Oddbean new post about | logout

Notes by 4abce21a | export

 ตอนไปเที่ยวภูเก็ต ขากลับ เจอร้านนี้ ชื่อร้าน meat point แอบเสียดายที่ไม่ได้แวะแฮะ 
#siamstr https://image.nostr.build/73d41f03871af7bb163b3eda97f5286012c34af1a64610861afedaa5733e461c.jpg  
 จั่วการ์ด2ใบ 
 GM #siamstr  ในที่สุดก็ลงคลิป ฟังเทนโดตอนเช้าชิลๆ
80% โลกมันกลมสังคมมันเฟียต
10% มาสค์ไรเดอร์ไฟซ์
10% พี่ชิต https://image.nostr.build/52a176fc075f0c61c149b5aec256407aad376b13261fe4468ca8ed55ade9986c.jpg  
 ฟ้าผ่าสัปดาห์สอบ 5555555 เอาไงดี nostr:note19y83ekmy4ywwgmurm6q7xkxyxdxpxejvr3qls33u50mcwtsktu7svl3m32 
 ประชาชน : ควอนตัมคอมพิวเตอร์มันจะมาแฮ็คบิตคอยน์ ชิบหายละ
รัฐบาลที่แฮ็คเงินเราทุกปี : 💆🏻‍♂️🍷💸
#nostr #siamstr 
 1.ทำไมคุณถึงอยากมางานนี้
-มันเริ่มตั้งแต่ตอนที่ผมอยู่ม3 เด็กน้อยอยากหางานพาร์ทไทม์ทำแต่กลับไปเจอเว็บแจกบิตคอยน์ฟรี ตอนนั้นผมไม่รู้ว่าคืออะไรแต่ก็กดไปเรื่อยๆ  เนื่องจากผมยังอายุไม่18ผมทำธุรกรรมอะไรไม่ได้(เพราะตอนนั้นวอลเลตที่ผมรู้จักต้องเวอรีฟายอายุ18) เลยกดๆไปก่อนจนจบม.6ผมก็ได้ถอนบิตคอยน์ออกมาทั้งหมดและเริ่มศึกษาจริงๆจังๆช่วงนั้นเพราะผมซิ่วอยู่ที่บ้านยังไม่ไปเรียนมหาลัย หลังผ่านไป2ปีผมได้มีโอกาสเรียนวิชาเทอโมไดนามิกในมหาลัยที่จะพูดถังพลังงานในโลกของเรา และมีกฎหนึ่งข้อของเทอโมที่กล่าวว่าพลังงานไม่หายไปไหนมันแค่เปลี่ยนรูป(ไปเป็นอย่างอื่น) ทำให้ผมเข้าใจแนวคิดนึงชัดขึ้นที่ว่าบิตคอยน์เป็นตัวแทนในการเก็บน้ำพักน้ำแรงของเราที่เราไปทำงานมา เป็นที่เก็บพลังงาน จริงๆ  คงเป็นโอกาสดีที่จะได้ไปเจอคนในคอมมู ไปฟังคนด่าเฟียต ไปฟังวิธีคิดของแต่ละคนในงานเอามาปรับใช้ในชีวิต

2.คุณอยากมาเจอใครในงานนี้
-อยากเจอพี่ชิต อยากไปฟังพี่ชิตด่าเฟียต สนุกและเปิดโลก
-อยากฟังพี่จิงโจและเทนโด้พูดเรื่องยาแดง
-อยากฟังคุณthairatelพูดเรื่องเงิน
-อยากฟังอาจารย์พิริยะพูด เรื่องยากๆด้วยน้ำเสียงที่เป็นเอกลักษณ์ของอาจารย์

3.คุณอยากฟังเนื้อหาแบบไหนในงานนี้
-ชอบเนื้อหาย่อยยากๆแต่ก็ชอบอะไรที่ฟังเพลินๆ เช่นด่าเฟียต
-ชอบเนื้อหาแบบในหนังสือ money layer,btc invention,btc standard
-อัปเดตสถานการณ์ในโลกของบิตคอยน์(no shitcoin)
-ฟังทุกคนแลกเปลี่ยนเรื่องราวชีวิตความเป็นมาในการมารู้จักบิตคอยน์

4คุณอยากได้อะไรกลับไปหลังจากจบงานนี้
-แค่ได้พบเจอทุกคนก็ดีแล้ว มาฟัง มาแลกเปลี่ยนและสร้างประสบการณ์ด้วยกัน

#TBC2024 #ThailandBitcoinConference nostr:note1hkrgw27u2rjpp8wm84gx48fxzf65f5uf9q0k6m9p8wnrf2napj0sevkdjy 
 รักษาผู้ป่วย เพิ่มผู้ป่วย รักษาผู้ป่วย เพิ่มผู้ป่วย รักษาผู้ป่วย เพิ่มผู้ป่วย รักษาผู้ป่วย เพิ่มผู้ป่วย รักษาผู้ป่วย เพิ่มผู้ป่วย ♾️ infinity war 
 ฝากเงินกับเราสิ เปิดบัญชีออมทรัพย์ ฝากเป็นเงินต่างประเทศ ได้ดอกเบี้ย5%ต่อปีเลยนะ แต่ว่าๆๆๆถ้าคุณฝากเกินจำนวน x,xxx เราจะให้ดอกเบี้ยน้อยลงนะะ เหลือ4% เหลือ0.5% 
WTF is thi shi จริงๆผมถกเถียงกับเพื่อนเรื่องนี้ไปแล้ว เพราะเพื่อนสนใจมากๆ แต่ผมอยากมาขอความเห็นชาว #siamstr ว่าคิดยังไงกับเรื่องนี้ มันคือการหลอกเอาเงินคนแน่ๆชัวร์ๆรึป่าว บัญชีออมทรัพย์ที่ว่าจะโดนคิดภาษีด้วยรึป่าว สรุปมันต้องหักลบอะไรบ้าง ลบ%ที่ธนาคารเอาไป ลบ%เพราะมันเฟียตมันเสื่อมค่า ลบ%เพราะเป็นบัญชีออมทรัพย์ แล้วมีอะไรอีกมั้ยครับที่ต้องคิดเพิ่ม มาพูดคุยกันครับ ยินดีรับฟังมากๆครับ 

#nostr 
 จริงครับ 😢 
 Stay humble and stack sats 
 R E A L  S A D คับ
Pov:ผมที่ยังเก็บไม่ถึงไหน 😨 
 พระราม 2 ไปยังไงถ้าไม่เอารถไป nostr:note150e0... 
 มีรถเมล์ครับ ขึ้นที่จุฬา 75หรือ21 ไปลงตลาดบางปะกอก ข้ามไปอีกฝั่งฝั่งที่ไม่ใช่ตลาด นั่ง 142หรือ141หรือ140ไปลงบิ๊กซีพระราม2แล้วข้ามถนนไปเซ็นพระราม2 ได้ครับ 
 Bitcoin = bull run
Crypto = bullshit
#nostr #siamstr #zap 
 GM อีกรอบครับ ถึงแล้วครับ 3ชม.สนุกดี แต่ต้องรีบไปทำงานต่อ so อีก3ชมขากลับ 
Time:3hr
Distance:30km
Mission:มาถึงก่อนพระอาทิตย์ขึ้น failed ❌
Mission:มาให้ถึงจุดชมวิวบางขุนเทียน completed ✅

#siamstr https://image.nostr.build/f892d4ad48357a47bf5c5b3240982c491038b21837be535eaaeff1a073e35ab2.jpg  
 ที่มหาลัยพระจอมเกล้าธนบุรีบางมดจนถึงจุดชมวิวบางขุนเทียนครับ ตอนแรกกะชิลๆปั่นไหว แต่ลืมคิดถึงขากลับ5555555 
 ฟังพอดแคส right shift ใน spotify จบไป3อีพีพอดี ตอนนี้จำได้แต่เรื่องเห็ด 
 GM วันนี้ไม่มีเรียน ออกมาปั่นจักรยาน บางมด -> จุดชมวิวบางขุนเทียน 
แวะเอาภาพแสงแรกของวันมาฝาก มาได้ครึ่งทางละ อีก15กิโล
#siamstr https://image.nostr.build/998d51fbad563d0d130d6afd76a6b3ba6c8f02909ef781e2c8c0dfd6a2aa4a90.jpg https://image.nostr.build/4c7ea1883b8e4ba05dc54b5cc906e8603a7ba6e25f2bafb6e83493412c3a5858.jpg https://image.nostr.build/c74894a7225c2a7c291c8bfe1cf16988b942cfdea2e521e8a53e0573bfddc0c3.jpg  
 แอบดี เด้งสู้ลิ้นมากของแม็กโครล็อตนี้
#siamstr https://image.nostr.build/8e8c4181b0dc6dc04fa0668b79bad6ec93147590f903c44695690201ab2c4fb8.jpg  
 เจอ @Tendou ทีไรมีเรื่องให้ถกกันทุกทีเลยอะดิ 
#siamstr #nostr https://image.nostr.build/c46e30c41824f2cc65ae770004e1a6c5aca822bdfb89863e46dd513464ee967b.jpg  
 แชร์ประสบการณ์ เรียกว่า “โซเชียลดีท็อก” ได้มั้ยไม่รู้ 
โทรศัพท์ผมพัง จอเขียวปี๋ ทำให้ผมไม่มีโทรศัพท์ใช้นานถึง4เดือน แต่ผมยังมีไอแพด ปกติผมก็พยายามไม่ค่อยเข้าโซเชียลอยู่แล้ว จะเข้าเป็นเวลาๆล็อคเวลาไว้  ไอแพดใช้เน้นทำงาน เรียน ตัดงาน และเข้าโซเชียลตามเวลาที่ลงไว้ว่าจะเข้า
หลังจากไม่มีโทรศัพท์ผมมองเห็นอะไรได้มากขึ้นรับรู้สิ่งต่างๆรอบตัวได้มากขึ้น ใช้ชีวิตได้โปรดักทีฟและมีคุณค่ามากขึ้น ไม่ได้มีโทรศัพท์ให้หยิบมาเปิดดูตอนขึ้นรถเมล์ ตอนขึ้นบีทีเอส ตอนเดินอยู่ในเมือง ได้เห็นคนใช้ชีวิต เห็นซอกหลืบสวยๆในกทม.ที่ถ้าปกติเล่นโทรศัพท์เดินผ่านทางนี้จะไม่เห็น ตอนกลับบ้านต่างจังหวัดที่ต้องนั่งรถนานๆก็ได้มองเห็นธรรมชาติตามข้างทางแทนการมองจอ ได้ใช้เวลากับคนรักมากขึ้นแทนการเล่นโทรศัพท์ ทั้งกับที่บ้านและกับแฟน 
โลกและชีวิตมันสวยงามจริงๆ
การที่ผมไม่มีโทรศัพท์ใช้นานขนาดนี้ ทำให้ผมได้นิสัยใหม่(ที่พึ่งมีจริงๆเพราะเหตุการณ์นี้)คือ เวลาเดินทาง ผมแทบไม่แตะโทรศัพท์ ถ้าไม่หยิบมาจ่ายตังหรือเปิดแผนที่ ใช้เสร็จก็เก็บ เผลอๆหยิบ bitcoin standard ออกมาอ่านเล่น นั่นไง!  และผมยังรู้สึกตัวเองมีสมาธิขึ้นมากๆจัดลำดับความคิดได้ดีขึ้นเยอะเลย
อยากเชิญชวนให้ทุกคนลองทำ long term social detox ดู โคตรดี ของแท้ ของดี เนื้อแท้ เนื้อดี เนื้อสายฟ้า ไม่ใช่! นั่นแหละครับ ลองนะครับ ดีจริง


#nostr #siamstr #thai #thailand #bangkok 
 I appreciate it. I will try it. 
 ปีนี้เรามีโมเดลธุรกิจใหม่ ที่หวัง... 
 แนวคิดดีครับ ทำต่อไป สู้ๆครับผม🧡 
 GM #siamstr #nostr #thailand วันนี้ผมออกมาวิ่งตอนเช้า จากที่มอมาสวนลอยฟ้าเจ้าพระยา อากาศดีมาก เอาภาพพระอาทิตย์ขึ้นมาฝากกัน https://video.nostr.build/c20f9f8553a5a18211413ba181e1d74728a2d03b7afaa195467e915368b43214.mp4  
 มาวิ่งชิลๆด้วยกันได้นะครับพี่🏃🏻 
 ขอบคุณค้าบบ 
 🔆💪🏻🧡💜 
 GN #siamstr 
ช่วงนี้ผมเปิดเทอมมีโปรเจคท์เยอะมาก เหนื่อยจังเลยแฮะ ใครที่รอบทความรอก่อนนะครับขอทำเจคก่อน เปิดเทอมมาวีคแรก3เจคแล้ว โหดมาก 
 //หลังจากดูสภายาส้มเรื่อง “ไม่ถึงแสนเป็นแฟนไม่ได้”
ผม:เชร็คไม่มีให้หรอก1แสนบาทต่อเดือน มีแต่1แสนsatsจะเอามั้ย
แฟน:1แสนsatsเท่ากับกี่บาท 

OMG!!! ได้เวลาจัดการ!!!

(ขำๆนะครับ *อันนี้เผื่อแฟนมาเห็น)

#Siamstr 
 วันนี้ขอเล่าเรื่องตลก เกิดขึ้นตะกี้เลย
📞:ติดต่อมาจากสน.สุรินทร์~
ผม:จังหวัดไหนครับ
📞:สุรินทร์~ (เสียงเหน่อ)
ผม:ร้องเพลงชาติไทยให้ฟังหน่อยครับ
📞:ร้องไม่ได้ค่ะเพราะว่าเป็นคนพม่า “ไอเห*บอกให้ร้องเพลงชาติเฉยเลย(ชีคุยกับเพื่อน)
ผม:ครับ
 📞:ถ้าอยากให้ร้องให้ฟังต้องมาที่สน.
 📞:หรือติดต่อที่จังหวัด….. ที่คุณอยู่ก็ได้ค่ะ
📞:อะไรวะโทรมาบอกมาจากสน.ดันมาให้ร้องเพลงชาติไทย บ้ารึป่าว(คุยกับเพื่อน)

….ตู้ดๆๆ….
 
ตอนพิมพ์โน๊ตแรกๆตลก
ตอนนี้งงว่าข้อมูลพวกนี้หลุดได้ยังไง

#siamstr 
 แย่เลยแบบนี้ 🤕 ละรู้บ้านน่าจะรู้เยอะเลยแหละ 
 กำลังสอบอยู่เหมือนกันครับ แต่คนละกองทุน เหนื่อยทำRRมาก โดยส่วนตัวแต่เดิมชอบเทรดซิ่ง มาเจอเงื่อนไขกองทุน แทบจะรีเซ็ตสมองเลย 😵‍💫 
 จะพยายามครับ 🫡 
 กำลังสอบอยู่เหมือนกันครับ แต่คนละกองทุน เหนื่อยทำRRมาก โดยส่วนตัวแต่เดิมชอบเทรดซิ่ง มาเจอเงื่อนไขกองทุน แทบจะรีเซ็ตสมองเลย 😵‍💫 
 ออกกำลังกายกันครับทุกคน 
วันนี้วันที่ 19 แล้วที่ผมทำชาเลนจ์ในต๊อกต๊อก วิดพื้นตามจำนวนคนฟอล 
(สปอยล์ว่าหลังจากทำครบ 30 วัน จะทำโน๊ตเกี่ยวกับการทำสิ่งนี้ สิ่งที่ได้เรียนรู้ สิ่งที่ตัวผมตกตะกรอน) 
#siamstr https://video.nostr.build/373211749899d30ad9e6d3e2eb68a7b275846bf0465f2e21e1a039e21da5204f.mp4  
 ชาว #siamstr คิดเห็นยังไงกันบ้างครับ
ส่วนตัวผมไม่ค่อยชอบเท่าไหร่ อาจจะจริงที่จะดันราคาได้ แต่มันก็คือ ก อ ง ทุ น อยู่ดี https://image.nostr.build/7fa06ed684d06b69a3748ee7ca8692949c8437820c786b47a614a220250b656c.jpg  
 อ้าว สรุปอันยาวๆอันนี้โพสต์ได้ งง แต่ทำไมไม่ขึ้นที่โปรไฟล์ ผู้รู้ช่วยผมด้วยผมงง
#siamstr nostr:note1zhymuff20df03vnx9yp8w4rsgdmfk9fdamy5tnfqj0qcfw4xp73srdklw8 
 ขอบคุณครับผม 
 คือผมกดลงยาวๆรวดเดียวพร้อมกันไม่ได้อะ55555 แบ่งลงเป็นท็อปปิคไปก่อนละกัน
ว่าแต่มีใครพอมีวิธีให้ลงยาวๆรวดเดียวได้มั้ยหรือเขามีจำกัดจำนวนคำอยู่แล้วครับ ผมไม่เห็น
#siamstr 
 สวัสดีทุกคนอีกครั้ง วันนี้จะเอามุมมองของอาจารย์มาเล่าอีกเช่นเคย 
คือผมเรียนยานยนต์เนาะ หลายคนยังไม่ทราบ แต่ว่าๆๆผมยังเรียนไม่จบเน้อ 

4.รถไฟฟ้าเสียพลังงานทิ้งมากกว่าที่คิด
โอเคหลังจากเล่าที่อาจารย์สอนในห้องไปแล้วได้เวลากลับมาที่การทดลองในห้องเรียน
สูตรหลักที่ใช้คือสูตรหาค่าประสิทธิภาพ คือ ค่าพลังงานที่เราใช้ได้ ส่วนด้วย ค่าพลังานที่ใส่มา(พลังงานที่มี) เลขออกมาเท่าไหร่ถ้าเราคูณ 100 มันจะได้ว่าเราเอาพลังงานที่มีมาใช้ได้จริงๆกี่เปอร์เซ็นต์ พอเราทำการทดลองปุ๊บๆปั๊บๆพวกผมได้ออกมาว่ารถไฟฟ้าที่นำมาทดลองเอาพลังงานไปใช้ได้จริงๆแค่ 19.02% โอ้วชิท โคตรน้อย เสียพลังงานฟรี 80% แต่ว่าๆๆๆๆค่าที่ได้คือค่าจากการที่มีปัจจัยและเครื่องทดสอบที่ diy กันขึ้นมา มันไม่ได้มีประสิทธิภาพขนาดนั้น ไดโน่ที่เอามาวัด มันเสียแรงทิ้งเยอะอยู่เหมือนกัน ค่าที่ควรจะเกิดขึ้นจะอยู่ที่ 70%-80% แต่ว่าๆๆๆๆ เราอาจจะคิดว่าเออ 20% ที่เสียไปมันก็พอจะคุ้มค่า ทะว่ามันไม่ได้เสียแค่ 20% เพราะกว่าจะมาถึงรถไฟฟ้าของเราเนี่ย มันหลายกระบวนการหลายขั้นตอนมากกกก ต้องย้อนกลับไปตั้งแต่ผลิตไฟฟ้า ส่งเข้าสายไฟ สายไฟจุกระแสมากๆแรงดันมากๆเกิดความร้อน พลังงานก็ระเหยไปตามความร้อน จากกฎเทอโมที่เคยบอกไป พลังงานมันไม่หายไปไหนมันแค่เปลี่ยนรูป จากพลังงานไฟฟ้าเป็นความร้อน และความร้อนก็ระเหยทิ้ง กว่าจะมาถึงต้องไปผ่านกระบวนการนั่นนี่เยอะแยะมากมายจนมาถึงรถไฟฟ้าตอนที่เราชาร์จ แล้วเราก็ต้องเสียเพิ่มอีก20%จากการนำมาใช้จริงบนรถ เพราะฉนั้นพลังงานที่เราเสียไปจริงๆตั้งแต่ต้นสายโรงงานผลิตไฟฟ้ามันน่าจะเยอะมากกว่า 20% 


#nostr #siamstr #zap 
 สวัสดีทุกคนอีกครั้ง วันนี้จะเอามุมมองของอาจารย์มาเล่าอีกเช่นเคย 
คือผมเรียนยานยนต์เนาะ หลายคนยังไม่ทราบ แต่ว่าๆๆผมยังเรียนไม่จบเน้อ 

3.ความต่างของรถไฟฟ้า(EVs Car)และรถสันดาปน้ำมันที่เด่นๆ
ต่อมาจะพูดเรื่องความต่างเด่นๆของรถไฟฟ้าและรถสันดาปที่ใช้น้ำมัน
รถไฟฟ้าไม่เสียพลังงานในรูปของความร้อน(แต่เสียพลังงานในการส่งผ่านไฟฟ้ากว่าจะมาถึงรถ) รถสันดาปก็ตรงข้ามเลย
รถไฟฟ้าไม่ปล่อยมลพิษ(ในแง่ของผลลัพ ที่มาพลังงานว่ากันอีกที) รถสันดาปก็ตรงข้ามเลย มีมลพิษ
รถไฟฟ้าเงียบกว่ารถสันดาป
รถไฟฟ้ากำลังรอบต้นสูงกว่าเยอะมากกกกกกกกกก(มีรูปประกอบ ที่เป็นกราฟ) และประหยัดพลังงานมากกว่าในรถไฮบริด(ข้อนี้เดี๋ยวถกอีกที)
จากรูปทุกคนจะเห็นว่ารถไฟฟ้ามีกำลังมากกว่ามากในรอบต้นและจะค่อยๆลดลงในรอบปลาย ส่วนรถสันดาปจะค่อยๆสูงขึ้นแล้วก็ต่ำลงอีกที การที่รอบปลายต่ำลงคือเขาออกแบบเครื่องยนต์มาให้มันแต่รักษาความเร็วปลาย กำลังเลยไม่ต้องสูงมากและเพื่อความปลอดภัยของเครื่องยนต์ไม่ให้ระเบิดก่อน(คนที่ขับรถจะเห็นสีแดงๆตรงเกจวัดรอบ คือถ้าเกินนั้นมันระเบิด มันพัง ) ต่อมามาถกกันเรื่องรถไฟฟ้าไฮบริดมันประหยัดพลังงานมากกว่าในแง่ของกำลังและรอบปลาย คืองี้ ด้วยความที่รอบต้นมันสูงอยู่แล้ว(บางคนมีรถไฟฟ้าจะรู้สึกว่าเหยียบลงไปนิดเดียวมันดึงแล้ว อันนั้นคือปกติของรถไฟฟ้าเพราะว่ากำลังมันสูงตั้งแต่รอบต้น) พอรอบมันสูงทำให้รถไปถึงความไวที่ต้องการไว พอถึงรอบปลายมันก็จะตกเหมือนรถสันดาป รถไฮบริดโดยทั่วไปเราจะเริ่มใช้ไฟฟ้าก่อนแล้วค่อยใช้น้ำมันเพื่อให้ได้รอบสูงไวๆเพราะกำลังมอเตอร์สูงกว่าและจะปรับมาใช้น้ำมันในรอบปลาย คือรอบต้นที่ใช้ไฟฟ้ามันกินพลังงานนิดเดียวก็ได้ความเร็วที่ต้องการละ ผิดกับรถน้ำมันที่ต้องเผามากขึ้นเรื่อยๆถึงจะได้กำลังที่มากพอที่จะได้รอบที่สูงขึ้น 
ตรงนี้มีข้อสังเกต:แบรนด์รถไฟฟ้าจะออกมาบอกว่า1-100ได้กี่วิจริงๆคือมันก็เร่งได้เท่าๆกัน วัดกันแค่ที่ระดับเสี้ยววินาที ซึ่งไม่รู้สึกต่าง และคนเราก็ไม่ได้จะเอารถไปใช้แข่งกันทุกวัน แต่ละแบรนด์ 3-4วิคือเบสิคของรถไฟฟ้า มันเป็นแค่การตลาด แต่เราจะว้าวแหละเพราะมันดูสุดยอดมากเมื่อเทียบกับรถน้ำมัน แต่ก่อนผมก็ว้าวเหมือนกัน


#nostr #siamstr #zap https://image.nostr.build/7e7756aadf551988d0a9ff4ec606f089f1ee91196d4f533890cc9ffbf7549433.jpg  
 สวัสดีทุกคนอีกครั้ง วันนี้จะเอามุมมองของอาจารย์มาเล่าอีกเช่นเคย 
คือผมเรียนยานยนต์เนาะ หลายคนยังไม่ทราบ แต่ว่าๆๆผมยังเรียนไม่จบเน้อ 

2.เห้ย รถไฟฟ้า(EVs Car)มันมีมาก่อนเราเกิดอีก
ต่อมาเป็นอาจารย์ที่ทำเรื่องแบตเตอรี่รถยนต์ เราจะมีบทนึงที่ได้เรียนเรื่องการส่งกำลังของแบตเตอรี่ พวกผมที่เป็นผู้เรียนจะได้ทำการทดลองว่าแบตเท่านี้ จ่ายไฟเท่านี้ ได้ทอร์คได้กำลังได้รอบเท่าไหร่ แล้วกระแส ความดันไฟฟ้า ในแบตเตอรี่ลดลงมั้ย (มันเป็นอะไรที่โคตรยากเพราะห้องแล็บนั้นมันเป็นแบบ diy เราไม่ได้มีไดโน่มาวัดความเร็วรถ หรือวัดทอร์ค สิ่งที่ทำก็คือเราจะใช้แรงเบรกของเบรกมาคิดเป็นทอร์คอีกที)(ไดโน่คือไอเครื่องที่มันจะให้เราเอารถไปไว้ด้านบนแล้วเร่งสุดๆ จะมีความเร็วออกมาให้เลย แบบพวกร้านแต่งรถที่โมรถให้เร็วขึ้น หรือพวกที่เขามีแข่งที่ต้องเทสรถไรงี้ ซึ่งของพวกผมมันมีตัวแปรภายนอกเยอะมากทำให้ไม่ได้ค่าจริง %error สูงอยู่นะหลังการทดลอง)
แต่ทำไมเราต้องทดลองแล้วมันเกี่ยวอะไรกับรถอีวี ก่อนอื่นเลยรถที่นำมาทดสอบเป็นรถอีวี แต่ผมจะบอกตอนท้ายว่าการทดลองเนี่ยได้อะไร ขอเล่าที่จารสอนก่อน
เปิดมาด้วยประวัติของรถอีวี ผมจะเล่าแบบรวบรัดนิดนึง
คศ.1828 นักประดิษฐ์ชาวฮังการีคิดค้นมอเตอร์ไฟฟ้า และสร้างโมเดลรถขนาดเล็กเพื่อเทสมอเตอร์
คศ.1834 ทีมของ Sibrandus Stratingh สร้างรถที่ใช้แบตเตอรี่แต่ยังชาร์จไม่ได้
คศ.1859 มีการคิดค้นแบตเตอรี่ตะกั่ว-กรด แบตที่ชาร์จซ้ำได้อันแรก
คศ.1880 Gustave Trouve  คิดค้นรถไฟฟ้าที่ใช้มอเตอร์ขนาดเล็ก และชาร์จซ้ำได้
คศ.1884 Thomas Parker สร้างรถยนต์ไฟฟ้าแบบสี่ล้อคันแรกในอังกฤษ
คศ.1888 Andreas Flocken ออกแบบรถไฟฟ้าชื่อ Flocken Elektrowagen
*แต่ถึงอย่างนั้นรถไฟฟ้าก็ไม่เป็นที่นิยมเพราะแต่ก่อนวิ่งได้แค่4-8กิโลเมตรต่อชั่วโมง และวิ่งได้ไม่ไกล
คศ.1915-1935 มีการค้นพบบ่อน้ำมันปิโตรเลียมทั่วโลก ช่วงเวลาเดียวกันที่ Hery Ford ผลิตรถยนต์ Ford Model T ออกมาปริมาณมาก ยุคแรกเริ่มของรถยนต์สันดาปแบบฮอตฮิต
*รถน้ำมันบูมมากเพราะมีการตัดถนนระหว่างเมืองที่มีเส้นทางยาวและไกล รถไฟฟ้าวิ่งไกลไม่ได้ แต่รถน้ำมันวิ่งได้แน่นอน เลยบูม
คศ.1970-1980 สหรัฐออกกฎหมายจูงใจ ชื่อ " Public Law 94-413 " หรืออีกชื่อ " Electric And Hybrid Vehicle Research ,Development And Demonstration Act " ให้มีการทำตลาดรถไฟฟ้าอีกครั้งหลังจากหายไปนาน เพราะว่าองค์กรส่งออกน้ำมันแห่งชาติอาหรับ(ไม่ใช่่โอเปก)ผูกขาดน้ำมัน so น้ำมันแพงนั่นแหละ เลยอยากหาทางเลิกใช้ 
*อะหรือว่ารถไฟฟ้าเป็นแค่แนวคิดที่เอามาต่อต้านชาติอาหรับ เพื่อความแข็งแแกร่งของสหรัฐที่มากขึ้นเพื่อพยุงเงินและอำนาจของตัวเอง เลยเอาเรื่องลดโลกร้อนมาเล่น แบบที่ผมบอกในโน๊ตเทอโมไดนามิกที่เล่าไปก่อนหน้านี้ว่าโลกร้อนมันไม่มีจริงตั้งแต่แรกเพราะมันจะร้อนอยู่แล้ว
คศ.1990-2008 General Motors ทดสอบรถไฟฟ้า Electrovette ที่ใช้แบตเตอรี่นิเกิลเมทัลไฮไดรด์แบบชาร์จซ้ำได้ และได้ทำการวางจำหน่ายปีต่อๆมาแต่สุดท้ายล้มละลายเพราะขายไม่ดี แต่ก็มีเทคโนโลยีเด็ดๆเยอะเหมือนกันจนหลายๆแบรนด์เอามาเป็นต้นแบบจนถึงปัจจุบัน เช่น HVAC heat pump ,สตาร์ทรถแบบไม่ใช้กุญแจ ,การขับเคลื่อนด้วยสายและการเบรกด้วยสาย(มันคือสายน้ำมันไฮโดรลิกนั่นเอง) และเทคโนโลยีสุดท้ายคือพวงมาลัยไฟฟ้าไฮโดรลิก
คศ.1995-1997 Toyota มีทีมพัฒนาชื่อว่า toyota prius concept พัฒนารถไฮบริด จนได้ปล่อยจำหน่าย (เครื่องยนต์แบบ Atkinson-Cycle ช่วยให้เผาไหม้สมบูรณ์ + กำลังรอบต้นของมอเตอร์ไฟฟ้า เกียร์ออโต้) ส่วนตัวพรีอุสปี2003ใช้แบตเตอรี่นิเกิลเมทัลไฮไดรด์    ชาร์จซ้ำได้ทั้งสองรุ่นเน้อ
คศ.2011 ทั่วโลกมีกฎหมายสนับสนุนรถไฟฟ้าเป็นของตัวเองในแต่ละประเทศ

#nostr #siamstr #zap 
 สวัสดีทุกคนอีกครั้ง วันนี้จะเอามุมมองของอาจารย์มาเล่าอีกเช่นเคย 
คือผมเรียนยานยนต์เนาะ หลายคนยังไม่ทราบ แต่ว่าๆๆผมยังเรียนไม่จบเน้อ 

1.รถไฟฟ้า(EVs Car)กินส่วนแบ่งตลาดรถยนต์ได้กี่เปอร์เซ็นต์
คือผมรู้จักกับอาจารย์สองท่านในคณะเนี่ยแหละ คนนึงคือบ้าเครื่องยนต์มากชอบออกแบบเครื่องยนต์ชอบดูกลไกการทำงานเครื่องยนต์ ล่าสุดอาจารย์ได้ทำเครื่องยนต์หรือไปออกแบบดาวเทียมอะไรซักอย่าง 
ส่วนอีกคนทำโปรเจกท์เรื่องแบตเตอรี่รถไฟฟ้าและเรื่องพลังงานไฮโดรเจนอยู่
อาจารย์ท่านแรกตอนที่พวกเรากำลังเรียนเรื่องชิ้นส่วนต่างๆและการทำงานของเครื่องยนต์ อาจารย์ถามว่า "นักศึกษาทุกคนครับ ผมมีคำถาม ตอนนี้ทุกคนคงได้เห็นได้ดูกันมาแล้วว่ารถอีวี(รถไฟฟ้าที่ใช้แบตเตอรี่ล้วน ไม่ไฮบริด ไม่เติมน้ำมันไปปั่นไฟ มีแต่แบตเลยที่ให้พลังงาน) ว่าช่วงนี้บูมมาก เลยอยากจะถามว่าทุกคนคิดว่ารถอีวีจะสามารถกินส่วนแบ่งในตลาดรถยนต์ทั่วทั้งโลกได้กี่เปอร์เซ็นต์"
นายสุริสัก " 80 เปอร์เซ็นต์ครับ "
นางสาวปิยะทิด๊า " 50 เปอร์เซ็นต์ค่ะ "
นายสุทิวุฒระไตรเมสิขาองครฉัตรินธร " 20 ครับ "
อาจารย์ถามต่อว่า " มีใครคิดว่าน้อยกว่า 20 มั้ย "
ผมที่พึ่งอ่านข่าวเรื่องลิเธียมจะหมดโลกมา " *ยกมือ " ( ผมก็ตอบไม่ได้ว่ามันกี่เปอร์แต่คืออ่านข่าวมาแค่คร่าวๆ ของ bbc )
อาจารย์ถามว่า "ทำไมคิดแบบนั้น"
ผมก็ตอบตามตรงว่า "ผมอ่านข่าวมาเขาบอกว่าลิเธียมกำลังจะหมดโลกครับ"
อาจารย์บอกว่า "ใช่" และอธิบายต่อว่า "ถูกอย่างเพื่อนว่า ลิเธียมจะหมดโลก การคาดการณ์ของทางฝั่งเมกา เขาตีพิมพ์เป็นตัวเลขคร่าวๆว่าลิเธียมเนี่ย เมื่อเราเอามาผลิตแบตเตอรี่ทั้งหมดจนหมดโลกเราจะทำรถอีวีได้แค่ไม่ถึง 10 เปอร์เซ็นต์ของตลาดรถยนต์"
หลังจากวันนั้นมันทำให้ผมมีความคิดอะไรบางอย่างเกิดขึ้น คือ คนทั่วไปเราไม่รู้หรอกว่ามันจะกินส่วนแบ่งค์ในตลาดได้แค่ 10 เปอร์เซ็นต์ แต่คนที่เป็นคนทำขึ้นมาเขาอาจจะรู้อยู่แล้ว ทำไมเลือกที่จะไม่บอกเหมือนฟองสบู่ที่รอวันแตก ผมคิดว่าตอนนี้มันแค่เพิ่งเริ่ม ยุคของรถไฟฟ้ามันจะบูมจนคนเกือบทั้งโลกคิดแล้วว่ามาเปลี่ยนโลกแน่มาแน่ น้ำมันแกจะไปไหนก็ไปไป๊ ทำให้น้ำมันร่วงเหมือนกับที่โควิดที่คนคิด่ามันจบแล้วไม่ได้ใช้ละน้ำมัน ผมเลยมองว่าวิกฤตที่ส่งผลเสียต่อน้ำมันแบบชั่วคราวอาจเกิดขึ้นได้อีกเร็วๆนี้(ที่เกี่ยวกับอีวี)
 #nostr #siamstr #zap 
 สวัสดีทุกคนอีกครั้ง วันนี้จะเอามุมมองของอาจารย์มาเล่าอีกเช่นเคย 
คือผมเรียนยานยนต์เนาะ หลายคนยังไม่ทราบ แต่ว่าๆๆผมยังเรียนไม่จบเน้อ 
อะอันนี้ยาวมากเดี๋ยวทำ Outline ไว้ด้วยจะได้เลือกอ่านกันง่ายๆตามหัวข้อที่สนใจ
1.รถไฟฟ้า(EVs Car)กินส่วนแบ่งตลาดรถยนต์ได้กี่เปอร์เซ็นต์ และสิ่งที่ผมคิดได้
2.เห้ย! รถไฟฟ้า(EVs Car)มันมีมาก่อนเราเกิดอีก
3.ความต่างของรถไฟฟ้า(EVs Car)และรถสันดาปน้ำมันที่เด่นๆ
4.รถไฟฟ้าเสียพลังงานทิ้งมากกว่าที่คิด

1.รถไฟฟ้า(EVs Car)กินส่วนแบ่งตลาดรถยนต์ได้กี่เปอร์เซ็นต์
คือผมรู้จักกับอาจารย์สองท่านในคณะเนี่ยแหละ คนนึงคือบ้าเครื่องยนต์มากชอบออกแบบเครื่องยนต์ชอบดูกลไกการทำงานเครื่องยนต์ ล่าสุดอาจารย์ได้ทำเครื่องยนต์หรือไปออกแบบดาวเทียมอะไรซักอย่าง 
ส่วนอีกคนทำโปรเจกท์เรื่องแบตเตอรี่รถไฟฟ้าและเรื่องพลังงานไฮโดรเจนอยู่
อาจารย์ท่านแรกตอนที่พวกเรากำลังเรียนเรื่องชิ้นส่วนต่างๆและการทำงานของเครื่องยนต์ อาจารย์ถามว่า "นักศึกษาทุกคนครับ ผมมีคำถาม ตอนนี้ทุกคนคงได้เห็นได้ดูกันมาแล้วว่ารถอีวี(รถไฟฟ้าที่ใช้แบตเตอรี่ล้วน ไม่ไฮบริด ไม่เติมน้ำมันไปปั่นไฟ มีแต่แบตเลยที่ให้พลังงาน) ว่าช่วงนี้บูมมาก เลยอยากจะถามว่าทุกคนคิดว่ารถอีวีจะสามารถกินส่วนแบ่งในตลาดรถยนต์ทั่วทั้งโลกได้กี่เปอร์เซ็นต์"
นายสุริสัก " 80 เปอร์เซ็นต์ครับ "
นางสาวปิยะทิด๊า " 50 เปอร์เซ็นต์ค่ะ "
นายสุทิวุฒระไตรเมสิขาองครฉัตรินธร " 20 ครับ "
อาจารย์ถามต่อว่า " มีใครคิดว่าน้อยกว่า 20 มั้ย "
ผมที่พึ่งอ่านข่าวเรื่องลิเธียมจะหมดโลกมา " *ยกมือ " ( ผมก็ตอบไม่ได้ว่ามันกี่เปอร์แต่คืออ่านข่าวมาแค่คร่าวๆ ของ bbc )
อาจารย์ถามว่า "ทำไมคิดแบบนั้น"
ผมก็ตอบตามตรงว่า "ผมอ่านข่าวมาเขาบอกว่าลิเธียมกำลังจะหมดโลกครับ"
อาจารย์บอกว่า "ใช่" และอธิบายต่อว่า "ถูกอย่างเพื่อนว่า ลิเธียมจะหมดโลก การคาดการณ์ของทางฝั่งเมกา เขาตีพิมพ์เป็นตัวเลขคร่าวๆว่าลิเธียมเนี่ย เมื่อเราเอามาผลิตแบตเตอรี่ทั้งหมดจนหมดโลกเราจะทำรถอีวีได้แค่ไม่ถึง 10 เปอร์เซ็นต์ของตลาดรถยนต์"
หลังจากวันนั้นมันทำให้ผมมีความคิดอะไรบางอย่างเกิดขึ้น คือ คนทั่วไปเราไม่รู้หรอกว่ามันจะกินส่วนแบ่งค์ในตลาดได้แค่ 10 เปอร์เซ็นต์ แต่คนที่เป็นคนทำขึ้นมาเขาอาจจะรู้อยู่แล้ว ทำไมเลือกที่จะไม่บอกเหมือนฟองสบู่ที่รอวันแตก ผมคิดว่าตอนนี้มันแค่เพิ่งเริ่ม ยุคของรถไฟฟ้ามันจะบูมจนคนเกือบทั้งโลกคิดแล้วว่ามาเปลี่ยนโลกแน่มาแน่ น้ำมันแกจะไปไหนก็ไปไป๊ ทำให้น้ำมันร่วงเหมือนกับที่โควิดที่คนคิด่ามันจบแล้วไม่ได้ใช้ละน้ำมัน ผมเลยมองว่าวิกฤตที่ส่งผลเสียต่อน้ำมันแบบชั่วคราวอาจเกิดขึ้นได้อีกเร็วๆนี้(ที่เกี่ยวกับอีวี)

2.เห้ย รถไฟฟ้า(EVs Car)มันมีมาก่อนเราเกิดอีก
ต่อมาเป็นอาจารย์ที่ทำเรื่องแบตเตอรี่รถยนต์ เราจะมีบทนึงที่ได้เรียนเรื่องการส่งกำลังของแบตเตอรี่ พวกผมที่เป็นผู้เรียนจะได้ทำการทดลองว่าแบตเท่านี้ จ่ายไฟเท่านี้ ได้ทอร์คได้กำลังได้รอบเท่าไหร่ แล้วกระแส ความดันไฟฟ้า ในแบตเตอรี่ลดลงมั้ย (มันเป็นอะไรที่โคตรยากเพราะห้องแล็บนั้นมันเป็นแบบ diy เราไม่ได้มีไดโน่มาวัดความเร็วรถ หรือวัดทอร์ค สิ่งที่ทำก็คือเราจะใช้แรงเบรกของเบรกมาคิดเป็นทอร์คอีกที)(ไดโน่คือไอเครื่องที่มันจะให้เราเอารถไปไว้ด้านบนแล้วเร่งสุดๆ จะมีความเร็วออกมาให้เลย แบบพวกร้านแต่งรถที่โมรถให้เร็วขึ้น หรือพวกที่เขามีแข่งที่ต้องเทสรถไรงี้ ซึ่งของพวกผมมันมีตัวแปรภายนอกเยอะมากทำให้ไม่ได้ค่าจริง %error สูงอยู่นะหลังการทดลอง)
แต่ทำไมเราต้องทดลองแล้วมันเกี่ยวอะไรกับรถอีวี ก่อนอื่นเลยรถที่นำมาทดสอบเป็นรถอีวี แต่ผมจะบอกตอนท้ายว่าการทดลองเนี่ยได้อะไร ขอเล่าที่จารสอนก่อน
เปิดมาด้วยประวัติของรถอีวี ผมจะเล่าแบบรวบรัดนิดนึง
คศ.1828 นักประดิษฐ์ชาวฮังการีคิดค้นมอเตอร์ไฟฟ้า และสร้างโมเดลรถขนาดเล็กเพื่อเทสมอเตอร์
คศ.1834 ทีมของ Sibrandus Stratingh สร้างรถที่ใช้แบตเตอรี่แต่ยังชาร์จไม่ได้
คศ.1859 มีการคิดค้นแบตเตอรี่ตะกั่ว-กรด แบตที่ชาร์จซ้ำได้อันแรก
คศ.1880 Gustave Trouve  คิดค้นรถไฟฟ้าที่ใช้มอเตอร์ขนาดเล็ก และชาร์จซ้ำได้
คศ.1884 Thomas Parker สร้างรถยนต์ไฟฟ้าแบบสี่ล้อคันแรกในอังกฤษ
คศ.1888 Andreas Flocken ออกแบบรถไฟฟ้าชื่อ Flocken Elektrowagen
*แต่ถึงอย่างนั้นรถไฟฟ้าก็ไม่เป็นที่นิยมเพราะแต่ก่อนวิ่งได้แค่4-8กิโลเมตรต่อชั่วโมง และวิ่งได้ไม่ไกล
คศ.1915-1935 มีการค้นพบบ่อน้ำมันปิโตรเลียมทั่วโลก ช่วงเวลาเดียวกันที่ Hery Ford ผลิตรถยนต์ Ford Model T ออกมาปริมาณมาก ยุคแรกเริ่มของรถยนต์สันดาปแบบฮอตฮิต
*รถน้ำมันบูมมากเพราะมีการตัดถนนระหว่างเมืองที่มีเส้นทางยาวและไกล รถไฟฟ้าวิ่งไกลไม่ได้ แต่รถน้ำมันวิ่งได้แน่นอน เลยบูม
คศ.1970-1980 สหรัฐออกกฎหมายจูงใจ ชื่อ " Public Law 94-413 " หรืออีกชื่อ " Electric And Hybrid Vehicle Research ,Development And Demonstration Act " ให้มีการทำตลาดรถไฟฟ้าอีกครั้งหลังจากหายไปนาน เพราะว่าองค์กรส่งออกน้ำมันแห่งชาติอาหรับ(ไม่ใช่่โอเปก)ผูกขาดน้ำมัน so น้ำมันแพงนั่นแหละ เลยอยากหาทางเลิกใช้ 
*อะหรือว่ารถไฟฟ้าเป็นแค่แนวคิดที่เอามาต่อต้านชาติอาหรับ เพื่อความแข็งแแกร่งของสหรัฐที่มากขึ้นเพื่อพยุงเงินและอำนาจของตัวเอง เลยเอาเรื่องลดโลกร้อนมาเล่น แบบที่ผมบอกในโน๊ตเทอโมไดนามิกที่เล่าไปก่อนหน้านี้ว่าโลกร้อนมันไม่มีจริงตั้งแต่แรก
คศ.1990-2008 General Motors ทดสอบรถไฟฟ้า Electrovette ที่ใช้แบตเตอรี่นิเกิลเมทัลไฮไดรด์แบบชาร์จซ้ำได้ และได้ทำการวางจำหน่ายปีต่อๆมาแต่สุดท้ายล้มละลายเพราะขายไม่ดี แต่ก็มีเทคโนโลยีเด็ดๆเยอะเหมือนกันจนหลายๆแบรนด์เอามาเป็นต้นแบบจนถึงปัจจุบัน เช่น HVAC heat pump ,สตาร์ทรถแบบไม่ใช้กุญแจ ,การขับเคลื่อนด้วยสายและการเบรกด้วยสาย(มันคือสายน้ำมันไฮโดรลิกนั่นเอง) และเทคโนโลยีสุดท้ายคือพวงมาลัยไฟฟ้าไฮโดรลิก
คศ.1995-1997 Toyota มีทีมพัฒนาชื่อว่า toyota prius concept พัฒนารถไฮบริด จนได้ปล่อยจำหน่าย (เครื่องยนต์แบบ Atkinson-Cycle ช่วยให้เผาไหม้สมบูรณ์ + กำลังรอบต้นของมอเตอร์ไฟฟ้า เกียร์ออโต้) ส่วนตัวพรีอุสปี2003ใช้แบตเตอรี่นิเกิลเมทัลไฮไดรด์    ชาร์จซ้ำได้ทั้งสองรุ่นเน้อ
คศ.2011 ทั่วโลกมีกฎหมายสนับสนุนรถไฟฟ้าเป็นของตัวเองในแต่ละประเทศ

3.ความต่างของรถไฟฟ้า(EVs Car)และรถสันดาปน้ำมันที่เด่นๆ
ต่อมาจะพูดเรื่องความต่างเด่นๆของรถไฟฟ้าและรถสันดาปที่ใช้น้ำมัน
รถไฟฟ้าไม่เสียพลังงานในรูปของความร้อน(แต่เสียพลังงานในการส่งผ่านไฟฟ้ากว่าจะมาถึงรถ) รถสันดาปก็ตรงข้ามเลย
รถไฟฟ้าไม่ปล่อยมลพิษ(ในแง่ของผลลัพ ที่มาพลังงานว่ากันอีกที) รถสันดาปก็ตรงข้ามเลย มีมลพิษ
รถไฟฟ้าเงียบกว่ารถสันดาป
รถไฟฟ้ากำลังรอบต้นสูงกว่าเยอะมากกกกกกกกกก(มีรูปประกอบ ที่เป็นกราฟ) และประหยัดพลังงานมากกว่าในรถไฮบริด(ข้อนี้เดี๋ยวถกอีกที)
จากรูปทุกคนจะเห็นว่ารถไฟฟ้ามีกำลังมากกว่ามากในรอบต้นและจะค่อยๆลดลงในรอบปลาย ส่วนรถสันดาปจะค่อยๆสูงขึ้นแล้วก็ต่ำลงอีกที การที่รอบปลายต่ำลงคือเขาออกแบบเครื่องยนต์มาให้มันแต่รักษาความเร็วปลาย กำลังเลยไม่ต้องสูงมากและเพื่อความปลอดภัยของเครื่องยนต์ไม่ให้ระเบิดก่อน(คนที่ขับรถจะเห็นสีแดงๆตรงเกจวัดรอบ คือถ้าเกินนั้นมันระเบิด มันพัง ) ต่อมามาถกกันเรื่องรถไฟฟ้าไฮบริดมันประหยัดพลังงานมากกว่าในแง่ของกำลังและรอบปลาย คืองี้ ด้วยความที่รอบต้นมันสูงอยู่แล้ว(บางคนมีรถไฟฟ้าจะรู้สึกว่าเหยียบลงไปนิดเดียวมันดึงแล้ว อันนั้นคือปกติของรถไฟฟ้าเพราะว่ากำลังมันสูงตั้งแต่รอบต้น) พอรอบมันสูงทำให้รถไปถึงความไวที่ต้องการไว พอถึงรอบปลายมันก็จะตกเหมือนรถสันดาป รถไฮบริดโดยทั่วไปเราจะเริ่มใช้ไฟฟ้าก่อนแล้วค่อยใช้น้ำมันเพื่อให้ได้รอบสูงไวๆเพราะกำลังมอเตอร์สูงกว่าและจะปรับมาใช้น้ำมันในรอบปลาย คือรอบต้นที่ใช้ไฟฟ้ามันกินพลังงานนิดเดียวก็ได้ความเร็วที่ต้องการละ ผิดกับรถน้ำมันที่ต้องเผามากขึ้นเรื่อยๆถึงจะได้กำลังที่มากพอที่จะได้รอบที่สูงขึ้น 
ตรงนี้มีข้อสังเกต:แบรนด์รถไฟฟ้าจะออกมาบอกว่า1-100ได้กี่วิจริงๆคือมันก็เร่งได้เท่าๆกัน วัดกันแค่ที่ระดับเสี้ยววินาที ซึ่งไม่รู้สึกต่าง และคนเราก็ไม่ได้จะเอารถไปใช้แข่งกันทุกวัน แต่ละแบรนด์ 3-4วิคือเบสิคของรถไฟฟ้า มันเป็นแค่การตลาด แต่เราจะว้าวแหละเพราะมันดูสุดยอดมากเมื่อเทียบกับรถน้ำมัน แต่ก่อนผมก็ว้าวเหมือนกัน

4.รถไฟฟ้าเสียพลังงานทิ้งมากกว่าที่คิด
โอเคหลังจากเล่าที่อาจารย์สอนในห้องไปแล้วได้เวลากลับมาที่การทดลองในห้องเรียน
สูตรหลักที่ใช้คือสูตรหาค่าประสิทธิภาพ คือ ค่าพลังงานที่เราใช้ได้ ส่วนด้วย ค่าพลังานที่ใส่มา(พลังงานที่มี) เลขออกมาเท่าไหร่ถ้าเราคูณ 100 มันจะได้ว่าเราเอาพลังงานที่มีมาใช้ได้จริงๆกี่เปอร์เซ็นต์ พอเราทำการทดลองปุ๊บๆปั๊บๆพวกผมได้ออกมาว่ารถไฟฟ้าที่นำมาทดลองเอาพลังงานไปใช้ได้จริงๆแค่ 19.02% โอ้วชิท โคตรน้อย เสียพลังงานฟรี 80% แต่ว่าๆๆๆๆค่าที่ได้คือค่าจากการที่มีปัจจัยและเครื่องทดสอบที่ diy กันขึ้นมา มันไม่ได้มีประสิทธิภาพขนาดนั้น ไดโน่ที่เอามาวัด มันเสียแรงทิ้งเยอะอยู่เหมือนกัน ค่าที่ควรจะเกิดขึ้นจะอยู่ที่ 70%-80% แต่ว่าๆๆๆๆ เราอาจจะคิดว่าเออ 20% ที่เสียไปมันก็พอจะคุ้มค่า ทะว่ามันไม่ได้เสียแค่ 20% เพราะกว่าจะมาถึงรถไฟฟ้าของเราเนี่ย มันหลายกระบวนการหลายขั้นตอนมากกกก ต้องย้อนกลับไปตั้งแต่ผลิตไฟฟ้า ส่งเข้าสายไฟ สายไฟจุกระแสมากๆแรงดันมากๆเกิดความร้อน พลังงานก็ระเหยไปตามความร้อน จากกฎเทอโมที่เคยบอกไป พลังงานมันไม่หายไปไหนมันแค่เปลี่ยนรูป จากพลังงานไฟฟ้าเป็นความร้อน และความร้อนก็ระเหยทิ้ง กว่าจะมาถึงต้องไปผ่านกระบวนการนั่นนี่เยอะแยะมากมายจนมาถึงรถไฟฟ้าตอนที่เราชาร์จ แล้วเราก็ต้องเสียเพิ่มอีก20%จากการนำมาใช้จริงบนรถ เพราะฉนั้นพลังงานที่เราเสียไปจริงๆตั้งแต่ต้นสายโรงงานผลิตไฟฟ้ามันน่าจะเยอะมากกว่า 20% 


#nostr #siamstr #zap https://image.nostr.build/7e7756aadf551988d0a9ff4ec606f089f1ee91196d4f533890cc9ffbf7549433.jpg  
 สวัสดีทุกคนอีกครั้ง วันนี้จะเอามุมมองของอาจารย์มาเล่าอีกเช่นเคย 
คือผมเรียนยานยนต์เนาะ หลายคนยังไม่ทราบ แต่ว่าๆๆผมยังเรียนไม่จบเน้อ 
อะอันนี้ยาวมากเดี๋ยวทำ Outline ไว้ด้วยจะได้เลือกอ่านกันง่ายๆตามหัวข้อที่สนใจ
1.รถไฟฟ้า(EVs Car)กินส่วนแบ่งตลาดรถยนต์ได้กี่เปอร์เซ็นต์ และสิ่งที่ผมคิดได้
2.เห้ย! รถไฟฟ้า(EVs Car)มันมีมาก่อนเราเกิดอีก
3.ความต่างของรถไฟฟ้า(EVs Car)และรถสันดาปน้ำมันที่เด่นๆ
4.รถไฟฟ้าเสียพลังงานทิ้งมากกว่าที่คิด

1.รถไฟฟ้า(EVs Car)กินส่วนแบ่งตลาดรถยนต์ได้กี่เปอร์เซ็นต์
คือผมรู้จักกับอาจารย์สองท่านในคณะเนี่ยแหละ คนนึงคือบ้าเครื่องยนต์มากชอบออกแบบเครื่องยนต์ชอบดูกลไกการทำงานเครื่องยนต์ ล่าสุดอาจารย์ได้ทำเครื่องยนต์หรือไปออกแบบดาวเทียมอะไรซักอย่าง 
ส่วนอีกคนทำโปรเจกท์เรื่องแบตเตอรี่รถไฟฟ้าและเรื่องพลังงานไฮโดรเจนอยู่
อาจารย์ท่านแรกตอนที่พวกเรากำลังเรียนเรื่องชิ้นส่วนต่างๆและการทำงานของเครื่องยนต์ อาจารย์ถามว่า "นักศึกษาทุกคนครับ ผมมีคำถาม ตอนนี้ทุกคนคงได้เห็นได้ดูกันมาแล้วว่ารถอีวี(รถไฟฟ้าที่ใช้แบตเตอรี่ล้วน ไม่ไฮบริด ไม่เติมน้ำมันไปปั่นไฟ มีแต่แบตเลยที่ให้พลังงาน) ว่าช่วงนี้บูมมาก เลยอยากจะถามว่าทุกคนคิดว่ารถอีวีจะสามารถกินส่วนแบ่งในตลาดรถยนต์ทั่วทั้งโลกได้กี่เปอร์เซ็นต์"
นายสุริสัก " 80 เปอร์เซ็นต์ครับ "
นางสาวปิยะทิด๊า " 50 เปอร์เซ็นต์ค่ะ "
นายสุทิวุฒระไตรเมสิขาองครฉัตรินธร " 20 ครับ "
อาจารย์ถามต่อว่า " มีใครคิดว่าน้อยกว่า 20 มั้ย "
ผมที่พึ่งอ่านข่าวเรื่องลิเธียมจะหมดโลกมา " *ยกมือ " ( ผมก็ตอบไม่ได้ว่ามันกี่เปอร์แต่คืออ่านข่าวมาแค่คร่าวๆ ของ bbc )
อาจารย์ถามว่า "ทำไมคิดแบบนั้น"
ผมก็ตอบตามตรงว่า "ผมอ่านข่าวมาเขาบอกว่าลิเธียมกำลังจะหมดโลกครับ"
อาจารย์บอกว่า "ใช่" และอธิบายต่อว่า "ถูกอย่างเพื่อนว่า ลิเธียมจะหมดโลก การคาดการณ์ของทางฝั่งเมกา เขาตีพิมพ์เป็นตัวเลขคร่าวๆว่าลิเธียมเนี่ย เมื่อเราเอามาผลิตแบตเตอรี่ทั้งหมดจนหมดโลกเราจะทำรถอีวีได้แค่ไม่ถึง 10 เปอร์เซ็นต์ของตลาดรถยนต์"
หลังจากวันนั้นมันทำให้ผมมีความคิดอะไรบางอย่างเกิดขึ้น คือ คนทั่วไปเราไม่รู้หรอกว่ามันจะกินส่วนแบ่งค์ในตลาดได้แค่ 10 เปอร์เซ็นต์ แต่คนที่เป็นคนทำขึ้นมาเขาอาจจะรู้อยู่แล้ว ทำไมเลือกที่จะไม่บอกเหมือนฟองสบู่ที่รอวันแตก ผมคิดว่าตอนนี้มันแค่เพิ่งเริ่ม ยุคของรถไฟฟ้ามันจะบูมจนคนเกือบทั้งโลกคิดแล้วว่ามาเปลี่ยนโลกแน่มาแน่ น้ำมันแกจะไปไหนก็ไปไป๊ ทำให้น้ำมันร่วงเหมือนกับที่โควิดที่คนคิด่ามันจบแล้วไม่ได้ใช้ละน้ำมัน ผมเลยมองว่าวิกฤตที่ส่งผลเสียต่อน้ำมันแบบชั่วคราวอาจเกิดขึ้นได้อีกเร็วๆนี้(ที่เกี่ยวกับอีวี)

2.เห้ย รถไฟฟ้า(EVs Car)มันมีมาก่อนเราเกิดอีก
ต่อมาเป็นอาจารย์ที่ทำเรื่องแบตเตอรี่รถยนต์ เราจะมีบทนึงที่ได้เรียนเรื่องการส่งกำลังของแบตเตอรี่ พวกผมที่เป็นผู้เรียนจะได้ทำการทดลองว่าแบตเท่านี้ จ่ายไฟเท่านี้ ได้ทอร์คได้กำลังได้รอบเท่าไหร่ แล้วกระแส ความดันไฟฟ้า ในแบตเตอรี่ลดลงมั้ย (มันเป็นอะไรที่โคตรยากเพราะห้องแล็บนั้นมันเป็นแบบ diy เราไม่ได้มีไดโน่มาวัดความเร็วรถ หรือวัดทอร์ค สิ่งที่ทำก็คือเราจะใช้แรงเบรกของเบรกมาคิดเป็นทอร์คอีกที)(ไดโน่คือไอเครื่องที่มันจะให้เราเอารถไปไว้ด้านบนแล้วเร่งสุดๆ จะมีความเร็วออกมาให้เลย แบบพวกร้านแต่งรถที่โมรถให้เร็วขึ้น หรือพวกที่เขามีแข่งที่ต้องเทสรถไรงี้ ซึ่งของพวกผมมันมีตัวแปรภายนอกเยอะมากทำให้ไม่ได้ค่าจริง %error สูงอยู่นะหลังการทดลอง)
แต่ทำไมเราต้องทดลองแล้วมันเกี่ยวอะไรกับรถอีวี ก่อนอื่นเลยรถที่นำมาทดสอบเป็นรถอีวี แต่ผมจะบอกตอนท้ายว่าการทดลองเนี่ยได้อะไร ขอเล่าที่จารสอนก่อน
เปิดมาด้วยประวัติของรถอีวี ผมจะเล่าแบบรวบรัดนิดนึง
คศ.1828 นักประดิษฐ์ชาวฮังการีคิดค้นมอเตอร์ไฟฟ้า และสร้างโมเดลรถขนาดเล็กเพื่อเทสมอเตอร์
คศ.1834 ทีมของ Sibrandus Stratingh สร้างรถที่ใช้แบตเตอรี่แต่ยังชาร์จไม่ได้
คศ.1859 มีการคิดค้นแบตเตอรี่ตะกั่ว-กรด แบตที่ชาร์จซ้ำได้อันแรก
คศ.1880 Gustave Trouve  คิดค้นรถไฟฟ้าที่ใช้มอเตอร์ขนาดเล็ก และชาร์จซ้ำได้
คศ.1884 Thomas Parker สร้างรถยนต์ไฟฟ้าแบบสี่ล้อคันแรกในอังกฤษ
คศ.1888 Andreas Flocken ออกแบบรถไฟฟ้าชื่อ Flocken Elektrowagen
*แต่ถึงอย่างนั้นรถไฟฟ้าก็ไม่เป็นที่นิยมเพราะแต่ก่อนวิ่งได้แค่4-8กิโลเมตรต่อชั่วโมง และวิ่งได้ไม่ไกล
คศ.1915-1935 มีการค้นพบบ่อน้ำมันปิโตรเลียมทั่วโลก ช่วงเวลาเดียวกันที่ Hery Ford ผลิตรถยนต์ Ford Model T ออกมาปริมาณมาก ยุคแรกเริ่มของรถยนต์สันดาปแบบฮอตฮิต
*รถน้ำมันบูมมากเพราะมีการตัดถนนระหว่างเมืองที่มีเส้นทางยาวและไกล รถไฟฟ้าวิ่งไกลไม่ได้ แต่รถน้ำมันวิ่งได้แน่นอน เลยบูม
คศ.1970-1980 สหรัฐออกกฎหมายจูงใจ ชื่อ " Public Law 94-413 " หรืออีกชื่อ " Electric And Hybrid Vehicle Research ,Development And Demonstration Act " ให้มีการทำตลาดรถไฟฟ้าอีกครั้งหลังจากหายไปนาน เพราะว่าองค์กรส่งออกน้ำมันแห่งชาติอาหรับ(ไม่ใช่่โอเปก)ผูกขาดน้ำมัน so น้ำมันแพงนั่นแหละ เลยอยากหาทางเลิกใช้ 
*อะหรือว่ารถไฟฟ้าเป็นแค่แนวคิดที่เอามาต่อต้านชาติอาหรับ เพื่อความแข็งแแกร่งของสหรัฐที่มากขึ้นเพื่อพยุงเงินและอำนาจของตัวเอง เลยเอาเรื่องลดโลกร้อนมาเล่น แบบที่ผมบอกในโน๊ตเทอโมไดนามิกที่เล่าไปก่อนหน้านี้ว่าโลกร้อนมันไม่มีจริงตั้งแต่แรกเพราะมันจะร้อนอยู่แล้ว
คศ.1990-2008 General Motors ทดสอบรถไฟฟ้า Electrovette ที่ใช้แบตเตอรี่นิเกิลเมทัลไฮไดรด์แบบชาร์จซ้ำได้ และได้ทำการวางจำหน่ายปีต่อๆมาแต่สุดท้ายล้มละลายเพราะขายไม่ดี แต่ก็มีเทคโนโลยีเด็ดๆเยอะเหมือนกันจนหลายๆแบรนด์เอามาเป็นต้นแบบจนถึงปัจจุบัน เช่น HVAC heat pump ,สตาร์ทรถแบบไม่ใช้กุญแจ ,การขับเคลื่อนด้วยสายและการเบรกด้วยสาย(มันคือสายน้ำมันไฮโดรลิกนั่นเอง) และเทคโนโลยีสุดท้ายคือพวงมาลัยไฟฟ้าไฮโดรลิก
คศ.1995-1997 Toyota มีทีมพัฒนาชื่อว่า toyota prius concept พัฒนารถไฮบริด จนได้ปล่อยจำหน่าย (เครื่องยนต์แบบ Atkinson-Cycle ช่วยให้เผาไหม้สมบูรณ์ + กำลังรอบต้นของมอเตอร์ไฟฟ้า เกียร์ออโต้) ส่วนตัวพรีอุสปี2003ใช้แบตเตอรี่นิเกิลเมทัลไฮไดรด์    ชาร์จซ้ำได้ทั้งสองรุ่นเน้อ
คศ.2011 ทั่วโลกมีกฎหมายสนับสนุนรถไฟฟ้าเป็นของตัวเองในแต่ละประเทศ

3.ความต่างของรถไฟฟ้า(EVs Car)และรถสันดาปน้ำมันที่เด่นๆ
ต่อมาจะพูดเรื่องความต่างเด่นๆของรถไฟฟ้าและรถสันดาปที่ใช้น้ำมัน
รถไฟฟ้าไม่เสียพลังงานในรูปของความร้อน(แต่เสียพลังงานในการส่งผ่านไฟฟ้ากว่าจะมาถึงรถ) รถสันดาปก็ตรงข้ามเลย
รถไฟฟ้าไม่ปล่อยมลพิษ(ในแง่ของผลลัพ ที่มาพลังงานว่ากันอีกที) รถสันดาปก็ตรงข้ามเลย มีมลพิษ
รถไฟฟ้าเงียบกว่ารถสันดาป
รถไฟฟ้ากำลังรอบต้นสูงกว่าเยอะมากกกกกกกกกก(มีรูปประกอบ ที่เป็นกราฟ) และประหยัดพลังงานมากกว่าในรถไฮบริด(ข้อนี้เดี๋ยวถกอีกที)
จากรูปทุกคนจะเห็นว่ารถไฟฟ้ามีกำลังมากกว่ามากในรอบต้นและจะค่อยๆลดลงในรอบปลาย ส่วนรถสันดาปจะค่อยๆสูงขึ้นแล้วก็ต่ำลงอีกที การที่รอบปลายต่ำลงคือเขาออกแบบเครื่องยนต์มาให้มันแต่รักษาความเร็วปลาย กำลังเลยไม่ต้องสูงมากและเพื่อความปลอดภัยของเครื่องยนต์ไม่ให้ระเบิดก่อน(คนที่ขับรถจะเห็นสีแดงๆตรงเกจวัดรอบ คือถ้าเกินนั้นมันระเบิด มันพัง ) ต่อมามาถกกันเรื่องรถไฟฟ้าไฮบริดมันประหยัดพลังงานมากกว่าในแง่ของกำลังและรอบปลาย คืองี้ ด้วยความที่รอบต้นมันสูงอยู่แล้ว(บางคนมีรถไฟฟ้าจะรู้สึกว่าเหยียบลงไปนิดเดียวมันดึงแล้ว อันนั้นคือปกติของรถไฟฟ้าเพราะว่ากำลังมันสูงตั้งแต่รอบต้น) พอรอบมันสูงทำให้รถไปถึงความไวที่ต้องการไว พอถึงรอบปลายมันก็จะตกเหมือนรถสันดาป รถไฮบริดโดยทั่วไปเราจะเริ่มใช้ไฟฟ้าก่อนแล้วค่อยใช้น้ำมันเพื่อให้ได้รอบสูงไวๆเพราะกำลังมอเตอร์สูงกว่าและจะปรับมาใช้น้ำมันในรอบปลาย คือรอบต้นที่ใช้ไฟฟ้ามันกินพลังงานนิดเดียวก็ได้ความเร็วที่ต้องการละ ผิดกับรถน้ำมันที่ต้องเผามากขึ้นเรื่อยๆถึงจะได้กำลังที่มากพอที่จะได้รอบที่สูงขึ้น 
ตรงนี้มีข้อสังเกต:แบรนด์รถไฟฟ้าจะออกมาบอกว่า1-100ได้กี่วิจริงๆคือมันก็เร่งได้เท่าๆกัน วัดกันแค่ที่ระดับเสี้ยววินาที ซึ่งไม่รู้สึกต่าง และคนเราก็ไม่ได้จะเอารถไปใช้แข่งกันทุกวัน แต่ละแบรนด์ 3-4วิคือเบสิคของรถไฟฟ้า มันเป็นแค่การตลาด แต่เราจะว้าวแหละเพราะมันดูสุดยอดมากเมื่อเทียบกับรถน้ำมัน แต่ก่อนผมก็ว้าวเหมือนกัน

4.รถไฟฟ้าเสียพลังงานทิ้งมากกว่าที่คิด
โอเคหลังจากเล่าที่อาจารย์สอนในห้องไปแล้วได้เวลากลับมาที่การทดลองในห้องเรียน
สูตรหลักที่ใช้คือสูตรหาค่าประสิทธิภาพ คือ ค่าพลังงานที่เราใช้ได้ ส่วนด้วย ค่าพลังานที่ใส่มา(พลังงานที่มี) เลขออกมาเท่าไหร่ถ้าเราคูณ 100 มันจะได้ว่าเราเอาพลังงานที่มีมาใช้ได้จริงๆกี่เปอร์เซ็นต์ พอเราทำการทดลองปุ๊บๆปั๊บๆพวกผมได้ออกมาว่ารถไฟฟ้าที่นำมาทดลองเอาพลังงานไปใช้ได้จริงๆแค่ 19.02% โอ้วชิท โคตรน้อย เสียพลังงานฟรี 80% แต่ว่าๆๆๆๆค่าที่ได้คือค่าจากการที่มีปัจจัยและเครื่องทดสอบที่ diy กันขึ้นมา มันไม่ได้มีประสิทธิภาพขนาดนั้น ไดโน่ที่เอามาวัด มันเสียแรงทิ้งเยอะอยู่เหมือนกัน ค่าที่ควรจะเกิดขึ้นจะอยู่ที่ 70%-80% แต่ว่าๆๆๆๆ เราอาจจะคิดว่าเออ 20% ที่เสียไปมันก็พอจะคุ้มค่า ทะว่ามันไม่ได้เสียแค่ 20% เพราะกว่าจะมาถึงรถไฟฟ้าของเราเนี่ย มันหลายกระบวนการหลายขั้นตอนมากกกก ต้องย้อนกลับไปตั้งแต่ผลิตไฟฟ้า ส่งเข้าสายไฟ สายไฟจุกระแสมากๆแรงดันมากๆเกิดความร้อน พลังงานก็ระเหยไปตามความร้อน จากกฎเทอโมที่เคยบอกไป พลังงานมันไม่หายไปไหนมันแค่เปลี่ยนรูป จากพลังงานไฟฟ้าเป็นความร้อน และความร้อนก็ระเหยทิ้ง กว่าจะมาถึงต้องไปผ่านกระบวนการนั่นนี่เยอะแยะมากมายจนมาถึงรถไฟฟ้าตอนที่เราชาร์จ แล้วเราก็ต้องเสียเพิ่มอีก20%จากการนำมาใช้จริงบนรถ เพราะฉนั้นพลังงานที่เราเสียไปจริงๆตั้งแต่ต้นสายโรงงานผลิตไฟฟ้ามันน่าจะเยอะมากกว่า 20% 


#nostr #siamstr #zap https://image.nostr.build/f0798ba45cba7549d78ab90d0eada88206e9abb5aba1d5687a3ba076a78e0882.jpg https://image.nostr.build/7e7756aadf551988d0a9ff4ec606f089f1ee91196d4f533890cc9ffbf7549433.jpg  
 ใช่ครับสำรวจโดยเทคโนโลยีปัจจุบัน ส่วนเรื่องพัฒนาเทคโนโลยีก็อาจจะเกิดขึ้นจริงได้เหมือนกัน ต้องรอดูว่าจะมีแบตตัวใหม่ที่ใช้ลิเธียมน้อยลงได้ประสิทธืภาพเท่ากันหรือใช้ตัวอื่นมาแทนมั้ย หรืออาจจะมีการนำแบตมารีไซเคิลให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุดก็เป็นได้ ต้องรอดูกันต่อไป ข้อ1ที่ว่าแบตลิเธียมจะหมดโลกคือเป็นมุมมองที่ถ้าไม่มีการพัฒนาความยั่งยืนในการใช้ลิเทียมภายใน2-5ปีนี้ครับ ในมุมมองของผม ผมมองว่าลิเธียมหมดได้ไม่เป็นไรครับ เพราะยังมีแบตหลายตัวที่ใช้ในอุตสาหกรรมยานยนต์ที่ไม่ใช้ลิเธียมเป็นส่วนประกอบ อย่างตัวNi-MH นิกเกิลเมทัลไฮไดรด์ ตัวนี้ก็นิยมใช้ในรถไฮบริดทั่วๆไปครับ ตัวโซลิดสเตตที่โตโยต้าซุ่มพัฒนาอยู่ก็น่าสนใจครับ แว่วๆมาว่าsolid state battery ไม่มีลิเธียมก็ได้แต่ดีกว่า รอดูกันต่อครับ 
 เหมือนกันครับ ผมกำลังรอดูตัวsolid state battery ของทางโตโยโต้อยู่ครับว่าจะออกมาดีแค่ไหน 
 คำถามดีมากเลยครับ เดี๋ยวผมเอาเรื่องนี่ไปหาข้อมูลเพิ่มนะครับ 
 ฟังเพลินๆ ตอนกินข้าว

https://youtu.be/PGdzOANteIM?si=jHJ6eDRRmW7DZeAJ

#siamstr 
 มันกลับมาอีกครั้ง
หลังจากกลับมากทม.ได้2-3วัน ผมสังเกตว่ารู้สึกเหมือนมีดินอยู่ในปาก(ความรู้สึกเหมือนตอนไปขุดดินช่วยแม่ปลูกต้นไม้ แล้วดินมันฟุ้งไปทั่วละดินเข้าปาก มันจะรู้สึกหญาๆที่ลิ้น) วันนี้ไปเจอเพื่อน เพื่อนบอกว่า “ฝุ่นเยอะเลยช่วงนี้” ผมแบบ“นายว่ายังงัยยยนะ!” ผมเลยเปิดค่าฝุ่นดู 
อย่าลืมดูแลตัวเองกันด้วยนะครับ

#siamstr #nostr https://image.nostr.build/c813766fa95135d834ab7be07fcd6fd415cad2716bc5876b3c8471542bdb9f37.jpg  
 จำไม่ได้แล้วว่าเล่นบาสแบบไม่หอบล่าสุดวันไหน ทั้งๆที่ออกกำลังกายบ่อย วิ่งบ่อย(วิ่งก็หอบ)แต่รู้สึกว่ามันไม่เหมือนเดิมเลยจริงๆ (ไม่ได้พยายามจะโยงเข้าเรื่องวัคซีน)(จริงจริ๊งง) 
@siamstr @nostr https://image.nostr.build/1850e0f176936506cc7f7125ac7e24103fc502cc7ac1c5ba81e78a8ce5fb4b59.jpg  
 ตอนที่ผมวัยมัธยมผมเป็นหนึ่งในคนที่ชอบกินเครื่องดื่มวิตามีซีมาก อร่อยด้วยได้ประโยชน์ด้วย(ผมไม่เคยเปิดดูฉลากที่ด้านหลังขวด)

หลังจากจบชั้นมัธยมเป็นช่วงที่ผมเริ่มดูแลสุขภาพแบบจริงๆจังๆ ผมดูฉลากอาหารก่อนรับประทานตลอด 
จนวันนึงผมเหลือบไปเห็นเครื่องดื่มวิตามินซีแสนรักสุดโปรดที่เคยติดหนักมากเมื่อนานมาแล้ว ผมคิดว่า "กินซักขวดละกันไม่กินนานละ" แต่ด้วยที่ช่วงหลังมานี้ชอบดูฉลากเลยเผลอเปิดดูแบบผ่านๆ 
น้ำตาล 16 กรัม แว๊บแรกที่เห็นคือตกใจมาก เพราะปกติตอนกินคือกินทีละ 2 ขวด ก็จะเป็นน้ำตาล 32 กรัม ผมเริ่มเอะใจแล้ววางมันลง แล้วไปกินอย่างอื่น และเลิกกินในที่สุด

ช่วงปีใหม่ที่ผ่านมานี้เอง มีคนคนนึงได้นำเสนอความคิดที่ว่า "รีเซ็ปเตอร์ของวิตามินซีสามารถจับกับน้ำตาลได้ด้วย" จังหวะนั้นผมแบบเอ้ะะ อะหรือว่า 
//ภาพตอนเด็กๆย้อนกลับมาเลย 

ผมเริ่มมีความเอ้ะหลายอย่างเกิดขึ้นในหัว จนเวลาผ่านไป ผมว่างพอที่จะเริ่มหาข้อมูลว่ามันจริงมั้ย
จากบทความในแต่ละเว็บไซต์ที่ต่างกัน พูดไปในทางเดียวกันว่ามันส่งผลจริงๆ โดยน้ำตาล(ส่วนใหญ่ที่ส่งผลต่อวิตามินซีจะเป็นน้ำตาลกลูโคส แต่กลูโคสก็อยู่ในทุกที่ที่มีน้ำตาล ผมขอเรียกสั้นๆว่าน้ำตาลละกัน)กับวิตามินซีมีโครงสร้างทางเคมีที่คล้ายกัน น้ำตาลสูตรทางเคมีคือC6H12O6 วิตามินซีสูตรทางเคมีคือC6H8O6 ก็คล้ายกันจริงๆนั่นแหละ
จากการที่มันคล้ายกันนี่เองทำให้น้ำตาลใช้รีเซ็ปเตอร์ตัวเดียวกันกับวิตามินซีได้ในการดูดซึมเข้าเซลล์ แต่ประเด็นคือเวลาเราบริโภคพวกเครื่องดื่มที่น้ำตาลสูงๆเนี่ยเมื่อเทียบกับวิตามินซี วิตามิซีเหลือจิ๋วเดียวเมื่อเทียบกับน้ำตาลปริมาณมากๆทำให้วิตามินซีมีโอกาสต่ำลงในการจะไปจับกับรีเซ็ปเตอร์ เพราะโมเลกุลน้ำตาลมันหนาแน่นจนเบียดวิตามินซีออก ทำให้น้ำตาลจับกับรีเซ็ปเตอร์ได้ง่ายกว่าและไวกว่าวิตามินซี
หลังจากน้ำตาลจับกับรีเซ็ปเตอร์ไปเรื่อยๆ->น้ำตาลในเลือดสูง->vitamin c ไม่ถูกเอาไปใช้->ระดับวิตามินซีต่ำ->ความสามารถของระบบภูมิคุ้มกันที่ลดลง->ระบบภูมิคุ้มกันทำงานได้ไม่ดีเมื่อมีความจำเป็น

*อาหารจากธรรมชาติที่มีวิตามินซีเยอะ คือ บร็อคเคอรี่ ผักเคลล์ ส้ม มะเขือเทศ สตรอวเบอรี่ มะละกอ กีวี่ มันหวาน พาสลี่ย์ แคนตาลูป กะหล่ำดอก 

!!!!!แต่ๆๆๆมันไม่ได้จบที่เท่านั้น ผมสงสัยต่อว่าน้ำตาลมันส่งผลต่อสารอาหารไหนบ้าง ผมเลยหาต่อ
1.วิตามินซี (ที่กล่าวไปก่อนหน้า)
2.วิตามินดี ส่งผลโดยการที่น้ำตาล(ส่วนใหญ่จะพูดถึงฟรุกโตส แต่ถึงยังไงฟรุกโตสก็อยู่ในแทบจะทุกที่ที่มีน้ำตาล ผมขอเรียกสั้นๆว่าน้ำตาลเลยละกัน)มันส่งผลต่อเอนไซม์บางตัวในร่างกายที่จะลดความสามารถในการเก็บวิตามินดี และก็ส่งผลกับเอนไซม์ที่มีส่วนช่วยในการสังเคราะห์วิตามินดีจากแดดด้วย = น้ำตาลในเลือดเยอะทำให้สังเคราะห์วิตามินดีจากแดดได้น้อยลง
3.แคลเซียม วิตามินดีมีส่วนช่วยในการดูดซึมแคลเซียมไปใช้ ถ้ากินน้ำตาลมาก ->ระดับแคลเซียมตก ->วิตามินดีก็จะตกตาม ->ไตจะขับออกไปจากร่างกายเพราะมันมีวิตามินดีไม่พอที่จะช่วยจับเอาแคลเซียม
4.โครเมียม ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มโอกาสให้มีการปล่อยโครเมียมในร่างกายออกไปด้านนอกมากขึ้น (โครเมียมช่วยสังเคราะห์กรดไขมันและคอเลสเตอรอล ช่วยรักษาสมดุลของอินซูลินในเลือด ควบคุมปริมาณคอเลสเตอรอล เปลี่ยนไขมันให้เป็นไขมันดี )
5.แม็กนีเซียม สารที่ช่วยดูแลการทำงานของกล้ามเนื้อและระบบประสาท การบริโภคน้ำตาลมากจะส่งผลให้ร่างกายขับแม็กนีเซียมออก ส่งผลให้ระดับแม็กนีเซียมลดลง

กลับมาที่เครื่องดื่มวิตามินซี จริงๆคือนายทุนรู้กันอยู่แล้วแหละว่าใส่น้ำตาลมามันทำให้ดูดซึมวิตามินซีได้น้อยลง และเป็นความจงจัย เพราะพอร่างกายได้น้อยลง คนบริโภคกินเข้าไปแล้วไม่เห็นผล ก็จะกินวนไปเรื่อยๆจนกว่าจะเห็นผล(จริงๆมันอาจจะไม่เห็นผลเลย) = ยอดขายที่เพิ่มขึ้น 

*ผมไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ แค่มาแชร์สิ่งที่ไปหาอ่านมาหนุกๆ
ใครรู้จักนักโภชนาการหรือหมอชาว #siamstr ชวนมาคุยในเม้นได้นะครับอยากได้มุมมองเพิ่มเติมจากผู้รู้ 



#siamstr #zap #nostr https://image.nostr.build/0024e7ddc847b93992db07c305dc75a34b2aec77e28b2ff0bff386beba58f459.jpg https://image.nostr.build/1b4ab5e56a982823e8a9b61c9312f72f1d705c420f93cfb850b81fbb22b2d1ca.jpg https://image.nostr.build/ab8c2a061a224bc31aee73582e90b65644ccd61c8d7e1b42383521c37c6ab593.jpg  
 @970ffed0 ใช่คนที่บอกเรื่องนี้ปะตอนปีใหม่ 
 ทีม เทนโด้ หรือจำผิด 
 ตื่นมารับแสงแดดตอนเช้าไม่ทัน งั้นรับแสงตอนเย็นละกันวันนี้

#siamstr 
#nostr
#zap https://video.nostr.build/680c07ca9af96ccb680ec77c6d74a52ded39a7b441f10e66c9e8b31e0f380f37.mp4  
 pov : วันนี้ผมเผลอไถฟีดโซเชียลรับ poor dopamine
//แต่สิ่งที่ไม่คาดคิดก็เกิดขึ้น…

มีอินฟลูเอนเซอร์ท่านหนึ่งบอกว่า “น้ำเชื่อมข้าวโพดผลิตจากธรรมชาติ ดีต่อสุขภาพ” 
(เขาได้รับสปอนเซอร์)

//ดึงสติผมที่กำลังเสพ poor dopamine ทันที
ผม:เดี๊ยวววว อย่าพึ่งนะ เดี๋ยวก่อนน ขอยาดรีเสิร์ช

น้ำเชื่อมประกอบไปด้วยฟรุกโตส50% กลูโคส50%(แล้วแต่แบรนด์อีกที) 
กลูโคสเนี่ยคือมันส่งไปเซลล์ต่างๆในร่างกายเอาไปใช้ได้เลย กลับกันฟรุกโตสมันต้องถูกตับเปลี่ยนเป็นกลูโคส หรือเปลี่ยนเป็นไกลโคเจน(แป้ง) หรือไขมัน ซึ่งเพิ่มภาระหน้าที่ให้ตับ มาถึงจุดนี้อาจจะมีคนสงสัยว่า แล้วพวกที่อยู่ในผลไม้ล่ะ อันนั้นส่งผลต่อรางกายน้อยมากๆเมื่อเทียบกับน้ำเชื่อม
เอาแบบภาพรวมพื้นฐาน ข้อเสียรวมๆคือ
1.เป็นน้ำตาลที่ไม่ได้ได้มาโดยกระบวนการธรรมชาติ
2.เพิ่มโอกาสไขมันพอกตับ
3.เพิ่มโอกาสโรคเบาหวาน ,โรคอ้วน ,โรคหัวใจ และโรคมะเร็ง
4.ไม่มีสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย
(ข้อเสียทั้ง 4 ข้อรวมถึงข้อเสียของน้ำตาลทรายทั่วไปด้วย)

วิธีสังเกตว่าเครื่องดื่มไหนมีน้ำเชื่อม = กินลงไปแล้วจะลื่นคอ กินง่ายมาก แซ่บนัวมาก กินแล้วรู้สึกเอเนอจี้พุ่ง (คหสต)
วิธีสังเกตว่าเครื่องดื่มไหนมีน้ำตาล = หวานแบบไม่เอเนอจี้พุ่งเท่าน้ำเชื่อม หวานแบบธรรมดาไม่หวือหวา (คหสต)

#nostr
#siamstr
#zap 
 ผมรู้สึกไปคนเดียวรึป่าว ว่าการเป็นคนเก็บตัว ไม่ชอบพูด สังคมอักเสบ มันจะเริ่มมาบูมในช่วงยุคของผม(เด็กปี2000+) 

ผมมองว่ามันเกิดจากการที่เป็นยุคเดียวกันกับที่โซเชียลมีเดียเริ่มบูม โซเชียลมีเดียทำให้ทุกอย่างง่ายไปหมด พูดคุยกันโดยไม่ต้องฝึกพูด มีเพื่อนได้โดยการแค่ขยับนิ้ว ทุกอย่างมันง่ายไปหมด 
เมื่อเทียบกับยุคของคุณพ่อคุณแม่ของผม ยุคก่อนจะมีไฟฟ้าใช้ ทุกคนจะต้องสื่อสารกันจริงๆคุยกันจริงๆเพื่อแลกเปลี่ยน สื่อสาร หรือบอกความต้องการ ผมสังเกตว่ามีผู้ใหญ่หลายๆคน แทบจะ 90% เป็นคนพูดเก่ง น่าจะเพราะที่ผมกล่าวไปก่อนหน้าคือยุคที่โซเชียลยังมาไม่ถึง ผู้คนได้พูดคุยสื่อสารกันจริงๆบนโลกความจริง 
กลับมาที่เวลาไล่เลี่ยปัจจุบัน ต่อมาหลังจากที่ทุกอย่างมันง่ายซะเหลือเกิน ;social disrupt เป็นช่วงเดียวกันที่การจำแนกประเภทคนได้มีการบูมเป็นอย่างมาก mbti infj entp ฯ ผมมองว่ามันอาจจะมีอยู่จริง ใช้ได้จริง แต่ก็ต่อเมื่อเจ้าตัวไม่รู้ว่าตัวเองเป็นคนประเภทไหน เพราะหากเจ้าตัวรู้เมื่อไหร่ เจ้าตัวจะยอมจำนนทันทีว่าตัวเองเป็นแบบนี้จริงและแบบนี้ตลอดไป 
กลายเป็นว่าการจำแนกประเภทคนถูกสมองนำมาใช้เป็นเครื่องมือ ให้เราไม่กล้าที่จะก้าวข้ามความเป็นตัวเรา(ณ ตอนนั้น)(ใช้ ณ ตอนนั้น เพราะจริงๆแล้วคนเราเปลี่ยนได้) ไม่กล้าที่จะเปลี่ยนตัวเอง สมองคงอยากรักษาพลังงานไว้ เพราะหลังจากที่เกิดการเปลี่ยนแปลง มันคือการทำพฤติกรรมใหม่ เหตุการณ์ใหม่ๆ ประสบการณ์ใหม่ สมองจะต้องคิดหาวิธีรับมือกับสิ่งใหม่ๆที่ไม่รู้จัก ซึ่งใช้พลังงานเยอะกว่าการเจออะไรเดิมๆรับมืออะไรเดิมๆ สมองจึงเลือกที่จะรักษาพลังงานไว้โดยไม่ให้เราเปลี่ยนแปลงตัวเองหรือทำอะไรใหม่ๆ(การพัมนาตัวเองเลยเป็นเรื่องยาก เพราะมันคือการเปลี่ยนแปลง)
เป็นช่วงเวลาเดียวกันเลยที่ extrovert และ introvert มีความแพร่หลายเป็นอย่างมาก แต่ๆๆๆเราจะพูดแค่เรื่อง introvet(=รู้สึกได้ชาร์จเอเนอจีตอนอยู่คนเดียว แนวๆนั้น) แต่คนยุคผม(ปี2000+) มักจะเข้าใจว่า introvert = ไม่ชอบเจอคน ไม่อยากเจอคน ไม่อยากมีสังคม แต่มันไม่ใช่เลย  พอหลายๆคนมองว่า introvert คือไม่ชอบเจอคน จึงทำให้สมองหยิบเอาคำว่า introvert ไปเป็นเครื่องมือ(อีกครั้ง) ให้คนที่เชื่อเหลือเกินว่าตัวเองนั้นเป็นอินโทรเวิร์ต ไม่ต้องไปเข้าสังคม ไม่เจอคนใหม่ๆ (เหตุผลจะวนกลับไปที่การรักษาพลังงาน) 

ส่วนตัวผมนั้นไม่เชื่อว่าการจำแนกประเภทคนมีอยู่จริง แต่มันเป็นแค่เครื่องมือที่ถูกหยิบมาใช้เพื่อให้เราไม่กล้าก้าวข้ามความเป็นตัวเรา(ณ ตอนนั้น)เท่านั้น (ส่วนตัวผมเคยเชื่อมากๆว่าตัวเองนี่แหละอินโทรเวิร์ตไม่เข้าสังคม แต่ผมได้ลองดูแล้วว่าการจำแนกประเภทคนนั้นใช้ไม่ได้ผลจริง กลับกันเหมือนกับว่ามันเป็นแค่การจำแนกพฤติกรรมของคน ณ เวลานั้นๆมากกว่า ไม่ใช่การจำแนกเพื่อบอกว่าใครเป็นแบบไหนไปตลอดชีวิต)


#zap #nostr #siamstr 
 ในคืนวันปีใหม่ผมและ @Tendou ได้นั่งคุยกันเรื่องโลกร้อน เรื่องที่ผมเพิ่งเล่าให้ทุกคนฟังไปก่อนหน้านี้ หลังจากนั้นเราก็ได้พากันโยงมาเข้าเรื่อง PM 2.5 (ได้ไงไม่รู้555) 

ทุกคนคิดว่า PM 2.5 มาจากไหน ประเทศไหนเป็นพิเศษมั้ย หรือเพราะคนในประเทศเราเอง?
แล้วทำไมแถวภาคเหนือของประเทศช่วงนึงถึงฝุ่นลงหนักมาก?

ผมได้รับมอบหมายจากอาจารย์ให้ทำเรื่องเกี่ยวกับการแก้ปัญหาต่างๆในสังคม โดยอาจารย์มีเรื่องให้เลือกเยอะม๊ากกก วันนั้นผมตัดสินใจเลือกเป็นเรื่อง PM 2.5 ผมได้หาข้อมูลมาเปรยๆคร่าวๆ แล้วได้เรื่องเล่ามาเล่าวันนี้แบบสั้นๆ

ปัญหามันเริ่มต้นเมื่อรัฐบาลอยากเพิ่มสินค้าการส่งออก โดยมีการสนับสนุนให้ทำปศุสัตว์ ภายในประเทศ เมื่อมีการทำปศุสัตว์ภายในประเทศ ก็ต้องมีอาหารสัตว์ จึงมีการปลูกพืชเลี้ยงสัตว์เพิ่มมากขึ้น ตอนแรกอาจจะมี local sme ที่ส่งพืชเลี้ยงสัตว์ให้บริษัทที่ทำปศุสัตว์ไม่กี่ราย แต่ที่ทำให้การปลูกพืชเลี้ยงสัตว์มาบูม เพราะว่า ทางบริษัทที่ทำปศุสัตว์เองมีเกษตรพันธะสัญญาให้เกษตรกรที่มาทำด้วย รับประกันรายได้ มีความมั่นคง ใครจะไม่อยากทำล่ะคนก็แห่กันมาทำเพราะต้องการความมั่นคง จากตอนแรกต้องหาขายเองไรงี้ ตอนนี้มีพันธะสัญญา เกษตรกรเขาก็อยากได้ความมั่นคง เพราะราคาในการขายพืชชนิดนั้นๆที่ใช้เลี้ยงสัตว์ได้ก่อนจะมามีเกษตรพันธะสัญญาต้องบอกว่ามันไม่ได้ดีเท่าไหร่ หลังจากนั้นไม่นานปัญหาจริงๆกำลังจะเกิดขึ้น เมื่อถึงฤดูเก็บเกี่ยว หลังจากการเก็บเกี่ยว เกษตรกรต้องปรับหน้าดินเพื่อให้ปลูกต่อได้โดยเร็ว จริงๆการปรับหน้าดินเนี่ยมันมีหลายวิธี แต่วิธีที่จะทำได้เร็วและประหยัดที่สุดคือการเผา(ทำให้เกิด PM 2.5) ที่มาของการเผาก็คือในเกษตรพันธะสัญญาไม่ได้มีความสนับสนุนด้านการปรับหน้าดินที่มากพอ หรืออาจจะไม่มีเลย นอกจากนั้นบางบริษัทยังบังคับให้ซื้อ เมล็ดพันธ์ ปุ๋ย ยาฆ่าแมลง จากทางบริษัทเองด้วย จึงทำให้เกษตรกรไม่มีทางเลือกมากนักในการปรับหน้าดิน ก็เลยเกิดการเผา
เสริม:หรือแม้แต่แวร์เฮาส์ที่เอาไว้เก็บพืชพันธุ์หลังเก็บเกี่ยว เกษตรกรอาจจะต้องสร้างเองด้วย
แต่ยังไม่ได้จบที่แค่นั้น รัฐบาลได้ทำการออกนโยบายจูงใจนักลงทุน ที่ทำให้นำเข้าพืชเลี้ยงสัตว์จากต่างประเทศได้โดยไม่ต้องเสียภาษี(เพื่อเพิ่มปริมาณการส่งออกเนื้อสัตว์?) บางบริษัทจึงมีการไปดีลกับเกษตรกรต่างประเทศที่บริเวณใกล้เคียง แบบที่ทำกับเกษตรกรภายในประเทศ จึงเกิดการเผาจำนวนมหาศาลเพิ่มมาจากต่างประเทศตามพื้นที่ต่างๆรอบๆแม่น้ำโขงตอนเหนือของประเทศ

ที่มา: https://www.greenpeace.org/thailand/explore/transform/food-system-petition/

#nostr 
#siamstr
#zap 
 Today, I have a fun story to share. I know a teacher who instructs Thermodynamics (a subject I failed). We have classes every Thursday afternoon.

As everyone sat in the room waiting for the teacher,he walked in and announced, "Have you heard the news? International scientists are urging governments to prioritize addressing global warming before it reaches a point of no return."

After the teacher finished speaking, I thought, "The teacher must want us to get involved since we're students, the new generation." Later, the teacher drew a diagram on the board (I attempted to draw it here, but apologies if there are errors).

It depicted us placing the sun and Earth into a system, defining what objects we want to consider in this system (what we are interested in),we called “system boundary” in thermodynamics. The outer boundary had nothing (as the universe hasn't expanded yet), and inside was our solar system. It simplified to placing Earth and the sun into the same glass of water.

Applying the first law of thermodynamics (energy doesn't disappear, just changes form), let's say we have a very hot sun dunked into a glass with a slightly cool Earth. Initially, the water around the sun would heat up, transferring energy to the Earth until everything reaches the same temperature.

Connecting this to the zeroth law of thermodynamics (the temperatures of A and B are equal, and B and C are equal, so A and C are equal), it concludes that the temperatures of the sun, Earth, and the water in the glass would be the same. In this scenario, if there were more planets in the solar system, they would help distribute the heat.

The teacher then said, "In reality, we haven't had a point of no return from the start. Some just see the benefits of profiting from global warming."

The teacher's perspective on global warming is thought-provoking. Apologies if there are any mistakes in my explanation.

#nostr
#siamstr 
 วันนี้มีเรื่องสนุกๆมาเล่าให้ฟัง 

ผมรู้จักกับอาจารย์ท่านนึง ท่านสอนวิชาเทอโมไดนามิกส์(วิชาที่ผมสอบตก) เราจะเรียนด้วยกันทุกบ่ายวันพฤหัส 
//ตอนที่ทุกคนนั่งในห้องรออาจารย์มาสอน
อยู่ๆอาจารย์ก็เดินเข้ามาแล้วเปิดว่า “ มีใครเห็นข่าวมั้ย ที่นักวิทยาศาสตร์ต่างประเทศออกมาเรียกร้องให้รัฐบาลประเทศต่างๆให้ความสำคัญเรื่องโลกร้อน ก่อนที่โลกจะเลยจุดหวนกลับมั้ย(ถ้าผ่านจุดหวนกลับที่ว่าเราจะไม่มีโลกที่อากาศดีอีกต่อไป โลกที่แปรปรวนคือปลายทางถัดไป) “ 
หลังจากอาจารย์พูดจบผมคิดในใจว่า “ อาจารย์ต้องมาเรียกร้องให้เราช่วยกันแน่ เพราะเราเป็นนักศึกษา เราเป็นคนรุ่นใหม่ “ 
หลังจากนั้นอาจารย์ก็ได้เขียนกระดานหน้าห้องเป็น รูปด้านล่าง (อันนี้ผมวาดเอง อาจจะผิดพลาดต้องขออภัยล่วงหน้าตรงนี้เลย) มันเป็นรูปของ การที่เราหยิบเอา ดวงอาทิตย์ และ โลก เข้าไปในระบบ แล้วเราก็สนใจแค่โลกกับดวงอาทิตย์ เราจะเรียกว่า system boundary มันเหมือนเป็นการตีกรอบว่าเราจะเอาวัตถุอะไรบ้างมาคิดในระบบนี้(เอาแค่ที่เราสนใจไรงี้) จากรูป ด้านนอกกรอบคือไม่มีอะไรเลย(ส่วนที่จักรวาลยังขยายตัวไปไม่ถึง) ส่วนด้านในคือจักรวาลของเรา สมมติให้มีแค่ดวงอาทิตย์กับโลก มองง่ายๆคือเหมือนเราเอาโลกกับดวงอาทิตย์ลงไปไวในน้ำแก้วเดียวกัน 
จากกฎข้อที่หนึ่งของเทอโมไดนามิกส์คือพลังงานจะไม่หายไปไหน ไม่เกิดใหม่ แค่จะเปลี่ยนรูป(หรือที่ผมมองแบบอย่างง่ายสุดคือย้ายที่) 
สมมติเรามีดวงอาทิตย์ที่ร้อนมากหย่อนลงในน้ำแก้วเดียวกันที่มีโลกอุณหภูมิน้อยๆเมื่อเทียบกับดวงอาทิตย์ มันจะเหมือนเราเอาเหล็กก้อนกลมร้อนๆจุ่มลงในน้ำที่มีเหล็กกลมอีกก้อน ตอนแรกน้ำบริเวณรอบๆจะร้อนก่อน แล้วค่อยๆร้อนจนหมดทั้งแก้ว แต่ในแก้วน้ำไม่ได้มีแค่เหล็กที่ร้อน มีเหล็กอีกก้อนด้วย น้ำจะถ่ายเทพลังงาน(ความร้อน)ไปให้เหล็กอีกก้อน(โลก) จนสุดท้ายทั้งอุณหภูมิของน้ำ ดวงอาทิตย์ และโลก จะเท่ากันในที่สุด 
ไปเข้ากับกฎเทอโมไดนามิกส์ข้อที่ศูนย์(อาจารย์บอกว่า “ที่เรียกว่ากฎข้อที่ศูนย์คือจริงๆเป็นข้อหนึ่งแต่ลืมเขียนตั้งแต่แรก เลยเอามาเป็นข้อศูนย์แทน” ผมแบบ “ห๊ะ5555 มีงี้ด้วยแฮะ”) 
กฎข้อที่ศูนย์ของเทอโมไดนามิกส์คือการที่วัตถุ A และ B อุณหภูมิเท่ากัน และอุณหภูมิของ B และ C ก็เท่ากันด้วย แปลว่าอุณหภูมิของ A เท่ากับ C (ขออนุญาตอธิบายแบบเข้าใจง่าย) เลยเป็นการที่สุดท้ายแล้วทั้ง 3 วัตถุในกรอบระบบที่เราคิดขึ้นมา(ในแก้วน้ำ) คือเหล็กที่ร้อน(ดวงอาทิตย์) น้ำในแก้ว และเหล็กอีกลูก(โลก) ทั้ง 3 จะอุณหภูมิเท่ากันเพราะดวงอาทิตย์ทำการปล่อยความร้อนตลอดเวลา เอาง่ายๆคือโลกกับดวงอาทิตย์จะต้องร้อนเท่ากันในวันใดวันนึง ถ้ามีดาวในระบบสุริยะเยอะก็จะช่วยกันหารค่าความร้อนเฉยๆ 
หลังจากนั้นอาจารย์บอกกับพวกเราในห้องว่า “ ผมว่าจริงๆแล้วเราไม่ได้มีจุดหวนกลับมาตั้งแต่แรกหรอก แค่มีคนบางกลุ่มมองเห็นการใช้ประโยชน์จากการที่โลกร้อนมาหาผลกำไรเท่านั้น ”

มุมมองที่อาจารย์มองเกี่ยวกับภาวะโลกร้อนก็แอบน่าคิดน่าเอามาแบ่งปัน
ถูกผิดยังไงขออภัยด้วยนะครับ

#siamstr
#zap
#nostr https://image.nostr.build/b3a519137c73551e2dbd51001ee87ddd04937fc4ef4fbcfdbf2da5999af717ae.jpg  
 สวัสดีครับ ผมเชร็คเอง ไอ้หนุ่มเสื้อขาวในคลิป
#Siamstr nostr:note1cvje9h3xrdcrs4a5ta7harm2jqpur7d0cx22khjtlg62h5r2ycjsrejatd