“…the saver-investor initiates a "process of civilization." In generating a tendency toward a...
Long live your highness nostr:nevent1qqsdgf68nya76mxg4ugrcwqws4z08v8kg7p353jg09070hfxpxscsvszyq5uq76qsc8sdhmurtdx4ukvddx9gxmk5us9gtt7uezuyry52tlayyru082
Based
Hi #siamstr
แมว
https://youtu.be/X6_JfbFQ4AE?si=WCW7xZXxmEGd6p-v Based
Hi สวัสดีครับ น้องใหม่ครับ #Siamstr
ใคร
nostr:npub1dkd59r7zg45wthcce56cayltcqqp4km8dg9zzffgwpz48htaf0gqsa47gq เมื่อไหร่...
ชาตินี้ว่างแล้วเขียน
ของดีจะฟังกันทำไมหลายรอบ เนาะ! 5555 ห...
ให้คุณอาร์มจัดเลยครับ
Blackrock มีแต่ยิว มองไปทางไหนก็มีแต่ยิว เกิดอะไรขึ้นกับโลกเรา? #siamstr
5555555
เป็นไปได้ครับ
ABCT = Austrians Business cycle theory โดยอธิบายการเกิด Boom & B...
ตย.ในสมัยรัฐบาลประยุทธของแพงขึ้นอย่างเห็นได้ชัดหลังเกิดเชื้อโควิด-19 แล้วรัฐบาลทั่วโลกออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจมาหลายที่ โดยของไทยแจกเงินไม่ถึงปีสองปีหลายร้านค้าทะยอยขึ้นราคาสินค้าและบริการกันหมด จึงไม่แปลกที่หลังจากนี้มันจะเกิดผลกระทบตามมาเร็ว (เกิดหลังมาตรการแจกเงินจบ)
ตอนนี้กำลังเกิด economic boom แล้วจากนั้นไม่นานปี 69-70 economic bust ก็จะเกิดตามมา รอดูกันครับพี่น้อง ABCT ไม่เคยพลาดกับจังหวะรัฐบาลเป็นผู้เริ่มสร้างความเสียหายกับประเทศ #siamstr
ใช่ครับ แต่แม้แต่ mainstream economics มันก็บอกให้ชัดเจนไม่ได้เหมือนกัน ตอนต้มยำกุ้งเคยมีเทคโนแครตไทยพยายามหาทางหลีกเลี่ยงแล้วมันก็ทำไม่ได้ สุดท้ายผมมองว่าออสเตรียนเข้าใจกลไกของระบบทำให้อย่างน้อยบอกได้ว่าามาเวย์นี้ยังไงก็เกิดขึ้นแน่นอน ส่วนที่ผมบอก economic boom ผมเอามาจากการประเมินตอนช่วง รบ ประยุทธ แค่มาตรการเราชนะ คนละครึ่งยังเพิ่มราคาของให้ขึ้นขนาดนี้ได้ ถ้า รบ เพื่อไทยแจกอีกมันจะไม่สะท้อนให้ราคาสินค้าและบริการมันเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วหรอกหรือ ผมเลยคิดว่าก่อนเลือกตั้ง 70 ปห.หลายอย่างจะเห็นได้ชัดเจน
ชอบการ insert วิชาเศรษฐศาสตร์เคนส์อัน...
ไว้ไปตาม nostr:nevent1qqsvnzdceha9gztfv5vx5jx2eqp5gf6j9xe3pyqhgqgmvpcqkx8480gzyry4nqtff749902ges39l94k8kj4v7v52vfal6ukh0dm7crur8nugs8y8ur
ผมอยากพูดถึงเรื่องแจกเงินหมื่นสักหน่อย (ผ่านบัตรประชารัฐ-บัตรคนจน) เรื่องนี้มันมีอยู่ว่าผมเคยคุณกับคุณอาร์ม nostr:nprofile1qqsqjyfsuudfsf4wsxa5qzjzjz5wyavyfzz9z92e5rcp8lwqwfdjcjs6jqxr0 เกี่ยวกับการจะนำเสนอแนวคิดทางการเมือง ความเชื่อทางเศรษฐกิจ หรือ การสอนว่าเราควรจะบริหารการเงินภายในอย่างไรให้ชาวบ้านเขาเข้าใจ ซึ่งเรื่องนี้มันเป็นเรื่องยากมากครับ... ต้องยอมรับว่าในความเป็นจริงคนไทยทั่วไปขาดความรู้ทางการเงิน (lack of financial literacy) ซึ่งเป็นเรื่องใหญ่สำหรับคนไทยในยุคข้าวยากหมากแพงครับ มันยากมากที่จะสื่อสารไม่รู้ทำอย่างไร วันนี้ผมตามข่าวเรื่องเงินหมื่นจะเห็นว่าพี่น้องชาวบ้านภาคอีสาน ภาคเหนือหลายคนที่ได้รับสิทธิ์ในบัตรคนจนได้เงินไป ก็เฮโลจนถึงขั้นเป็นลมร้องไห้น้ำตาคอลก็มี 😔 สำหรับคนทั่วไปมันเป็นเรื่อง "น่ายินดี" ในสถานการณ์เฉพาะหน้าที่พวกเขาไม่มีรายได้แล้วพอรัฐให้ก็มีความหวังกับรัฐบาลมากขึ้น .... แต่สำหรับผู้ที่เข้าใจเศรษฐศาสตร์จะเห็นว่าการกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการแจกเงินมันเป็นแค่การเยียวยาในระยะสั้น คือคนได้ซื้อของกิน ซื้อสิ่งที่จำเป็น บางคนก็ไปซื้อสิ่งที่ไม่จำเป็นในชีวิต ยกตัวอย่างเช่น การลงอ่าง การซื้อเหล้าซื้อเบียร์ เป็นต้น ซึ่งมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจมาก แต่สำหรับผมมันหดหู่ที่คนธรรมดาหลายคนที่ไม่รู้แม้แต่ความรู้ด้านการเงินขั้นพื้นฐาน พวกเขามีหน้าที่ต้องทำงานหาเช้ากินค่ำ ไม่มีเวลามานั่งศึกษาหาความรู้ลำพังแค่เอาชีวิตรอดแบกรับภาระจากครอบครัวและลูกหลานก็หมดวันแล้ว โดยที่พวกเขาต้องมาแบกรับผลกระทบทางเศรษฐกิจหลังจากนี้อีกที่ไล่บี้คนตัวเล็กตัวน้อยให้ต้องล้มหายตายจาก แล้วเรื่องนี้คือโจทย์ที่ยากที่สุดว่าเราจะแก้ปัญหาให้เป็นรูปธรรมอย่างไรทั้ง 1.การสื่อสารกับชาวบ้าน และ; 2.แนวทางของทางเลือกอื่นที่ไม่ใช่ Keynesianism จะแก้วิกฤตอย่างไร #siamstr
https://image.nostr.build/051cc94f2337ee8f78ff6a934a7ad2c0c25abfa8148796da6f023756d11ba968.png ประมาณนี้ 🤧
https://youtu.be/ZyoatfzxQ9s?si=AzEMs1dUUGPdJ1Pu 🔥🔥🔥🔥 #siamstr
คิดว่าในเกมประชาธิปไตยนี้ คอนเซ็ป "อิสรภาพทางเศรษฐกิจ" จะสามารถมีชัยเหนือกว่าอำนาจรัฐอย่างไรครับ? ในกรณีที่บ่อยครั้งผมเห็นหลายคนพยายามถลำลึกลงไปหาเทคโนโลยีที่รัฐไม่สามารถแตะต้องได้ แต่ก็อย่าลืมว่าการวางรากฐานของรัฐหลายประเด็นในยุคดิจิทัลนี่เองสร้างสภาวะให้ตัวเราในโลกความเป็นจริงไม่สามารถหลุดพ้นจากรัฐได้ ยกตัวอย่างเช่น 1.การผลักดัน "สังคมไร้เงินสด" (cashless society) มันเป็นอีกเครื่องมือนึงที่รัฐจะสามารถควบคุมเงินในเทคโนโลยีที่ตนเองสามารถควบคุมได้ เผลอ ๆ ดูเงินในบัญชีแล้วสุดท้ายต้องบังคับให้คุณต้องจ่ายภาษี กล่าวคือ รัฐผลักดันเทคโนโลยีที่สร้างการรวมศูนย์คนในประเทศตลอดเวลายิ่งรวมศูนย์เท่าไหร่ยิ่งดี (มุมมองของรัฐ) 2.มโนทัศน์ว่าด้วยเรื่อง "ทุนนิยมสอดส่อง" (Surveillance capitalism) ทุกวันนี้เทคโนโลยีที่เป็นในปัจจุบันพยายามศึกษาเรียนรู้พฤติกรรมของมนุษย์ทุกอย่างก้าว ในมุมที่อันตรายของเรื่องนี้คือมันสามารถเอาความเป็นส่วนตัวของเราไปให้รัฐบาลได้ทุกเมื่อโดยเหตุผลเรื่อง "ความมั่นคง" เป็นต้น ฯลฯ ในเกมการเมืองแบบประชาธิปไตยหลายคนอาจถอดหวังกับนักการเมืองไปแล้วว่ามันไม่ได้เปลี่ยนแปลงอะไรหรอก <<คุณพูดถูกครับ>> การปฏิรูประบอบจากนักการเมืองที่เข้ามาในระบบมันเปลี่ยนอะไรไม่ได้เท่าที่ควร ประวัติศาสตร์มักถูกเขียนโดยวีรบุรุษที่ไม่ได้เดินตามระบบอย่างการปฏิรูป แต่เป็นการปฏิวัติ การใช้ "นักการเมือง" เป็นเพียงแค่กลยุทธ์หนึ่งเท่านั้นที่จะใช้ขึ้นมาทำให้อุดมคติให้เกิดขึ้นจริง ซึ่งกลยุทธ์ต่างๆมีดีและเสียตามกันไป แต่สาระสำคัญที่อยากจะพูดก็คือ โลกเราไม่ได้เปลี่ยนแปลงเพราะนั่งเฉยๆ แต่ต้องทำอะไรสักอย่างที่เป็นการ antithesis กับสิ่งที่เรียกว่าอำนาจรัฐ (เรื่องนี้ขยายความเพิ่มต่อในบทความเรื่องแยกเงินออกจากรัฐ ตอนที่ 2 กับ 3 นะครับ) #siamstr
จากในงาน BOT Symposium 2024 จะเห็นว่าประเทศไทยเรามีเทคโนแครตฉลาด ๆ กันทั้งนั้นเลยแต่ทำไมยังไม่เจริญหนอ... 😁🤔 #siamstr
มีแหละแต่จะไล่ฟังก็ขี้เกียจมีหลายคลิป แต่ละคนคุ้นหน้ากันทั้งนั้นคนับ 😁
เงินภายใต้โลกสมัยใหม่ ผมเห็นประเด็นนึงน่าพูดมากมันอาจเป็นเรื่องท้าทายสำหรับคนวางเป้าหมายเรื่องการเร่งให้เสื่อมสลายของระบบเงินเฟียด (fiat standard) แล้วคาดหวังเรื่อง “แยกเงินออกจากรัฐ” (โพสต์นี้มีการสปอยเนื้อหาถัดไป แต่ผมอยากพูดในมุมหนึ่งของมิตรสหายท่านหนึ่งในเฟซบุ๊คของกระผม) ประเด็นสำคัญที่ควรจะพูดให้ชัดเจนมันเรียงลำดับให้เข้าใจง่ายแบบนี้ครับ “โลกสมัยใหม่” (modern world) คือชื่อเรียกเรื่องราวของอารยธรรมมนุษย์ ณ จุดหนึ่งที่มีความรุ่งเรืองที่สุด มันประกอบไปด้วยดังต่อไปนี้ ยุคเรืองปัญญา (Enlightenment) ⇒ การสร้างชาติ (nation-building) ⇒ “รัฐ-ชาติสมัยใหม่” (modern nation-state) ⇒ การรวมศูนย์อำนาจ (centralization) ⇒ การศึกษา, ความมั่นคงทางการทหาร, การเลือกตั้ง, ทะเบียนที่ดิน, ภาษีนำเข้า, การค้าระหว่างประเทศ, การทูตระหว่างประเทศ, การธนาคาร, การเงิน, การเก็บภาษี, การจดทะเบียนบริษัท, สถาบันตำรวจ, กฎหมาย, ศาล, สาธารณสุข, ความเป็นพลเมือง, สิทธิพลเมือง, เสรีภาพขั้นพื้นฐาน, จดทะเบียนสมรส, ทะเบียนเกิด, ผู้อพยพ, โครงสร้างการขนส่ง, เทศบาล … กล่าวคือทุกสิ่งทุกอย่างคุมโดย “รัฐ” โดยที่เป็นรัฐบาลสาธารณะ (public government) (รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งขึ้นมามีฐานะเป็น “caretaker” ของทรัพย์สินที่เรียกว่ารัฐ ไม่ใช่ “เจ้าของรัฐ”) ในกรณีรัฐควบคุมเงินตราในยุคนี้มันเป็นผลพวงมาจาก “ยุคเรืองปัญญา” จะเห็นได้จากความซับซ้อนของระบบที่มากกว่ายุคโบราณที่แม้ว่าจะเดินตามรอยเหมือนกันเรื่องของเงินที่พิมพ์ได้อย่างไม่จำกัด แต่ผมอยากจะพูดสิ่งที่มันอันตรายนะครับว่าทางออกของเรื่องนี้แท้จริงแล้วมันคืออะไร? สำหรับมุมมองของสหายท่านหนึ่งในเฟซบุ๊คท่านนี้เขาไม่เห็นด้วยกับแนวทางของอิสรนิยมแบบสายฮอปเปอร์ก็คือเรื่องของ “การกระจายอำนาจ” (decentralization) แต่ก็มองว่าเงินที่ถูกรัฐควบคุมก็เป็นปัญหา ตรงนี้เขาก็ไม่กล้าแตะปัญหาจริงๆ ว่าปัญหาที่รัฐควบคุมเงินมันเป็นผลพวงมาจากการรวมศูนย์ของรัฐเอง ผมมองว่าปัญหาเรื่องนี้มันมองไปได้จุดเดียวคือ “ยุคเรืองปัญญา” แล้วการจะออกจากตรงนี้ได้นั้นโดยมองการแก้ปัญหาอย่างขั้นสุดมันจะต้อง “ย่อยสลายรัฐชาติ” ในโลกปัจจุบัน (แม้ว่าจะคงเศษซากยุคเรืองปัญญาแต่มันอาจมีสิ่งใหม่มาแทนที่เช่น Dark Enligtenment และ Decentralization) แต่สหายท่านนี้ของผมไม่ประสงค์จะทำแบบนี้ซึ่งผมมองเป็นขั้นเป็นตอนนะสุดท้ายมันก็จบลงที่รัฐต้องควบคุมเงินอยู่เหมือนเดิมไม่มีวันเปลี่ยนแปลงความจริงนี้ได้ตราบเท่าที่ไม่แก้ต้นเหตุของปัญหาทั้งหมด ปล.ผมไม่ได้พูดในเชิงวาทศิลป์เพื่อดึงมวลชน หรือ ด้อยค่าแนวคิดคนอื่นในเชิงทฤษฏี แต่ผมมองตรงกันข้ามในเชิงปฏิบัติแล้วชี้ให้เห็นถึงปัญหาว่าแท้จริงแล้วจุดเริ่มต้นจากจุดหนึ่งนำไปสู่อะไรบ้างครับ #siamstr #politics
คนคลั่งรัก 555
Luna ❤❤❤❤ nostr:nevent1qqspsskay8kpn60zuwxtnha009h7u3fua2s3gzl0qj8wsqzv030jzvszyqy3zv88r2vzdt5phdqq5s5s4r38tpzgs3g32kdq7qflmsrjtvky543r78x
https://youtu.be/W8MldzV-rxo?si=iPFtxH_vCilXHUOP 🥰😍🤤
nostr:nprofile1qqsqjyfsuudfsf4wsxa5qzjzjz5wyavyfzz9z92e5rcp8lwqwfdjcjs6jqxr0 🤤
"แยกเงินออกจากรัฐ" ตอนที่หนึ่ง <ทฤษฏีอภิชน หรือ ทฤษฏีว่าด้วยเรื่องชนชั้นนำ> บทสรุปเรื่อง “การแยกเงินออกจากรัฐอยู่ตอนที่สาม” ผมอาจจะเขียนเรื่องนี้ในเชิง "ปฏิบัติ" ว่าการแยกเงินออกจากรัฐสามารถทำอย่างไรได้บ้างผ่านมุมมองทางรัฐศาสตร์ ทั้งนี้อยากชี้ให้เห็นถึงความขัดแย้งเกี่ยวกับศาสตร์แห่งการโน้มน้าวใจคนด้วยเช่นกันว่าภายมุมมองการโน้มน้าวคนภายใต้เกมประชาธิปไตยมันมีข้อดีข้อเสียอย่างไรบ้าง โดยจะอ้างอิงทฤษฏีอภิชน (elite theory) ผ่านมุมมองของสำนักคิดทฤษฏีชนชั้นนำของสำนักอิตาลีและแนะแนวข้อคิดเห็นเกี่ยวกับประชาธิปไตยผ่านมุมมองของอิสรนิยมแบบเก่า (paleolibertarianism) ถ้าใครยังไม่มีพื้นฐานสองเรื่องที่ผมจะอ้างอิงนี้ผมอาจจะปูให้คร่าวๆ ก่อนว่ามันคืออะไรและมีความเป็นมาอย่างไร ก่อนทำความเข้าใจเรื่องทั้งหมดจะต้องเท้าความสำคัญของทฤษฏีว่าด้วยเรื่องชนชั้นนำก่อนว่ามันคืออะไร? มันจะเกี่ยวข้องยังไงกับเรื่องการ “แยกเงินออกจากรัฐ” เริ่มต้นจาก: นิยามและความหมายของทฤษฏีชนชั้นนำ: ทฤษฏีชนชั้นอภิชนหมายถึงทฤษฏีที่อธิบายความสัมพันธ์ในเรื่อง "อำนาจ" ภายในสังคมมนุษย์ ซึ่งสังคมมนุษย์บ่อยครั้งมักจะมีชนชั้นนำที่ถือเป็น "คนส่วนน้อย" (minority) มีส่วนสำคัญในการตัดสินใจในทิศทางเศรษฐกิจ การเมืองและสังคม “คนส่วนน้อย” หากขยายความให้เข้าใจง่ายคือพวกเขาเป็นชนชั้นนำทางเศรษฐกิจ การเมือง สังคมและอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเครือข่ายผู้กำหนดนโยบายของทุกภาคส่วนของสังคมก็ได้ กล่าวได้ว่าทฤษฏีชนชั้นนำ หรือ ทฤษฏีอภิชนเป็นเรื่องที่นำมาอธิบายปรากฏการณ์ทางสังคมในยุคปัจจุบันที่เป็นอยู่ได้ ยิ่งกว่านั้นการจำแนกกลุ่มชนชั้นนำจะมีรายละเอียดยิบย่อยถึงบทบาทและหน้าที่ภายในสังคมมาก แต่ถ้าเอากลุ่มที่สำคัญจริงคือ "กลุ่มทุนใหญ่" (ในไทยหรือต่างประเทศน่าจะเดาได้ว่าใครบ้าง) กลุ่มเหล่านี้มีอิทธิพลต่อเหล่าผู้กำหนดนโยบายสาธารณะมากแล้วมีเงินทุนพอที่จะขับเคลื่อนแคมเปญทางการเมือง การสร้างสถาบันทางอุดมการณ์และอื่น ๆ เพื่อรักษาสถานภาพของตนภายในสังคม หลักฐานเชิงประจักษ์จะเห็นได้จากเวลาพรรคการเมืองที่ชนะการเลือกตั้งในประเทศไทยบ่อยครั้งมักจะมีภาพลักษณ์ที่ต้องผูกติดทักทายกันกับกลุ่มชนชั้นนำทางเศรษฐกิจอยู่เสมอ (ต่างประเทศก็เป็น) แน่นอนว่าภาพลักษณ์แบบนี้ประชาชนไม่ได้อะไรครับ…. ในส่วนคำนิยามนี้สามารถสรุปสั้นๆคือ “ทุกสิ่งทุกอย่างในสังคมถูกกำหนดโดยชนชั้นนำ” ความเป็นมาของทฤษฏี: ทฤษฏีว่าด้วยเรื่องชนชั้นนำเริ่มต้นจากนักประวัติศาสตร์ชาวกรีกนาม Polybius เขาเป็นคนจำแนกที่มาของแหล่งอำนาจทางการเมืองมาจาก 3 แหล่ง ได้แก่: 1.อำนาจทางการเมืองที่เกิดจากเพียงคนเดียว เช่น กษัตริย์ (monarchy) 2.อำนาจทางการเมืองเกิดจากกลุ่มคนไม่กี่คน เช่น อภิชนาธิปไตย (aristocracy) 3.อำนาจทางการเมืองที่เกิดจากประชาชน เช่น ประชาธิปไตย (democracy) ซึ่ง Polybius เขาได้บอกไว้ว่าทั้ง 3 อย่างนี้สามารถแปรผันไปสู่สิ่งอื่นได้หากการปกครองขาดความสมดุล เช่น กษัตริย์สามารถเป็นทรราชได้, ประชาธิปไตยสามารถเป็นทรราชของคนหมู่มาก, อภิชนาธิปไตยสามารถนำไปสู่คณาธิปไตยได้ (ในแง่การสืบอำนาจโดยสายเลือด) ยิ่งกว่านั้นการแปรผันทั้ง 3 อย่างสำหรับ Polybius นั้นเกิดจากการที่อำนาจทางการเมืองขาดการถ่วงดุลอำนาจที่ดี มุมทฤษฏีชนชั้นนำตามสำนักอิตาลี (Italian school of elitism) ประกอบไปด้วยบุคคลสำคัญ 3 คน ได้แก่ Vilfredo Pareto, Gaetano Mosca, Robert Michels ถือเป็นบุคคลร่วมก่อตั้งสำนักนี้เพื่อวิเคราะห์การเมืองผ่านความสัมพันธ์เชิงอำนาจของชนชั้นนำ ซึ่งเป็นทฤษฏีหนึ่งที่มีอิทธิพลในโลกตะวันตกอย่างมาก รวมไปถึงมีอิทธิพลต่อฝ่ายซ้าย โดยเฉพาะทฤษฏีนีโอมาร์กซิสต์ของแอนโทนีโอ กรัมซี่ (Antonio Gramsci) ในเรื่อง “อำนาจนำทางวัฒนธรรม” (cultural hegemony) โดยไอเดียของสำนักนี้มีอยู่ 2 อย่างด้วยกันได้แก่: 1. "อำนาจ" (power) จะอยู่ภายในสถานะตำแหน่งผู้มีอำนาจที่เป็นคีย์หลักภายในสถาบันการเมืองและเศรษฐกิจ เช่น นายทุนใหญ่, นายกรัฐมนตรี, ข้าราชการระดับสูง ฯลฯ 2. "ความแตกต่างทางจิตวิทยา" (psychological differences) ทำให้ชนชั้นนำและชนชั้นล่างแตกต่างออกไป กล่าวคือชนชั้นนำมีทรัพยากรเป็นของตัวเอง เช่น สติปัญญาและทักษะต่างๆ และมีผลประโยชน์โดยตรงในรัฐบาล ในขณะที่คนอื่นๆ เป็นพวกไร้ความสามารถและไม่มีกำลังที่จะปกครองตนเองได้ ชนชั้นนำกลับเป็นผู้มีทรัพยากรมากและประสงค์อยากให้รัฐบาลทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ (เพื่อพวกเขาเอง) เพราะในความเป็นจริงคือ ชนชั้นนำจะเป็นกลุ่มที่สูญเสียมากที่สุดในกรณีที่เกิดรัฐล้มเหลว แต่ทีนี้ผมอยากไล่แนวคิดของผู้ก่อตั้งสำนักทฤษฏีชนชั้นนำ 3 ท่านก่อน แล้วอยากจะขมวดปมเรื่อง “แยกเงินออกจากรัฐ” ในบทนี้ให้เร็วก่อนจะไปขยายความเพิ่มในตอนทื่สาม (1) Vilfredo Pareto (1848–1923) เป็นนักพหูสูตชาวอิตาลี เขามีความเชี่ยวชาญในด้านสังคมวิทยา วิศวกรรมโยธา เศรษฐศาสตร์ รัฐศาสตร์และปรัชญา สำหรับเรื่องทฤษฏีเขาได้จำแนก "ชนชั้นนำ" ว่าโดยทั่วไปมันมี 2 กลุ่มได้แก่: 1.ชนชั้นนำผู้ปกครอง (governing elite) 2.ชนชั้นนำที่ไม่ได้ปกครอง (non-governing elite) ตลอดประวัติศาสตร์มักจะชนชั้นกลุ่มใหม่เข้ามาแทนที่ชนชั้นกลุ่มเก่าเสมอ สิ่งนี้คือ "วัฎจักร" หรือ "ธรรมชาติของสังคมมนุษย์" //เหล่าผู้นำนักปฏิวัติในประวัติศาสตร์บางส่วนก็ไม่ได้เป็นชนชั้นนำมาก่อนแต่พวกเขามีสถานะพิเศษบางอย่างในสถานการณ์หนึ่งที่ทำให้ตัวเองขึ้นไปเป็นชนชั้นนำได้ หรือ เป็นชนชั้นนำที่ไม่ได้ปกครอง ยกตัวอย่างเช่น ขุนนางชั้นผู้น้อย แต่มีพละกำลังโค่นล้มชนชั้นนำผู้ปกครองได้แล้วสถาปนาตัวเองเป็นชนชั้นนำผู้ปกครองคนใหม่ เป็นต้น สาระสำคัญของแนวคิดชนชั้นนำของ Pareto คือ “ประวัติศาสตร์มนุษย์มีชนชั้นนำคนใหม่เข้ามาแทนที่ชนชั้นนำคนเก่าเสมอ” ภายใต้เงื่อนไขที่ระบอบการปกครองถูกเปลี่ยนแปลง หรือ มีสถานการณ์ใดก็ตามที่เฉพาะเจาะจงให้เกิดความแปรผัน (2) Gaetano Mosca (1858–1941) เป็นนักรัฐศาสตร์ชาวอิตาลี แนวคิดการแบ่งกลุ่มชนชั้นนำไม่ค่อยต่างจาก Pareto มากนัก แต่รายละเอียดนั้นต่างกันออกไปเพราะ Mosca ได้เสริมความแตกต่างระหว่างชนชั้นนำกับมวลชนได้เป็นอย่างดี โดยเขามองว่า 1.ชนชั้นนำ เป็นผู้ที่มีศีลธรรม ปัญญา และความเหนือกว่าในด้านต่างๆ ที่มีอิทธิพลสูง จึงจัดเป็นกลุ่มที่ "มีระเบียบในตัวเอง" (organized minority) หมายถึง มันไม่วุ่นวายและถ้าดีลผลประโยชน์ลงตัวทุกอย่างจบ 2.มวลชน (ตรงกันข้ามกับชนชั้นนำ) จึงจัดเป็นกลุ่มที่ "ไม่มีระเบียบในตัวเอง" (unorganized majority) คือมีความวุ่นวายและความไม่สงบ ใช้แต่อารมณ์เหนือเหตุผล ฯลฯ สำหรับ Mosca ก็ได้แบ่งชนชั้นนำเป็น 2 กลุ่มเหมือนกันได้แก่ 1.ชนชั้นนำในกลุ่มชนชั้นทางการเมือง (Political class or ruling class) 2.ชนชั้นนำที่ไม่ใช่กลุ่มทางการเมือง (Non-Political class or sub-elite) (3) Robert Michels (1876–1936) เป็นนักสังคมวิทยาชาวอิตาลีถือเป็นผู้ที่พัฒนาทฤษฏีชนชั้นนำที่ยากจะปฏิเสธในการอธิบายปรากฏการณ์ทางสังคม ณ ปัจจุบัน ทฤษฏีของเขารู้จักในชื่อ "กฎเหล็กของคณาธิปไตย" หรือ "iron law of oligarchy" โดยสรุปคือ "องค์กรทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคมถูกขับเคลื่อนโดยคนไม่กี่กลุ่มเสมอ" นอกจากนี้ยังมีคีย์หลักการมีอยู่ของสิ่งนี้ก็คือการมีอยู่ของสิ่งที่เรียกว่า "องค์กร" กับ "การแบ่งงานตามทักษะ หน้าที่ ความรู้ ความชำนาญ" Michels เชื่อว่าทุกองค์กรใด ๆ ก็ตามต้องมีชนชั้นนำและชนชั้นนำนี้ได้ยึด 3 หลักการพื้นฐานสำคัญที่มีส่วนช่วยให้โครงสร้างราชการขององค์กรทางการเมืองมีอยู่ ได้แก่ 1.ความต้องการผู้นำที่เป็นบุคลากรเฉพาะทาง/บุคคลที่มีความสามารถในการนำองค์กร 2.การใช้ประโยชน์จากความสามารถของผู้นำในการนำองค์กร 3.ความสำคัญของคุณลักษณะทางจิตวิทยาของผู้นำที่จะนำองค์กร นักทฤษฏีชนชั้นนำร่วมสมัยยังมีอีกหลายคนแต่ผมอยากนำเสนอแค่ 3 คนนี้ก่อนเพราะมันเป็นพื้นฐานสำหรับการทำความเข้าใจองค์กรที่เรียกว่า “รัฐ” ได้เป็นอย่างดี เพราะรัฐเกี่ยวข้องกับการเมืองแยกออกจากกันไม่ได้และการเมืองเป็นเรื่องของชนชั้นนำไม่ใช่ประชาชน คำถามคือมันเกี่ยวยังไงกับหัวข้อ “การแยกเงินออกจากรัฐ?” สำหรับกรณีของทฤษฏีชนชั้นนำมันชี้ให้เห็นว่า “การควบคุมเงิน” หมายถึงความต้องการหนึ่งที่ชนชั้นอยากให้เป็นอย่างนั้นเพื่อควบคุมทิศทางของเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง ดังนั้นแล้วโดยธรรมชาติที่เขาปรารถนาพวกเขาจะต้อง: 1.รักษาและป้องกันระบอบการปกครองของตนเองเอาไว้ แนวคิด “การแยกเงินออกจากรัฐ” จึงไม่ควรทำให้เกิดขึ้นเพราะมันจะทำให้ชนชั้นนำปัจจุบันเกิดการเสื่อมสลายไป อย่างเช่น สร้างสูตรสำเร็จทางการเมืองบางอย่างขึ้นมาเพื่อแข่งขันกับอุดมการณ์ความเชื่ออื่นในสังคมแล้วทำให้สูตรสำเร็จนี้กลายเป็นส่วนหนึ่งในการรักษาระบอบการปกครองเดิมเอาไว้ หนึ่งในตัวอย่างอุดมการณ์ที่มีชัยชนะและเห็นได้ชัดก็คือ อุดมการณ์แนว เสรีนิยมใหม่ (neoliberalism) และอนุรักษ์นิยมใหม่ (neoconservative) 1.1 (พูดในภาพรวม) (พวกเขาต้อง) ป้องกันไม่ให้โลกเกิดการปฏิวัติครั้งใหญ่ในด้านใดด้านหนึ่งที่เป็นภัยต่อความมั่นคงพวกเขาเองไม่ว่าด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม จึงจำเป็นต้องสร้างฐานทางความคิดทางอุดมการณ์บางอย่างภายในสังคม ยกตัวอย่างเช่น ThinkTank //สถาบันการศึกษาและวิจัยด้านเศรษฐกิจสังคม (TDRI, สถาบันป๋วย ฯลฯ) กล่าวคือเพื่อไม่ให้ชนชั้นนำใหม่เกิดขึ้นมาแทนที่ได้ 2.โฆษณาชวนเชื่อ (ล้างสมอง) ต่อประชาชนที่ถือเป็น “unorganized majority” หมายความว่าประชาชนต้องเชื่อในระบอบเท่านั้นห้ามตั้งคำถาม สิ่งที่เป็นอันตรายที่สุดของรัฐคือการให้คนคิดเป็นเพื่อมาวิพากษ์วิจารณ์รัฐ พวกเขาอาจจะให้เจ้าหน้าที่มาควบคุมตัว ให้ฝ่ายความมั่นคงของรัฐมาตรวจสอบสอดส่อง ออกกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมเศรษฐกิจและสังคมมากขึ้น 3.(พวกเขาจะต้อง) ควบคุมอำนาจนำทางวัฒนธรรม เศรษฐกิจและสังคมในระดับรัฐจนถึงโลก พวกนี้เป็นกลุ่มกระหายอำนาจที่สร้างสภาวะ Unipolar politics ในการเมืองระหว่างประเทศ “ความรุนแรง” เป็นเบื้องหลังสูตรสำเร็จของการทำให้เงินแยกออกจากรัฐไม่ได้เพราะกระดาษทุกใบมันมีความเชื่อมั่นไม่ใช่เพราะสถาบันการเงินอย่างแบงค์ชาติเข้มแข็ง แต่เพราะยังมีปืนจากกองทัพของรัฐ ยกตัวอย่างมรดกจากสงครามโลกครั้งที่ 2 และสงครามเย็นว่ามีอะไรบ้างเชื่อว่าทราบได้ทันที ข้อมูลและแนวคิดเกี่ยวกับทฤษฏีว่าด้วยชนชั้นนำพื้นฐานมีเท่านี้นะครับ โปรดติดตามตอนต่อไป #siamstr #politics
https://image.nostr.build/6c71790a47ec8d3026a49d38606e497c8d24371a31f51d65ff9ac15c82b7b54d.jpg
https://youtu.be/zuZdb0jvfmY?si=NlI1wRRnKtqhq688
*โพสต์นี้เป็นฉบับสมบูรณ์จากในเฟซ* *มีย่อยไปบ้างแต่อยากให้อ่านจนครบแล้วแยกประเด็นไปทีละข้อนะครับ* ********************************* "เงินสดคือหนี้" ตัวเรามองเห็นปัญหาที่คนส่วนใหญ่งงกันมีดังนี้ 1.นิยามไม่ตรงกัน (definition) บางคนหยิบนิยามตามบัญชี นิยามตามเศรษฐศาสตร์การเงินกระแสหลัก (ไม่ใช่ออสเตรียน) นิยามตามกฎหมาย นิยามอะไรก็ตามแต่ทำให้มันเข้าใจผิด นิยามที่หลากหลายทำให้การโต้ตอบประเด็นมันไม่ได้ตรงกันและหาข้อสรุปลงตัวได้ยาก กล่าวคือไม่คุยคนละภาษาก็คุยคนละเรื่อง การจะทำความเข้าใจระหว่างกันได้จะต้องจับต้นชนปลายว่าสิ่งที่เราพูดด้วยกันนั้นใช่เรื่องเดียวกันภาษาเดียวกันหรือไม่ 2.สืบเนื่องจากข้อแรก คนพูดประโยคนี้ต้อง "พูดให้ชัด" ว่ายึดตามนิยามไหน แต่หลักๆผมคิดว่าเหล่า apologist (หลายคน) ก็พยายามจะดีเฟ้นด้วยวิชาความรู้บนแนวคิดออสเตรียนกัน ซึ่งมันก็ถูกต้องในแง่: 2.1) สถานการณ์ ณ ปัจจุบันมันเป็น "fiat standard" ด้วยเหตุนี้คำอธิบายนิยามที่สะท้อนกับสถานการณ์นี้ที่มัน “เป็น” มากที่สุด ไม่ใช่คำนิยามการเงินสมัยใหม่ตามแนวทางเศรษฐศาสตร์กระแสหลักปัจจุบัน แต่เป็นออสเตรียนที่ชัดเจนและถูกต้องกว่า 2.2) จากข้อ (2.1) “การนิยาม” ที่ถูกต้องไม่ใช่แค่เรื่องการทำความเข้าใจ “fiat standard” เท่านั้น มันยังรวมไปถึงนิยามทางเศรษฐศาสตร์ในปัจจุบันที่นำไปสู่ปัญหาอย่างอื่นที่เราเห็นในปัจจุบันได้ ยกตัวอย่างปัญหา: การเกิดตลาดล้มเหลว (market failure) นักคิดสายนีโอเคนส์ (neo-keynesianism) มักจะอธิบายว่าเป็นเพราะตลาดเสรีทำงานผิดพลาดและมันไม่สมบูรณ์แบบไงละ ตลาดตามจริงแล้วมันมันไม่ได้มีการกำกับตัวเอง (self-regulating) หมายความว่ามันไม่ได้มีความเป็นระบบระเบียบอะไร กรณีที่เห็นภาพมากที่สุดในเรื่องของตลาดล้มเหลวที่ชอบหยิบยกมาบ่อยก็คือ 1.การผูกขาด (monopoly) 2.อันตรายบนศีลธรรม (moral hazard) 3.การจัดสรรทรัพยากรในภาคเอกชนไม่มีประสิทธิภาพ (productive andallocative inefficiency) 4.สิ่งแวดล้อมเสียหายเพราะกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ฯลฯ ทางออกของนีโอเคนส์: รัฐแทรกแซง (government interventionism) ภายใต้ตามหลักนิยามทางเศรษฐศาสตร์และการจำแนกปัญหาทางเศรษฐศาสตร์ มันจะต้อง “ทำอย่างไรก็ได้ให้เกิดความสมบูรณ์” หมายถึง ถ้าตลาดล้มเหลวมันลดทอนความพึงพอใจของปัจเจก รัฐก็ต้องเข้าไปช่วยเหลือเสีย หรือ ถ้าเกิดความไม่แฟร์ตาม “กลไกตลาด” (?) อย่างการผูกขาด รัฐบาลจะต้องเข้าไปแทรกแซงเพื่อให้เกิดการแข่งขันเสรีขึ้นตามโมเดล “การแข่งขันสมบูรณ์” (perfect competition) … Keys: การแทรกแซงของรัฐ, การแข่งขันสมบูรณ์, อรรถประโยช์นิยม (ความพึงพอใจ) ตรงกันข้ามการนิยามเศรษฐศาสตร์ที่ถูกต้องอย่างแท้จริงไม่ใช่การนิยามตามแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ของสำนักคลาสสิค (classical economics) ไม่ใช่การนิยามตามสำนักนีโอคลาสสิค (neoclassical economics) หรือสำนักเคนส์จนถึงโพสต์เคนส์ เพราะทุกนิยามมันจะวนเวียนอยู่กับการจำกัดมนุษย์อยู่เพียงแค่ “สัตว์ทางเศรษฐกิจ” (homo economicus) แต่นิยามที่ถูกต้องคือนิยามของออสเตรียนครับ เพราะอะไร? การนิยามเศรษฐศาสตร์ตามความเป็นจริงที่ออสเตรียนเสนอมาตลอดคือศาสตร์ที่ศึกษา “Man act” คือมองมนุษย์ในภาพกว้างไม่ได้เจาะจงว่าต้องเป็นสิ่งใดสิ่งหนึ่งเพราะมันซับซ้อน ไม่ใช่นิยามแบบ "utilitarianism-style economics" ต้อง maximize สิ่งที่เรียกว่า 'ความพึงพอใจ' 'กำไร' 'ความสุข' หรืออะไรก็แล้วแต่ ตรงนี้ผมพอจะอธิบายให้เข้าใจได้ง่ายครับยังไม่ต้องลงดีเทลลึก แต่ผมอยากบอกปัญหาส่วนหนึ่งที่ไม่ว่าคนที่เป็น bitcoiner หรือใครก็ตามที่สมาทานสำนักเศรษฐศาสตร์ออสเตรียน หรือ สายตลาดเสรีทั้งหลาแหล่มักจะตกอยู่ในกับดักนิยามทางเศรษฐศาสตร์ที่เล่าเรียนและถูกปูมาอย่างมีปัญหา แล้วบางครั้งเราก็ดันไปใช้โดยไม่รู้ตัว... (2.2.1) ยกตัวอย่างกับดับทางนิยามทางเศรษฐศาสตร์: (1) 'กลไกตลาดคือสิ่งที่ดีที่สุดในทุกเรื่อง' ซึ่งคำนี้ถ้ามองโดยตามปกติไม่มีปัญหา แต่หากมองบนประเด็นจริยศาสตร์และเศรษฐศาสตร์ออสเตรียนตามจริงมันมีปัญหาเต็มๆ เพราะตลาดเนี่ยมันเป็นสภาวะ "asymmetric information" มันจึงไม่เพอร์เฟคหรือดีที่สุด ถ้าพูดโดยคงให้คำมันดูดีก็ต้องพูดว่า "กลไกตลาดไม่ได้ดีที่สุด แต่มันดีกว่ารัฐบาล" ตรงนี้ให้ระวังนิยามเศรษฐศาสตร์ปัจจุบันเพราะหลายคนศึกษาออสเตรียน แต่เอา neoclassical economics ไปปนนิยามซะแล้ว (2) ‘เงินเฟ้อ คือ การเพิ่มขึ้นของระดับราคาสินค้าและบริการและเงินฝืด คือ การลดลงของราคาสินค้าและบริการ’ อันนี้ไม่ต้องลงรายละเอียดอะไรมากเพราะปัญหามันก็กลับไปที่ “Keynesian revolution” นิยามความหมายเงินเฟ้อถูกบิดเบือนไปจากเดิม มีอีกหลายอันแต่ผมนึกไม่ออก ตัวอย่างอื่นมักจะรวมไปถึง “มายาคติ” ทางเศรษฐศาสตร์ที่เพี้ยนอันเกิดจากนิยามทางเศรษฐศาสตร์มันมีปัญหาด้วย 3.เนื่องจากคนออกมาไม่เห็นด้วยในประเด็น “เงินสดคือหนี้” ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มปัญญาชน "เทคโนแครต" (technocrat) ก่อนอื่นสหายที่รักทุกท่านต้องเข้าใจว่าคนทำงานเป็นเทคโนแครต หรือ กลุ่มชนชั้นผู้จัดการ (Managerialism) ย่อมดำรงอยู่ด้วยความไม่เป็นมิตรและประโยชน์ต่อประชาชนอย่างแท้จริง พวกเขามีทัศนคติที่จะต้องคำนึงถึงสถาบันและหน้าที่ของตนเองโดยอ้างทำเพื่อประชาชน (กี่โมง?) คนพวกนี้มีความเป็นมืออาชีพที่มักจะมีพลังในการตัดสินใจทิศทางขององค์กรใดก็ตามสูงไม่ว่าจะภาครัฐ ภาคเอกชน กลุ่มนอกภาครัฐ ซ้ำร้ายคือยุคปัจจุบันเทคโนแครตคอ่นข้างอินกับประเด็นซ้ายมากหลายเรื่อง อย่างเช่น เรื่องเศรษฐกิจให้เท่าเทียมกันยันการสร้างวัฒนธรรมแบบพลเมืองโลกนิยม เป็นต้น แต่คนเหล่านี้แตกต่างจากคอมมิวนิสต์ช่วงสงครามเย็น เพราะเทคโนแครตคือฝ่ายซ้ายใหม่ที่ผลิบานช่วงระหว่างสงครามเย็น แล้วเมื่อกระบวนทัศน์โลกที่ "เสรีนิยม" ชนะสงครามเย็น ก็เหลือเพียงกลุ่มพวกเขา (เทคโนแครต) ที่คุมทิศทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคมของทั่วโลก กลุ่มนี้มีโอกาสรอดในยุคที่รัฐมีบทบาทกับโลกนี้สูงเพราะพวกเขาคือบุคลากรสำคัญในบริบทโลกปัจจุบัน ย้อนกลับมาในเรื่องของ "เงิน" หน้าที่ของพวกเขาคือต้องรักษาสถานภาพของตนเองด้วยการไม่ให้สถาบันตัวเองเกิดความเสื่อมและต้องพิทักษ์รักษาระบอบการปกครองแบบนี้เอาไว้ให้มั่นคงยืนนานสืบไป กล่าวคือ ความเป็นเทคโนแครตทำให้ต้อง "รักษาสถานภาพของระบอบในปัจจุบัน" แม้แต่เรื่องความรู้วิชาการเรียนในเศรษฐศาสตร์การเงินกระแสหลักที่เป็นอยู่แบบนี้ แน่นอนว่าในทางกลับกันพวกเขาก็กลัวจนหัวหดว่าระบอบของตัวเองกำลังพังทลายลงเพราะความจริงใหม่เข้ามาแทนที่ (สื่อถึงยุค “หลังความจริง” หรือ post-truth ตามบริบททางการเมืองแบบยุคหลังสมัยใหม่) แน่นอนว่าเมื่อเรา tracking ปัญหาตรงนี้จะพบว่าจะเจอมันเกิดขึ้นหลัง “Keynesian revolution” จะเห็นว่าผลกระทบมันกว้างไกลมาก เพราะมันนำไปสู่ความขัดแย้งในนิยามเศรษฐศาสตร์ นิยามแนวคิดทางการเมือง นิยามความรู้เฉพาะทางใดๆ ก็ตามถูกเปลี่ยนแปลงเพราะ "ชนชั้นนำหัวก้าวหน้า” 4.ต้องยอมรับอย่างทั่วกันว่าคนทั่วไปไม่ได้เก็ทออสเตรียนขนาดนั้น ไม่ได้เก็ทสิ่งที่ นักเศรษฐศาสตร์ออสเตรียน หรือ ใครหลายคนเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจตรงนี้ แม้ว่าฝั่งหนึ่งจะต้องยืนยันว่า 'Fiat standard" มันมีปัญหาอย่างไร … คนส่วนใหญ่อาจไม่ได้เข้าใจสิ่งที่สื่อนักหากเป็นประเด็นที่ซับซ้อนเกินไป ยกเว้นแต่จะนำเข้าไอเดียที่ถูกย่อยเข้าใจง่ายแล้วเกิด gaslighting ขึ้นพร้อมกับความเหมาะสมของสถานการณ์ (ทุกฝ่ายใช้หมดไม่ว่าใคร) หรือ เทคโนแครตบางกลุ่มที่มีความคิดความเข้าใจว่า “Fiat standard” มีปัญหาอย่างไรและข้อเสนอของสำนักออสเตรียนสำคัญอย่างไร แต่พวกเขามีหน้าที่ในชีวิตที่สำคัญกว่าตามข้อ (3) หมายความว่าหน้าที่สำคัญกว่าแต่นั้นก็คือการรักษาระบอบปัจจุบันเอาไว้ แต่ผมเห็นว่าระบอบมันกล่อมเกลาและหล่อหลอมความเชื่อความคิดคนได้เหมือนกันมันจึงมีแค่คนเพียงหยิบมือเท่านั้นที่จะเป็นสิ่งแปลกแยกจากระบอบนี้แล้วไม่สามารถเปลี่ยนแปลงอะไรได้ในระบอบแบบนี้ด้วยคนเพียงหยิบมือที่อยู่ภายในระบบแล้วหวัง “ปฏิรูป” ผมเข้าใจได้ว่าคนที่เป็นเทคโนแครต ไม่ใช่คนแบบนโปเลียน ซีซาร์ ฮิตเลอร์ หรือมหาบุรุษทั้งหลายที่มีพละกำลังและบารมีที่จะ “ปฏิวัติ” เพื่อเปลี่ยนหน้าประวัติศาสตร์ได้ ในท้ายที่สุดคนหลายคนที่ตาสว่างแล้วก็ต้องจำใจยอมรับความเป็น “ขี้ข้า” ในระบบ "ทุนนิยมผู้จัดการ" ที่สร้างสภาวะทาสภายใต้รัฐ-ชาติสมัยใหม่ 5.หากเรามองประเด็นนี้ไปไกลกว่านั้น หรือ ไม่ใช่แค่ประเด็นนี้แต่รวมไปถึงการมีอยู่ของขั้วตรงข้ามของรัฐ ขั้วตรงข้ามขององค์กรนอกรัฐ ขั้วตรงข้ามของแนวคิดฝ่ายซ้ายทั้งปวงย่อมเป็นอุปสรรคของชนชั้นนำที่ปกครองโลกอยู่ สำหรับกรณีของ “เงิน” การมีอยู่ของอิสรภาพทางการเงินในโลกย่อมเป็นอุปสรรคของชนชั้นนำยิวที่ควบคุมเงินโลก ยกตัวอย่าง World Economic Forum ช่วงหนึ่งที่ Klaus Schwab พยายามจะพูดถึงความอันตรายต่อระบบโลกปัจจุบันที่เกิดจาก anti-system movement อย่าง “libertarianism” ตรงนี้สำคัญอย่างยิ่งยวดถ้าใครนำไปขมวดปมหรือขยายความตรงนี้เพิ่มให้จะเป็นพระคุณยิ่ง #siamstr
ยิว
https://image.nostr.build/b447f12d7d3dac0414093c7ffa462e1274ccf454e8ac34520baa5d4ed2e4c9bd.jpg คนไทยสมัยก่อนเป็นนักผจญภัยรุ่นบุกเบิกกัน 😁
https://mises.org/mises-daily/politics-johann-wolfgang-goethe
.....
สุราในจอกยังไม่ทันหายอุ่น.. เมื่อค...
ชอบเวอร์ชั่น 2010 สุดละครับ แต่รู้สึกในคอมมูนสามก๊กบอกว่าเวอร์ชั่นนี้มันอวยโจโฉเกินหน้าเกินตาไป 🤣
ลองให้เพื่อนสอนโอนบิตคอยน์เข้า on cha...
เห็นเลาเปล่า
หนังสือ Keynesianism ล้างสมองเด็กมัธยม เมื่ออ่านจบแล้วรีบหาหนังสือออสเตรียนมาอ่านต่อเลยครับ🤣🤣
555
Notes by lord_voldemort | export