ในคืนวันปีใหม่ผมและ @Tendou ได้นั่งคุยกันเรื่องโลกร้อน เรื่องที่ผมเพิ่งเล่าให้ทุกคนฟังไปก่อนหน้านี้ หลังจากนั้นเราก็ได้พากันโยงมาเข้าเรื่อง PM 2.5 (ได้ไงไม่รู้555)
ทุกคนคิดว่า PM 2.5 มาจากไหน ประเทศไหนเป็นพิเศษมั้ย หรือเพราะคนในประเทศเราเอง?
แล้วทำไมแถวภาคเหนือของประเทศช่วงนึงถึงฝุ่นลงหนักมาก?
ผมได้รับมอบหมายจากอาจารย์ให้ทำเรื่องเกี่ยวกับการแก้ปัญหาต่างๆในสังคม โดยอาจารย์มีเรื่องให้เลือกเยอะม๊ากกก วันนั้นผมตัดสินใจเลือกเป็นเรื่อง PM 2.5 ผมได้หาข้อมูลมาเปรยๆคร่าวๆ แล้วได้เรื่องเล่ามาเล่าวันนี้แบบสั้นๆ
ปัญหามันเริ่มต้นเมื่อรัฐบาลอยากเพิ่มสินค้าการส่งออก โดยมีการสนับสนุนให้ทำปศุสัตว์ ภายในประเทศ เมื่อมีการทำปศุสัตว์ภายในประเทศ ก็ต้องมีอาหารสัตว์ จึงมีการปลูกพืชเลี้ยงสัตว์เพิ่มมากขึ้น ตอนแรกอาจจะมี local sme ที่ส่งพืชเลี้ยงสัตว์ให้บริษัทที่ทำปศุสัตว์ไม่กี่ราย แต่ที่ทำให้การปลูกพืชเลี้ยงสัตว์มาบูม เพราะว่า ทางบริษัทที่ทำปศุสัตว์เองมีเกษตรพันธะสัญญาให้เกษตรกรที่มาทำด้วย รับประกันรายได้ มีความมั่นคง ใครจะไม่อยากทำล่ะคนก็แห่กันมาทำเพราะต้องการความมั่นคง จากตอนแรกต้องหาขายเองไรงี้ ตอนนี้มีพันธะสัญญา เกษตรกรเขาก็อยากได้ความมั่นคง เพราะราคาในการขายพืชชนิดนั้นๆที่ใช้เลี้ยงสัตว์ได้ก่อนจะมามีเกษตรพันธะสัญญาต้องบอกว่ามันไม่ได้ดีเท่าไหร่ หลังจากนั้นไม่นานปัญหาจริงๆกำลังจะเกิดขึ้น เมื่อถึงฤดูเก็บเกี่ยว หลังจากการเก็บเกี่ยว เกษตรกรต้องปรับหน้าดินเพื่อให้ปลูกต่อได้โดยเร็ว จริงๆการปรับหน้าดินเนี่ยมันมีหลายวิธี แต่วิธีที่จะทำได้เร็วและประหยัดที่สุดคือการเผา(ทำให้เกิด PM 2.5) ที่มาของการเผาก็คือในเกษตรพันธะสัญญาไม่ได้มีความสนับสนุนด้านการปรับหน้าดินที่มากพอ หรืออาจจะไม่มีเลย นอกจากนั้นบางบริษัทยังบังคับให้ซื้อ เมล็ดพันธ์ ปุ๋ย ยาฆ่าแมลง จากทางบริษัทเองด้วย จึงทำให้เกษตรกรไม่มีทางเลือกมากนักในการปรับหน้าดิน ก็เลยเกิดการเผา
เสริม:หรือแม้แต่แวร์เฮาส์ที่เอาไว้เก็บพืชพันธุ์หลังเก็บเกี่ยว เกษตรกรอาจจะต้องสร้างเองด้วย
แต่ยังไม่ได้จบที่แค่นั้น รัฐบาลได้ทำการออกนโยบายจูงใจนักลงทุน ที่ทำให้นำเข้าพืชเลี้ยงสัตว์จากต่างประเทศได้โดยไม่ต้องเสียภาษี(เพื่อเพิ่มปริมาณการส่งออกเนื้อสัตว์?) บางบริษัทจึงมีการไปดีลกับเกษตรกรต่างประเทศที่บริเวณใกล้เคียง แบบที่ทำกับเกษตรกรภายในประเทศ จึงเกิดการเผาจำนวนมหาศาลเพิ่มมาจากต่างประเทศตามพื้นที่ต่างๆรอบๆแม่น้ำโขงตอนเหนือของประเทศ
ที่มา: https://www.greenpeace.org/thailand/explore/transform/food-system-petition/
#nostr
#siamstr
#zap