใช่ตัวตน พี่จะรู้สึกเหมือนหลุดจากแก่นแท้ของตัวเอง (พี่ก็ซีเรียสไปบางที 55)

I just want to be me.

ในโลกของพี่ "ความผิดพลาด" ไม่เคยมีอยู่จริง มันเป็นเพียงบททดสอบที่หล่อหลอมให้เราแข็งแกร่งขึ้น เติบโตขึ้นในทุกย่างก้าว

ทุกสิ่งที่เราเผชิญ ทั้งความสำเร็จและความผิดพลาด ล้วนเป็นดั่งบันไดที่นำเราไปสู่ความเข้าใจที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้น มันคือกระบวนการ "กลั่นกรอง" (Rule out) สิ่งที่ไม่จำเป็นออกไป เพื่อให้เหลือเพียงแก่นแท้แห่งปัญญา

ดังเช่นคำกล่าวของ Jakk Goodday ที่พึ่งคิดได้เมื่อกี้ว่า..

"ความผิดพลาดที่ใหญ่หลวงที่สุด คือการปฏิเสธความเป็นไปได้ที่จะผิดพลาด"

"The greatest mistake is to rule out the possibility of making one."

และอีกหนึ่งความจริงที่พี่ค้นพบ..

"จงอย่ากลัวที่จะผิดพลาด เพราะความกลัวคืออุปสรรคเดียวที่ขวางกั้นการเรียนรู้" (Rule out nothing but fear.)

ยิ่งพี่รู้มากเท่าไหร่ ยิ่งตระหนักว่าพี่ได้ผ่านบททดสอบแห่งความล้มเหลว (**Proof of Failure**) มามากเพียงใด และเมื่อมันมากมายจนเกินจะจดจำ สิ่งที่เหลืออยู่ก็คือ **"แก่นแท้ของบทเรียน"**

เหมือนดังข้อสอบ.. เมื่อเราเห็นคำตอบที่ถูกต้อง เราก็จะเข้าใจว่าทำไมตัวเลือกอื่นจึงผิดพลาด ในทางกลับกัน ตัวเลือกที่ผิดก็คือคำอธิบายว่าทำไมตัวเลือกนั้นจึงถูกต้อง

นี่คือสิ่งที่พี่ต้องการจะสื่อ เข้าใจใช่ไหม? 
(พี่เชื่อว่านายเข้าใจ สมมุติว่าเข้าใจละกันนะ)

บางคนอาจมองว่าความผิดพลาดครั้งใหญ่ที่สุดในชีวิต คือความล้มเหลวที่ไม่อาจลืมเลือน บาดแผลที่ไม่มีวันจางหาย แต่สำหรับพี่ ความผิดพลาดที่ยิ่งใหญ่ที่สุดกลับเป็น **"การไม่ยอมให้ตัวเองผิดพลาด"** ต่างหากล่ะ

> **เพราะเมื่อใดที่เราปิดกั้นตัวเองจากความผิดพลาด นั่นหมายถึงเราปิดกั้นโอกาสที่จะเรียนรู้และเติบโตไปพร้อมๆ กัน**

มันก็เหมือนต้นไม้ที่ไม่เคยเผชิญกับพายุ มันอาจเติบโตอย่างสง่างาม แต่เมื่อเผชิญกับลมแรงเพียงเล็กน้อย ก็อาจโค่นล้มลงได้ง่ายๆ 

ในทางกลับกัน.. ต้นไม้ที่ผ่านร้อนผ่านหนาว ผ่านพายุและฝนมาอย่างโชกโชน จะเติบโตอย่างแข็งแกร่ง มีรากที่หยั่งลึก สามารถต้านทานทุกแรงปะทะได้อย่างมั่นคง

ชีวิตก็เช่นกัน.. 

ความผิดพลาดเปรียบเสมือนพายุที่เข้ามาทดสอบความแข็งแกร่งของเรา หากเราเปิดใจยอมรับและเรียนรู้จากมัน เราจะเติบโตอย่างแข็งแกร่ง มีภูมิคุ้มกันต่อความล้มเหลว และพร้อมเผชิญหน้ากับทุกอุปสรรคที่ขวางหน้า (Learn from your errors and evolve.)

ดังนั้น.. จงอย่ากลัวที่จะผิดพลาด จงโอบกอดมันไว้ แล้วเปลี่ยนมันให้เป็นพลังขับเคลื่อนชีวิตของเรา

นายอาจจะรู้สึกผิดหวังอยู่บ้าง ที่พี่ไม่ยอมเขียนถึงเรื่องราวของตัวเอง แต่พี่ก็อยากให้นายเข้าใจว่า บางครั้งการไม่บอกเล่าเรื่องราวโดยตรง อาจเปิดพื้นที่ให้เกิด **การตีความและเรียนรู้** ได้มากกว่า

ภาพวาดที่ไม่ได้บอกเล่าเรื่องราวทั้งหมด อาจจะปลุกเร้าความรู้สึกนึกคิดและจินตนาการของผู้ชมได้อย่างหลากหลาย

พี่เชื่อว่าทุกคนล้วนมี **"ความผิดพลาดที่ยิ่งใหญ่ที่สุด"** เป็นของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นความล้มเหลวในหน้าที่การงาน ความสัมพันธ์ที่ไม่สมหวัง หรือการตัดสินใจที่ผิดพลาดในอดีต 

แต่พื้นที่เพียง 1 ลองฟอร์ม มันไม่ยาวพอจะเขียนเรื่องราวของพี่ออกมาครับ 

ยังไงก็จำไว้ว่า **"การไม่ยอมให้ตัวเองผิดพลาด"** มักจะกลายเป็นหายนะที่ยิ่งใหญ่ที่สุดเท่าที่นายจะพบเจอได้ หากนายยอมให้มันเกิดขึ้นกับตัวเอง (ลองไปถามวินหวีดูว่าใช่ไหม)

..เอาไปคิดต่อกันเอง

เอ้า!! เพลงมา 🎶

https://youtu.be/QHpvlr_kG6U?si=IgAQiFBNnf7MUQFz

#siamstr



nostr:nevent1qqszjs0xywmly7exrekuqe5g33ecs25df90smlac4r9xcnw7djuyakqpramhxue69uhkummnw3ez6vpn9ejx7unpveskxar0wfujummjvuhsygp97fae8jpw3u87fqwdgs6w8v0fjp0jtdzd8nshkcx4eaed238j5cpsgqqqqqqsyna9hx 
 Hey, the link you shared contains tracking tokens.
Here is a link without tracking tokens:
https://youtu.be/QHpvlr_kG6U
Zap this bot to keep it alive and report bugs on Github 
 เรื่องราวในชีวิตส่วนใหญ่ของผม ถ้าให้คิดย้อนกลับไปหลายๆสิ่ง หลายๆอย่าง มันเป็นการตัดสินใจที่พลาด การตัดสินใจช่วงรอยต่อระหว่างชีวิตคือไม่ค่อยดีเท่าไหร่ ส่วนหนึ่งน่าจะมาจากการที่ผมไม่รู้ตัวตนตัวเองจริงๆ ว่าชอบอะไร ไม่ได้ไปลองหาอะไรที่แปลกๆใหม่ๆทำเพราะความกลัว ทำให้ไม่ได้ลองค้นหาตัวเองว่าที่จริงแล้ว เราอยากทำอะไร จนถึงทุกวันนี้ก็ยังเคว้งอยู่ แต่พยายามจะเปิดรับโอกาสใหม่ๆที่เข้ามาเสมอ ผมเลยอยากให้บทเรียนของการที่ ผมหาตัวตนไม่เจอนี้ มาเป็นอีกหนึ่งกระบอกเสียงว่า ถ้าตัวคุณรู้สึกอยากทำอะไร คุณก็ลงมือทำมันไปเลย ไม่ต้องกลัว มันดีกว่าคุณกลับมาคิดแล้วเสียดายโอกาสที่ไม่ได้ทำมัน ถ้าคุณลองแล้วมันใช่ คุณก็จะได้รู้แล้วว่าคุณชอบอะไร แต่ถ้ามันไม่ใช่อย่างน้อย คุณก็รู้ว่าสิ่งนี้ไม่เหมาะกับเรา เราก็ไม่ควรไปเสียเวลาที่ต้องทนทำอะไรแบบนั้นต่อ มันก็จะช่วยประหยัดเวลาในชีวิตไปเยอะ ถ้าถามว่าระบบปัจจุบันมีส่วนที่ทำให้ผมเป็นแบบนี้ไหม มันก็มีแหละ แต่จะให้ไปโทษมัน สำหรับผมเอง ผมคิดว่ามันไม่ค่อยถูกต้องสักเท่าไหร่ ถ้าจะให้โทษใครสักคน ผมก็จะโทษตัวผมเองเนี้ยแหละ เพราะผมถือว่าระบบ มันไม่ได้มีอิทธิพลพอที่จะตัดสินใจแทนผมได้ ถ้าใจของผมนั้น มันไม่อ่อนแอไปซะเอง ( ผมคงตอบพี่ได้เต็มปากว่า ผมไม่เข้าใจบทความของพี่เลย 55555 หยอกๆ อันนี้ผมเขียนไว้สักพักล่ะ บังเอิญมาเจออะไรที่คล้ายๆสิ่งที่พี่อย่างสื่อ เลยเอามาใช้เป็นคำตอบ แทน คำว่า ผมเข้าใจความหมายที่พี่จะสื่อครับ สุดท้ายนี้ต้องขอ ขอบพระคุณที่รับคำท้าครับ แม้บทความอาจจะไม่ได้ตรงใจ แต่ก็มีคุณค่าและมีความหมายไปอีกแบบครับ ขอบคุณครับ ) 
 เพราะสุดท้าย บทเรียนของพี่ มันเกิดจากบริบทของพี่มันมีความแตกต่างในรายละเอียดอยู่แล้ว และมันเยอะมีคถณค่าทุกเรื่อง จนไม่รู้จะหยิบจับอะไรมาเล่าดี มันให้คนอื่นเรียนรู้ได้จริง แต่มันจะดีกว่าถ้าเรารู้ How to learn นัยยะของโน๊ตนี้ พี่ไม่อยากให้พ้อยไปที่ example แต่เป็น Mind set เพราะชุดความคิดเดียวหากเจ้าของความคิดรู้จักพลิกแพลงไปปรับใช้ มันจะไม่สำคัญแล้วว่าใช้กับเรื่องอะไร ขอแค่เราใช้ให้เป็น

นายจะเข้าใจมากขึ้นเมื่อได้ดูคลิปสั้นๆ นี้..

https://www.facebook.com/share/r/HH8EM8zhrjbZz7tz/?mibextid=0VwfS7 
 ทีนี้นายจะรู้แล้วว่า ทำยังไงให้รู้ว่าตัวเองขอบหรือเก่งอะไร เพราะพี่ก้อทำแบบนั้นมาทั้งชีวิต 
 ขอบคุณมากครับพี่ หลังจากที่ผมพยายามหยุดทุกอย่างเพื่อมาคิดตลอดระยะเวลาเกือบๆ 2 ปี ว่าชีวิตผมนั้นต้องการอะไรกันแน่ ผมก็พอจะเห็นทางที่จะไปละครับ เป้าหมายผมมีไว้ชัดเจนพอ แต่ต้องหารอยต่อให้เชื่อมไปถึงตรงนั้นครับ 
 เสริมให้อีกนิด เป้าหมายจริงมันจะชัดเจนเมื่อมันถูกปรับแต่งไปเรื่อยๆ จากการตระหนักรู้ การเรียนรู้ที่เกิดขึ้นระหว่างทางที่เดินไปสู่เป้าหมายแรก ข้อผิดพลาดของหลายๆ คนคือความสามารถในการยืดหยุ่นและปรับตัวเป็น 0 ไม่จำเป็นต้อง Fix idea เราจะรู้ว่าอะไรดีที่สุดก็ต่อเมื่อมันผ่านการกล่อมเกลามามากพอแล้วนู่นแหละ 
 ถ้าเป็นเป้าหมายปกติพี่พูดถูกครับ เพราะก่อนหน้านี้ระหว่างทางแต่ละช่วงอายุ ผมก็เปลี่ยนมันเสมอครับ แต่เป้าหมายสุดท้ายของผมอาจจะมีน้อยคนที่อยากจะทำมัน คือ การสละทิ้งทุกสิ่งทุกอย่างที่มีครับ 55555 อาจจะฟังดูบ้าบอหน่อยนะครับ  
 ไม่บ้าหรอก พี่ก็เริ่มทำแบบนั้นไปแล้ว 
 รู้สึกคุยกับพี่แล้วมันมันส์ดีย์ครับ ไม่อยากนึกภาพว่าถ้าไปเจอพี่ชิตจะขนาดไหน ขอบคุณจริงๆครับพี่ 
 How I teach my daughter.

When she wanted to trade her midterm grades for a toy, I saw an opportunity to teach her about the true value of POW and continuous improvement. 

Instead of focusing on achieving perfection, I emphasized the importance of learning from past mistakes, growth, and earning rewards through dedication and effort. 

It's a lesson about building character and understanding that true value comes from within, not from material possessions.

https://image.nostr.build/b8c0129023004ddfd900854763d6c65dc12014106abffc36e8e67daf7cc5dfa5.jpg

Learn from your errors and evolve.

#value4value #siamstr

nostr:nevent1qqs8rt6ul7tnrax5kwct58fftwwrn5tjv8sdfpu8k3wd5n64x97g6agprpmhxue69uhhyetvv9ujumn0w3hhx6rf9emkjm30qgsdsv8w0d7rpgmykyjykau6lw60z4nn8laceper2zrwy6ctfesu6csrqsqqqqqplfjw8a