Oddbean new post about | logout

Notes by Just So Be It | export

 Anger Facilitates Evil Action

When we're in a normal state, we inherently recognize what's morally wrong and avoid it due to fear. Committing heinous acts like harming our own parents is exceptionally challenging. However, anger has the power to transform these difficulties into ease. When people are angry, they're driven to inflict harm and commit evil acts, making the once arduous tasks effortless. Recognizing this truth, we must strive to keep anger at bay, preventing actions driven by anger's destructive influence. Always acknowledge the dangers it poses.

#siamstr 
 มีความรู้มากมาย
แต่ปราศจาก"ความรู้ที่ดับทุกข์ได้" นั่นแหละคือ"อวิชชา"

.... "น่าประหลาดอยู่อย่างหนึ่ง ก็คือ ใครๆก็พยายามแสดงตนว่าเป็นผู้รู้จัก"อวิชชา" และให้ความหมายของอวิชชากันไปเองตามชอบใจ ดูประหนึ่งว่า เขาเป็นผู้เข้าใจหรือรู้จักอวิชชาอย่างแจ่มแจ้ง แต่แล้วก็เป็นที่น่าขบขัน ที่ความรู้นั้นใช้ประโยชน์อะไรไม่ได้แม้แต่นิดเดียว และยังแถมเข้ากันไม่ได้ กับความหมายของอวิชชาที่พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้

.... อวิชชา ไม่ได้หมายถึงความไม่รู้อะไรเลยแต่เพียงอย่างเดียว กลับจะหมายถึงรู้อะไรมากมายไม่มีที่สิ้นสุดด้วยซ้ำไป แต่เป็นความรู้ผิดทั้งนั้น คือเห็นกลับตรงกันข้ามไปหมด เช่น เห็นมูลเหตุของความทุกข์ เป็นมูลเหตุของความสุขไป อย่างที่เรียกว่า เห็นกงจักรเป็นดอกบัว เขาไม่เห็นอย่างถูกต้องตามที่เป็นจริง ว่าความทุกข์นั้นมันอะไรกันแน่ อะไรเป็นมูลเหตุที่แท้จริงของความทุกข์ สภาพที่ปราศจากความทุกข์จริงๆนั้นเป็นอย่างไร และวิธีปฏิบัติอย่างไรคนเราจึงจะเข้าถึงสภาพที่ไม่มีความทุกข์

.... เราอาจจะกล่าวได้ว่า ความรู้ชนิดใดๆมากมายเท่าใดก็ตาม ถ้าปราศจากความรู้ที่ถูกต้อง ต้องถือว่าเป็นอวิชชาทั้งนั้น ถ้าจะมีคำแปลที่ถูกต้องรัดกุมของคำว่า "อวิชชา" แล้ว จะต้องแปลว่า ธรรมชาติที่ปราศจากความรู้ชนิดที่จะดับทุกข์ได้ หรือ กล่าวว่า สภาวะที่ปราศจากความรู้ที่ดับทุกข์ได้ นั่นแหละคือ"อวิชชา" ดังที่พระพุทธองค์ตรัสไว้โดยเฉพาะ คือ ตรัสเอาความไม่รู้อริยสัจทั้ง ๔ ว่าเป็นอวิชชา หมายความว่า แม้เขาจะมีความรู้มากมายเท่าไร อย่างไรก็ตาม แต่ถ้าไม่รู้อริยสัจทั้ง ๔ แล้ว ก็ถูกจัดว่าเป็นอวิชชา

.... ฉะนั้น จึงทำให้เรามองเห็นได้ชัดเจนอีกว่า โลกกำลังอยู่ใต้กะลาครอบของอวิชชา หรือ ความรู้ที่ไม่ใช่วิชชาของพระพุทธเจ้า จึงไม่สามารถจะช่วยชาวโลกได้ ในที่สุดก็เข้าทำนองที่เรียกว่า "ความรู้ท่วมหัว เอาตัวไม่รอด" กล่าวคือ ความรู้ชนิดนั้นจะกลายเป็นเครื่องทำให้โลกาวินาศอยู่ภายใต้ความรู้นั่นเอง."

พุทธทาสภิกขุ
ที่มา : จากหนังสือ "ตัวกู - ของกู"

#siamstr

nostr:naddr1qq24g5my2gu8snjzddp8wktrxanygkn8d4gnsq3qtpfhxey838ewx37gygt94w2dps4tkju9dkgglmmkz7paquzmfwzsxpqqqp65wqpdcaq 
 
มีคำหนึ่งในพุทธศาสนาที่เราอาจจะคุ้นหู แต่ว่าความเข้าใจอาจจะไม่ตรงกับความหมายในพุทธศาสนา นั่นคือคำว่า อธิปไตย

เวลาเรานึกถึงอธิปไตย ก็นึกไปถึงเรื่องของการเมือง ระบอบการปกครอง เช่น ประชาธิปไตย แต่อธิปไตยในพุทธศาสนาไม่ใช่เป็นเรื่องของระบอบการปกครอง แต่เป็นเรื่องของการให้คุณค่าให้ความสำคัญ

อธิปไตยก็แปลว่าการถือเอาเป็นใหญ่ เอาอะไรเป็นใหญ่ ก็มี 3 ประการใหญ่ ๆ อันแรกคือธรรมาธิปไตย คือการเอาธรรมะเป็นใหญ่ อันที่ 2 คืออัตตาธิปไตย การถือเอาตัวเองหรืออัตตาเป็นใหญ่ และ 3 โลกาธิปไตย ถือเอาคนหมู่มากเป็นใหญ่ ความหมายนี้ก็คือว่าไม่ได้มีความเห็นเป็นของตัวเอง แต่ว่าทำไปตามความเห็นของคนส่วนใหญ่ ที่เรียกว่าโลก เป็นต้น
 
แต่ว่าหลัก ๆ ก็มีอยู่ 2 อย่าง ที่เราควรจะใส่ใจและก็ทำความเข้าใจให้ถูกต้อง นั่นคือ ธรรมาธิปไตยกับอัตตาธิปไตย 

การถือธรรมเป็นใหญ่ ความหมายคือเอาความถูกต้องเป็นใหญ่ เวลาเราทำงานทำการหรือเราใช้ชีวิต ถ้าเราถือธรรมเป็นใหญ่หรือธรรมาธิปไตย เราก็จะตั้งตัวอยู่ในศีลในธรรม ไม่เบียดเบียนผู้อื่น เพราะเห็นแก่ความถูกต้อง 
แต่ถ้าเราเอาตัวเองเป็นใหญ่หรืออัตตาธิปไตย มันก็คือการเอาประโยชน์ของตัวเองเป็นใหญ่ ไม่สนใจว่าความถูกต้องหรือระเบียบกฎเกณฑ์จะเป็นอย่างไร  ถ้าเราถือตัวเองเป็นใหญ่ การที่เราจะอยู่ในศีลธรรมก็ยาก เพราะว่าเอาความต้องการของตัวเองเป็นหลัก ซึ่งส่วนใหญ่ก็เป็นเรื่องของกิเลสนั่นแหละ หรือความเห็นแก่ตัว

อัตตาธิปไตยในความหมายที่แย่คือการเห็นแก่ตัว ส่วนธรรมาธิปไตยเห็นแก่ธรรมะ เห็นแก่ความถูกต้อง หรือถ้าพูดง่าย ๆ คือว่าธรรมาธิปไตยคือการเอาถูกความเป็นใหญ่ ส่วนอัตตาธิปไตยคือเอาความถูกใจเป็นใหญ่

อันนี้เราก็มาพิจารณาดูง่าย ๆ ในการดำเนินชีวิตของคนเรา ในแต่ละวันเราเอาอะไรเป็นใหญ่ อย่างเช่นเวลากินอาหาร ถ้าเราเอาความถูกต้องเป็นใหญ่ หรือธรรมาธิปไตย เราก็จะกินอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ เพื่อทำให้ร่างกายแข็งแรง มีกำลังวังชา เพื่อที่จะได้ทำกิจการงานต่าง ๆ ได้
 
แต่ถ้าเอาความถูกใจเป็นใหญ่ เราก็จะกินเพราะว่ามันอร่อย เอารสชาติเป็นใหญ่ ถึงแม้ว่ามันจะไม่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ แต่มันอร่อย มันหวาน มันเปรี้ยว มันเผ็ด มันเค็ม หรือว่ามันสีสวยน่ากิน ทั้ง ๆ ที่มันอาจจะเจือไปด้วยสารพิษที่เป็นอันตราย
 
หลายคนก็รู้ว่ากินอาหารที่มันเต็มไปด้วยไขมัน อุดมไปด้วยน้ำตาล เป็นโทษต่อสุขภาพ แต่ก็ห้ามใจไม่ได้ กินมาก ๆ เข้า สุดท้ายก็เป็นโรคหัวใจ โรคเบาหวาน ไตวาย หรือบางทีถ้ากินอาหารประเภทที่มันเป็นของดิบ เช่น ปลาดิบ มีพยาธิใบไม้ในตับ ก็เกิดเป็นมะเร็งในตับ หลายคนก็รู้ว่ากินอาหารแบบนี้ ทำให้เกิดโรคเป็นมะเร็งในตับ รู้ว่ามันไม่ถูกต้องแต่ก็กิน เพราะมันถูกใจ
 
หรือเวลาเราเรียนหนังสือ ถ้าความถูกต้อง เราก็ต้องเรียนด้วยความขยันหมั่นเพียร ต้องมีความซื่อสัตย์สุจริต เวลาทำการบ้าน หรือเวลาเข้าห้องสอบ แต่ถ้าเราเอาความถูกใจเป็นใหญ่ เรียนบ้างไม่เรียนบ้าง บางวิชาฉันไม่ชอบฉันก็ไม่เรียน เวลาทำการบ้านก็ไปลอกจากเพื่อน หรือว่าไปตัดแปะมาจากกูเกิ้ลหรือวิกิพีเดีย เวลาสอบก็ทุจริต แม้รู้ว่าไม่ถูกต้อง แต่มันถูกใจ คือมันสะดวก ง่าย สบาย 

เวลาทำงานถ้าเราเอาความถูกต้องเป็นใหญ่ เราก็จะทำงานด้วยความรับผิดชอบ แม้ว่าเป็นงานที่เราไม่ชอบ แต่เมื่อเรามีหน้าที่ เราก็ต้องพยายามทำให้ดีที่สุด เพราะเป็นความรับผิดชอบของเรา แต่ถ้าเอาความถูกใจ งานนี้ฉันไม่ชอบ ฉันก็ไม่ทำ ต่อเมื่อเป็นงานที่ฉันชอบ ฉันจึงจะทำ 

หรือถ้าเป็นงานที่ฉันไม่ได้อะไร ฉันไม่ทำ จะทำก็ต่อเมื่อเป็นงานที่ได้ผลประโยชน์ เวลาจะทำอะไรก็จะถามว่าทำแล้วฉันจะได้อะไร อันนี้ก็คือเอาความถูกใจเป็นหลัก หรือเอาความถูกใจเป็นใหญ่ในเวลาทำงาน

เวลาใช้ข้าวของ เช่นโทรศัพท์มือถือ ถามตัวเราเองว่าเราใช้ความถูกต้องหรือความถูกใจ ถ้าใช้ความถูกต้องเป็นใหญ่ ก็จะใช้โทรศัพท์เพื่อติดต่องานการ ทำกิจธุระ หาความรู้ เช็คข้อมูล 
อาจจะดูหนังฟังเพลงบ้าง ก็ให้เวลากับมันพอสมควร ไม่ใช่หมกมุ่นอยู่กับมัน โดยไม่เป็นอันทำอะไร งานการก็ไม่สนใจ ก้มหน้าดูแต่โทรศัพท์ ใช้ดูหนังฟังเพลง หรือบางทีหนักกว่านั้น ใช้เพื่อเล่นพนันออนไลน์ หรือเล่นเกมออนไลน์ วันหนึ่งหลายชั่วโมง การใช้โทรศัพท์มือถือแบบนี้ ก็เรียกว่าไม่ได้เอาความถูกต้องเป็นใหญ่ แต่เอาความถูกใจเป็นใหญ่

ฉะนั้นลองพิจารณาดูเรื่องการใช้ชีวิตของคนเรา รวมทั้งความสัมพันธ์กับผู้คน เราใช้อะไรเป็นใหญ่ เอาความถูกต้องเป็นใหญ่ หรือเอาความถูกใจเป็นใหญ่ เวลาคบเพื่อน เวลามีเรื่องที่ต้องเกี่ยวข้องกับผู้คน ถ้าเราเอาความถูกต้องเป็นใหญ่ เราก็จะคำนึงถึงความรู้สึกของอีกฝ่ายหนึ่ง เราจะไม่คิดถึงแต่จะเบียดเบียน เอาเปรียบ ต้องมีความเสียสละ แล้วก็รู้จักอดกลั้น ไม่ทำตามอารมณ์ 

แต่ถ้าเอาความถูกใจเป็นใหญ่ ก็เรียกว่าไม่สนใจว่าคนอื่น เขาจะรู้สึกอย่างไร เอาเปรียบได้ก็เอาเปรียบ ไม่พอใจอะไรก็โวยวาย เรียกว่าขาดน้ำใจ แล้วก็ขาดความรับผิดชอบ มันเป็นเส้นแบ่งได้เลยในเรื่องคน ในเรื่องของพฤติกรรม ในเรื่องของการกระทำ ว่าเราใช้ความถูกต้องหรือความถูกใจ 

ถ้าเราเอาความถูกต้องเป็นใหญ่  ชีวิตก็มีโอกาสที่จะเจริญก้าวหน้า อยู่ในศีลในธรรม ตั้งมั่นในความดี แต่ถ้าเราเอาความถูกใจเป็นใหญ่ ก็มีโอกาสที่จะตกต่ำย่ำแย่ เพราะสุดท้ายก็กลายเป็นคนเห็นแก่ตัว หรือว่าตกเป็นทาสของกิเลส อยากกินอะไรก็กิน อยากทำอะไรก็ทำ ไม่ได้สนใจส่วนรวม 

เวลามาอยู่วัดก็เหมือนกัน ถ้าเอาความถูกต้องเป็นใหญ่ เราก็จะปฏิบัติตามกฎระเบียบ แม้บางอย่างเราอาจจะต้องฝืนใจทำ เพราะว่าเราเป็นคนตื่นสาย แต่ว่าเราจำเป็นต้องตื่นเช้ามาทำวัตร เพราะว่ามันเป็นระเบียบ มันเป็นข้อวัตร เป็นกติกา เวลามีการทำกิจส่วนรวมก็ไปร่วมช่วยทำ
 
แต่ถ้าเราเอาความถูกใจเป็นใหญ่ มาบ้างไม่มาบ้าง ทำวัตร เอาความอยากของตัวเองเป็นหลัก ไม่อยากมาก็ไม่มา หรือว่าไม่อยากตื่นก็ไม่ตื่น งานที่เป็นของส่วนรวม ฉันไม่อยากทำฉันก็ไม่ทำ อันนี้ก็ทำให้ชีวิตเราย่ำแย่ไป

แต่ที่จริงแล้วถ้าเราแยกแยะความถูกต้อง ความถูกใจเป็น ก็จะทำให้เราสามารถที่จะใช้ชีวิตไปในทางที่ถูกต้องได้ แต่บางครั้งมันก็ไม่ง่ายที่เราจะแยกแยะได้ชัดเจน ระหว่างความถูกต้องกับความถูกใจ เพราะบางครั้งกิเลสมันก็ฉลาด มันจะอ้างความถูกต้องเฉพาะเวลาที่ถูกใจ แต่ถ้าหากว่าความถูกต้องยามใดไม่ถูกใจฉัน ฉันก็ไม่สนใจ 

อย่างเช่นเวลาทำงาน สิ้นปีก็มีโบนัส ถ้าหากว่าฉันได้โบนัส แต่ถ้ารู้ว่าคนอื่นได้โบนัสมากกว่าฉัน เช่นฉันได้ 50,000  แต่อีกคนได้ 70,000 หรือแสนหนึ่ง ก็จะไม่พอใจ ก็จะอ้างว่าไม่ถูกต้อง ไม่เป็นธรรม ความเป็นธรรมคืออะไร ความถูกต้องคืออะไร ก็คือต้องได้เท่ากัน ก็อาจจะเรียกร้อง อาจจะประท้วง อาจจะโวยวายว่ามันต้องเป็นธรรม คือต้องได้เท่ากัน ถึงจะถูกต้อง 

แต่ถ้าหากว่าตัวเองได้มากกว่า ตัวเองได้แสน แต่ว่าคนอื่นเขาได้ 50,000, 70,000 เงียบเลย ไม่พูดสักคำเลยว่ามันไม่ถูกต้อง มันไม่เป็นธรรม เพราะอะไร เพราะว่าฉันได้มากกว่า คราวนี้ฉันได้มากกว่า ก็ถือว่าเป็นเรื่องที่ถูกใจฉันแล้ว ถึงตอนนี้ก็ทิ้งเรื่องความถูกต้องไป แต่ถ้าเราเอาความถูกต้องเป็นใหญ่ แม้ว่าจะมีเงินหรือได้เงินมากกว่าคนอื่น มันก็ไม่ถูกต้องอยู่นั่นเอง ก็ต้องทำให้เกิดความถูกต้องขึ้นมา คือว่าต้องได้เท่าคนอื่น

หลายคนเรียกร้องความถูกต้อง เรียกร้องความเป็นธรรม บ่อยครั้งเลยเพราะว่าตัวเองสูญเสียผลประโยชน์ หรือว่าไม่ได้ประโยชน์เท่ากับคนอื่น ถ้าหากว่าตัวเองได้เกิดน้อยกว่าคนอื่น จะเรียกร้องความเป็นธรรม เรียกร้องความถูกต้อง แต่ถ้าหากว่าตัวเองได้มากกว่าคนอื่น ความถูกต้องก็ลืมไปเลย อันนี้แหละนะเรียกว่าอ้างความถูกต้องต่อเมื่อมันถูกใจฉัน 
ทั้งที่ถ้าถูกต้องแล้วฉันได้เท่าคนอื่น แต่กลับดีหากว่าฉันได้มากกว่าคนอื่น แล้วหากความถูกต้องหมายถึงว่าฉันต้องได้น้อยลง ลดลงมาจากแสนให้เหลือ 70,000 เท่ากับคนอื่น ฉันไม่เอาแล้ว 

อันนี้ก็เป็นสิ่งที่เราพบอยู่บ่อย ๆ อ้างความถูกต้องต่อเมื่อมันถูกใจ  แต่ถ้ามันไม่ถูกใจฉันเมื่อไหร่ ก็ไม่อ้างความถูกต้องแล้ว ลืมไปเลย อันนี้ก็ต้องระมัดระวัง เพราะบางครั้งกิเลสมันก็ฉลาด มันก็อ้างความถูกต้อง เพื่อสนองผลประโยชน์ของมัน และบางทีเราก็นิยามความถูกต้องแปรผันไป ขึ้นอยู่กับความถูกใจ
 
ความถูกต้องหรือความเป็นธรรม มันก็มองได้หลายแง่ และตรงนี้แหละ เป็นโอกาสที่จะทำให้ตัวกิเลสมันมาเป็นตัวกำหนด ว่าอย่างไหนเรียกว่าเป็นความถูกต้อง
 
อย่างเช่นหมู่บ้านหนึ่ง เมื่อสัก 30-40 ปีก่อน สมัยที่ยังไม่มีอบต. ในหมู่บ้านนั้นมีปั๊มน้ำ ที่ใช้แบบคันโยก เป็นปั๊มน้ำของหมู่บ้าน มันเกิดเสียขึ้นมา นักศึกษาที่เป็นพัฒนากรประจำหมู่บ้าน เขาก็เสนอว่าควรจะเก็บเงินทุกหลังคาเลยหลังคาละ 10 บาท เพื่อเป็นค่าซ่อมปั๊ม
 
ปรากฏว่าชาวบ้านหลายคนไม่ยอม บอกว่าบ้านฉันอยู่ไกลจากปั๊มน้ำ ฉันไม่ค่อยได้ใช้หรอก บ้านไหนที่ใช้ปั๊มมากกว่า เพราะอยู่ใกล้ปั๊ม ควรจะเสียมากกว่า ส่วนบ้านไหนที่อยู่ไกลใช้น้อย ก็ควรจะเสียน้อย แทนที่จะเสีย 10 บาท ก็เสีย 5 บาท เสียเท่ากันนี่ถือว่าไม่เป็นธรรม ตกลงก็เป็นอันว่าต้องเสียไม่เท่ากัน

แต่หนึ่งเดือนต่อมาในหมู่บ้าน มีคนเอาผ้าห่มมาแจก เพราะว่ามันใกล้ฤดูหนาว เอามาถวายวัด หลวงพ่อเจ้าอาวาสท่านก็ปรึกษามัคทายก เพราะว่าผ้าห่มมันไม่พอที่จะแจกให้ชาวบ้านทุกครัวเรือนเท่ากัน มัคทายกก็เสนอว่าบ้านไหนที่ช่วยส่วนรวมได้ 2 ผืน บ้านไหนที่ไม่ค่อยช่วยส่วนรวมได้ 1 ผืน 

พอประกาศอย่างนี้เข้า ชาวบ้านไม่พอใจ บอกว่าไม่เป็นธรรม เป็นธรรมคืออะไร เป็นธรรมคือต้องได้เท่ากัน ก็แปลกนะ เวลาจ่ายเงิน ต้องจ่ายไม่เท่ากัน ถึงจะเป็นธรรม แต่เวลาพอได้ผ้าห่มหรือแจกผ้าห่ม ต้องได้เท่ากันถึงจะเป็นธรรม

อันนี้แปลว่าอะไร แปลว่าความเป็นธรรมหรือความถูกต้องนี่มันไม่แน่นอน มันแปรผันขึ้นอยู่กับความถูกใจ จ่ายเท่ากัน หลายคนไม่ถูกใจ ควรจะจ่ายน้อยกว่า จ่ายไม่เท่ากันจึงจะเรียกว่าเป็นธรรม แต่ถึงเวลาได้ ต้องได้เท่ากันจึงจะเป็นธรรม 

ถ้าเราพิจารณาดูก็จะพบว่า นี่มันเป็นการนิยามคำว่าเป็นธรรม หรือความถูกต้องโดยอาศัยความถูกใจ ถึงเวลาได้ ต้องได้เท่ากันจึงจะถูกใจ ถ้าได้ไม่เท่ากัน ไม่ถูกใจ ก็ถือว่าไม่เป็นธรรม แต่เวลาจ่าย ต้องจ่ายไม่เท่ากันจึงจะถูกต้อง ฉันต้องจ่ายน้อยกว่า เพราะบ้านฉันอยู่ไกล อย่างนี้เรียกว่าเป็นธรรม 

ฉะนั้นความเป็นธรรม ถ้าเราไม่ระวัง มันก็เป็นข้ออ้างเพื่อสนองกิเลส เพื่อสนองความถูกใจ ถ้าเราดูให้ดี ๆ ความถูกต้อง ความถูกใจ แม้ว่าความหมายจะต่างกัน แต่ถ้าไม่ระวัง มันก็กลายเป็นเรื่องเดียวกันได้ ก็คือว่าอันไหนถูกใจจึงเรียกว่าถูกต้อง อันไหนไม่ถูกใจก็เรียกว่าไม่ถูกต้อง
 
และอีกอย่างหนึ่งคือแม้เราจะมีความชัดเจนว่าอย่างนี้คือความถูกต้อง แต่ก็ต้องระวัง อย่าไปยึดมั่นถือมั่นกับมันมาก เพราะถ้าเราไปยึดมั่นถือมั่นกับความถูกต้องเมื่อไหร่ พอเจอใครทำอะไรไม่ถูกต้อง กลายเป็นไม่ถูกใจไปเลย
 
อย่างที่เคยเล่า ศีลจาริณี บวชใหม่ ไม่รู้ธรรมเนียม ยืนกินน้ำ แม่ชีเดินผ่านมาเห็นคาตาเลย อย่างนี้ไม่ถูกต้อง แต่ว่าไปยึดกับความถูกต้องมากไป พอเจอความไม่ถูกต้องขึ้นมา โกรธนะ ทุบหลังศีลจาริณีเลย อันนี้เรียกว่าเป็นเพราะยึดมั่นความถูกต้องมาก ยึดมั่นกับระเบียบมาก พอยึดมั่นกับระเบียบหรือความถูกต้อง พอเจอความไม่ถูกต้อง หรือใครทำอะไรไม่ถูกต้อง ก็จะโกรธ
 
หรือว่าที่วัดก็มีระเบียบ เวลาฟังธรรมต้องปิดโทรศัพท์มือถือ อันนี้คือความถูกต้องที่ควรปฏิบัติร่วมกัน แต่เกิดมีโยมคนหนึ่งลืมปิดโทรศัพท์มือถือ แล้วบังเอิญมีคนโทรเข้ามา เสียงก็ดังกลางศาลาเลย ขณะที่เจ้าอาวาสกำลังเทศน์อยู่ นี่เป็นความไม่ถูกต้องแท้ ๆ เลย ถ้ายึดมั่นกับความถูกต้องมาก เวลาเจอความไม่ถูกต้องแบบนี้ก็โกรธ
 
โกรธแล้วเป็นอย่างไร ก็ตะโกนด่าเลย เจ้าอาวาสก็ตะโกนด่าเลย กำลังเทศน์อยู่ดีๆ เปลี่ยนโหมดเลยนะ เป็นการด่าแทน ด่าเจ้าของโทรศัพท์ที่ลืมปิดโทรศัพท์ อันนี้เรียกว่าพอเจอความไม่ถูกต้องนี่ มันเกิดไม่ถูกใจขึ้นมา พอไม่ถูกใจแล้วกิเลสมันก็พร้อมที่จะเล่นงาน พร้อมที่จะโวยวาย พร้อมที่จะพูด หรือพร้อมที่จะกระทำอะไรก็ตามด้วยอำนาจของโทสะ ด้วยอำนาจของกิเลส ซึ่งเป็นเรื่องของอัตตาธิปไตย

ฉะนั้นเราต้องระวัง ขณะที่เรายึดมั่นในความถูกต้อง ถ้าเรายึดมั่นมากไป พอเจอใครทำอะไรไม่ถูกต้องขึ้นมา ความไม่ถูกต้องจะกลายเป็นความไม่ถูกใจทันทีเลย ทั้งๆ ที่ดูเผินๆ ไม่ถูกต้องกับไม่ถูกใจนี่มันห่างกันนะ มันไกลกันมาก
 
เช่นเดียวกับความถูกต้อง ความถูกใจ บางทีมันก็ไกลกันมาก แต่ในบางครั้งบางคราว ถ้าไม่รู้ทันมัน มันกลายเป็นเรื่องเดียวกันไปเลย คือถ้าไม่ถูกต้องเมื่อไหร่ ก็ไม่ถูกใจเมื่อนั้น หรือจะเป็นสิ่งที่ถูกต้อง ก็ต่อเมื่อมันถูกใจ ถ้าอันไหนไม่ถูกใจ ก็ไม่ถูกต้องไป 

อันนี้มันต้องใช้สติพิจารณา การที่เรารู้ว่าอะไรถูก อะไรผิด เป็นสิ่งที่ดี และการที่เราปฏิบัติตามความถูกต้อง ก็เป็นสิ่งที่ดี เรียกว่ามีธรรมาธิปไตย แต่ถ้าเรายึดมั่นในความถูกต้องมากไป มันก็ง่ายมากเลยนะ ที่เวลาเจอใครทำอะไรไม่ถูกต้อง ความไม่ถูกต้องก็กลายเป็นความไม่ถูกใจ หรือกระตุ้นให้เกิดความไม่ถูกใจทันที 

แล้วบางทีก็ไม่รู้ตัวนะ ก็ยังคิดว่าฉันทำสิ่งที่ถูกต้อง แต่ที่จริงแล้วสิ่งที่ทำไปมันถูกใจต่างหาก แล้วมันก็เกินเลยความถูกต้องไป เพราะว่าไปทุบหลังคนอื่นนี่มันจะถูกต้องได้อย่างไร หรือว่าไปตะโกนด่ากลางศาลาในขณะที่ขาดสติ หรือทำไปด้วยความโกรธ จะเป็นความถูกต้องได้อย่างไร มันก็เป็นเรื่องละเอียดอ่อน ความถูกต้องไม่ใช่ว่ามันจะกลายเป็นสิ่งตรงข้ามกับความถูกใจ

ถ้าเราไม่ระวัง ความยึดมั่นถือมั่น มันก็จะทำให้ความถูกต้องกับความถูกใจ กลายเป็นอันเดียวกัน แล้วก็ทำให้เกิดความผิดพลาด หรือเกิดความเสียหายขึ้น
 
หลายคนก็ทำสิ่งที่ไม่ถูกต้องเพื่อพิทักษ์ความถูกต้อง อันนี้มีเยอะเลย ที่เป็นข่าวก็คือว่าไปฆ่าคนนั้นคนนี้เพื่อรักษาความถูกต้อง ไม่ว่าเป็นความถูกต้องทางการเมือง ความถูกต้องทางศาสนา
 
อย่างพวกที่เป็นพวกก่อการร้าย หลายคนเขาก็คิดว่าเขาทำเพื่อพระเจ้า เขาทำเพื่อพิทักษ์ความถูกต้องทางศาสนา แต่ว่าสิ่งที่เขาทำ มันกลายเป็นความไม่ถูกต้องไปเสียแล้ว ทำไปด้วยอำนาจของกิเลส ตัวเองเป็นคนตัดสินว่าใครจะอยู่ใครจะไป ใครที่คิดไม่เหมือนฉัน ก็ต้องถูกกำจัดออกไปจากโลกนี้ เพราะมันเป็นคนที่คิดไม่ถูกต้อง ปฏิบัติไม่ถูกต้อง
 
ที่จริงก็เป็นเพียงแค่เห็นต่างจากตัวเองเท่านั้น แต่พอเจอคนที่เห็นต่าง ก็เปลี่ยนจากความไม่ถูกใจ กลายเป็นข้ออ้างว่าเขาทำสิ่งที่ไม่ถูกต้อง เพราะฉะนั้นก็สมควรกำจัดออกไปจากโลกนี้
 
อันนี้เป็นสิ่งที่เราเห็นมากขึ้นเรื่อยๆ ที่เป็นข่าว แล้วมันไม่ใช่เพราะเรื่องศาสนาอย่างเดียว เรื่องการเมือง เรื่องวัฒนธรรม ก็มีความถูกต้องของมัน แต่ถ้าไปยึดความถูกต้องมากไป ใครที่ปฏิบัติไม่ถูกต้องในสายตาของเรา มันก็กลายเป็นสิ่งที่กระตุ้นความไม่ถูกใจ ทำให้เกิดความโกรธ ทำให้เกิดข้ออ้างในการที่จะจัดการ ทำร้าย หรือว่าสังหาร
 
ฉะนั้นต้องระวังมากทีเดียว การทำความไม่ถูกต้อง ในนามของความถูกต้อง ก็กลายเป็นว่าทำไปด้วยอำนาจของกิเลส แทนที่จะเป็นธรรมาธิปไตย ก็กลายเป็นอัตตาธิปไตยไป.

https://youtu.be/nvGHQUvjvOE

พระไพศาล วิสาโล
วัดป่าสุคะโต
4 กันยายน  2565
ขอขอบคุณ
Nonglak Trongselsat

#truthbetold #pyschology #mindset #life #siamstr 
 #siamstr

หลายคนก็ทำสิ่งที่ไม่ถูกต้อง เพื่อพิทักษ์ความถูกต้อง

พระไพศาล วิสาโล

nostr:nevent1qqsz6jgpylpwy2c4eml5nm04rjzrcf7fuhhmh53pw7565ryk3rv5kqszypv9xumys7yl9c68eq3pvk4ef5xz4w6ts4keprl0wctc85rstd9c2qcyqqq823chpn9dr 
 สำหรับคนที่สนใจเรื่องเวลาในทางธรรมแบบละเอียด.

https://youtu.be/NDeL5H-q4Io?si=qVBf6xzsKlXUS2bp 
 
Nirvana.

We must strive to overcome the sources of suffering. Just as being burned by fire is excruciatingly hot, we wonder what life would be like in a state of Nirvana, where both physical and mental tranquility are achieved. Physically, there is a coolness that does not allow the burning fire to harm, and mentally, there is a sense of contentment and joy.

This state of coolness is what we call "Nirvana," a term that signifies "coldness." In essence, Nirvana implies a state of being cool both physically and mentally. Even experiencing a slight coolness can be considered a minor Nirvana, while complete and lasting coolness signifies the absolute Nirvana, enduring forever. Thus, whenever we feel coolness and lack the burning passions, we recognize that Nirvana has visited us, even if it's just in a small measure.

However, many people are indifferent to this notion of Nirvana. The overwhelming heat of passion consumes and captivates them. They find pleasure in the intensity of passion and view it as enjoyable. Due to ignorance, their minds seek satisfaction in heated pursuits, and they become attached to suffering, which is quite perplexing and foolish.

To find relief from suffering, one must understand impermanence, the nature of suffering, and the absence of a fixed self. By contemplating these truths daily, a gradual aversion towards suffering develops. This occurs because suffering, despite appearing pleasurable and delightful, is still inherently hot and chaotic. Even the highest forms of goodness can lead to turmoil. For true peace and tranquility, we must detach ourselves from delusions, arrogance, and the burdens of goodness.

Evil is akin to carrying a heavy rock that brings about suffering and anxiety, while goodness is like carrying a valuable jewel with a similar weight. Therefore, both good and evil can be relinquished. When we let go of all attachments, we enter the realm of emptiness and attain Nirvana. In this state, there is no self to bear burdens, no ignorance to cause suffering through preconceived notions. Everything becomes weightless, and there is no heat, darkness, or entanglement in desires. It is a state of supreme liberation, the pinnacle of human existence.

#truthbetold #pyschology #mindset #nirvana 
 Heartbreak.

It is accepted as a fact that mental suffering can arise from our inability to accept who we are and the experiences we go through, particularly when faced with challenging situations such as being separated from loved ones. Our hearts can suffer greatly when we resist or reject the truth, wishing for problems to disappear.

However, it is essential to recognize that the suffering of the heart and the problems we encounter are distinct entities. Heartbreak and various life challenges like unemployment, loss of loved ones, accidents, fires, or health issues are examples of problems that we cannot choose and may occur throughout our lives.

Accepting the impermanence of life and acknowledging that problems are a natural part of existence can help alleviate suffering. By cultivating wisdom and gradually teaching ourselves to perceive problems as common and transient occurrences, we can gradually train our minds to become more neutral and find solace amidst difficulties.

Understanding that all problems, no matter how serious they may seem, eventually pass can lead our hearts to become more at ease, accepting the truth of our impermanent existence. With this mindset, suffering can give way to a more peaceful and contented outlook on life.

#truthbetold #pyschology #mindset #heartbreak 
 Creating Sustainable Discipline.

Success requires discipline. Discipline is about acting intentionally rather than being swayed by emotions. Discipline means resisting the urge to give in to feelings like sleepiness, hunger, boredom, dissatisfaction, fear, or distraction. It's about avoiding excuses such as pretending to wait, claiming burnout, blaming the weather, or making excuses about timing.

Creating sustainable discipline is not about restricting oneself but is born from a dream. The law of dreams dictates that we must have a clear vision of our goals and minimize the gap between our thoughts and actions. Overthinking often leads to inaction as our minds become unstable.

The law of dreams suggests that we shouldn't just dream for ourselves but for others as well. When our goals are aligned with helping others, our actions are driven by compassion, and success and happiness are achieved together.

Author: Metha Rimthephathibodi

#truthbetold #pyschology #mindset #discipline 
 All problems.

All problems are not solely caused by people being immoral. While unethical economists, politicians, and rulers, especially government officials, may contribute to problems, it is an oversimplification to attribute all issues to a lack of morality. Societal and economic challenges are often complex and influenced by various factors.

However, it is true that morality and ethical behavior play a crucial role in addressing and preventing problems. When individuals in positions of power act with integrity and righteousness, it can lead to more positive outcomes for society as a whole. By embracing a sense of morality or dharma, we can work towards resolving issues, including political and economic ones.

The concept of dharma is about following a righteous path and accepting one's duty and responsibilities. If people genuinely seek to fulfill their duties without selfish motives, it can lead to a more harmonious society. This includes capitalists becoming philanthropic and laborers diligently fulfilling their roles, leading to improvements in living conditions and reducing poverty.

On the other hand, when individuals resort to unethical means, such as corruption and exploitation, to achieve their goals, it can lead to a proliferation of problems, like an increase in criminal activity and social unrest. Greed, anger, and delusion follow selfishness, perpetuating a cycle of vengeance and destruction.

In summary, while immorality can contribute to problems, it is not the sole cause. Embracing morality and selflessness, as exemplified by the concept of dharma, can help address and prevent various issues in society, fostering a more equitable and harmonious environment for everyone.

#truthbetold #pyschology #mindset #problem #btc 
 Truly free

The concept presented here suggests that the self or ego, referred to as the ""doer,"" is not the initiator of actions but rather a reaction to them. It emphasizes that the perception of events and the resulting feelings are products of the nervous system's reaction to stimuli.

Positive or negative experiences shape the concept of the self, but ultimately, this self is deemed illusory in nature. The argument goes against traditional logical or philosophical rules and highlights the need to understand how one's existence is influenced by the interplay between the mind and the environment. It asserts that the thinking mind and the accompanying feelings are merely reactions, not independent entities or creators.

While it may be challenging to accept the notion that the doer comes after the action, the perspective presented here contends that the self is a concept rather than a tangible reality. The body itself is seen as a concept, lacking inherent reality. This line of thinking invites further contemplation to recognize that it deviates from conventional logical or philosophical frameworks.

Ultimately, the conclusion emphasizes the ephemeral nature of the self and positions it as a construct arising from the complex interplay of the nervous system, perceptions, and experiences.

#truthbetold #pyschology #mindset #free 
 Balancing correctness and tolerance.

Many people do bad things because they think it's the right thing to do. This is a big problem that includes things like being too careful with what you say and do in politics and religion. For example, terrorists believe they're protecting their religion, but that's not really right.

In reality, these people just have different opinions. But when we meet people who think differently, we get frustrated, and sometimes it makes us do bad things to them, like hurting them or even killing them.

This happens a lot in the news, not just about religion, but also in politics and culture. If we focus too much on being right all the time, it can make us really mad at people who are different. That can give us reasons to trick, hurt, or be violent to them.

So, it's important to be careful about being too obsessed with being right and not being open to different ideas. If we're too passionate about it, we can forget what's really right.

#truthbetold #pyschology #mindset #tolerance 
 What Controls You?

Who controls whom ?
- Flowers are controlling our emotions.
- We are manipulating them for our purposes.

Flowers have a captivating effect on us, prompting us to admire and appreciate their beauty. When we encounter a lovely flower, we are drawn to it and often decide to place it in a vase to enhance its allure. In this way, flowers seem to exert control over our emotions, making us like them and prompting us to display them in vases as a way to showcase their charm.

On the other hand, as individuals, we also have the ability to control and manipulate flowers to serve various purposes. For example, in academic settings, we may choose to study and analyze a flower by placing it in a vase for closer examination. In doing so, we gain insights into its structure, characteristics, and other aspects related to its botanical significance.

Overall, it's fascinating to observe how both flowers and humans influence each other in different ways, creating a symbiotic relationship that enriches our lives and understanding of the natural world.

#truthbetold #pyschology #mindset 
 Timeless art

The essence of meditation goes beyond seeking mere tranquility or external peace. What truly matters is how we perceive our emotions and thoughts as they arise within us. By cultivating awareness and understanding, we gain the power to liberate ourselves from the grasp of these thoughts and emotions, instead of becoming enslaved or overwhelmed by them.

If we remain unaware, these thoughts and emotions can become our masters, dictating our actions and responses. However, by recognizing that we have the capacity to be masters over them, we unlock the potential to utilize them as valuable tools. With this awareness, we can employ these thoughts to solve life's challenges, be it personal, professional, or moral dilemmas.

In the same vein, emotions, when unexamined, can become our rulers, leading us astray and causing suffering. For instance, sadness can ensnare us in its grip, making us believe that we must be sad to express love for someone. Similarly, anger can deceive us into acting out of righteousness, perpetuating negative cycles.

To break free from these emotional chains, we must observe and understand our emotions with mindfulness. Only then can we release ourselves from their dictates and avoid falling into a pit of depression or ongoing conflict. By practicing the art of "seeing" our thoughts and emotions, we gain control over their influence and prevent them from taking over our hearts.

The journey of meditation involves consistent practice in seeing and observing these mental and emotional phenomena. Through continuous effort, we strengthen our ability to discern and eventually reduce their hold on us. This newfound awareness empowers us to make choices that lead to inner peace and liberation from suffering.

In this process of mindful seeing, we learn that peace is not achieved by suppressing or restraining our thoughts and emotions. True peace comes from allowing them to arise and exist without judgment or oppression. By embracing this mindful perspective, we discover the profound truth that we can be free from the clutches of our thoughts and emotions. Meditation, therefore, becomes the gateway to inner peace and true liberation.

#truthbetold #pyschology #mindset #time #art 
 About "Time"

The liberated Arahant sees it right and therefore does not cling to the past and the future, even in the present.

A simple example is that we cannot know the past, present, and future at all.

We cannot know what exists. If that thing doesn't become the past, it's like when the eyes see pictures, such as seeing flowers, etc. The mind must accept the emotion (image, color) is finished. The sight you see is in the past. We will know it as a flower, such as a rose, etc.

If not the past, the mind has no way of knowing what it is. Therefore, the present moment is something that we cannot know, feel, or touch because we can't know anything. Without that, it would not change to the past itself. One had to "mental moment" in the past to know what it was. So we can't touch the present.

The time called "future" has not yet come, and the past has passed. We don't get anything, even "now". If anyone sees this, it's called knowing the tense. It is a time in dharma language that cannot be divided into seconds, minutes, months, years, anything; it's a constant stream. Until it can be said that there is no beginning, there is no end.

The so-called "time," no one knows when it began. How many times have you been here? When will it end? How many more eras? How many eras? We can't touch it because it must always be in the past for him to feel in his heart what is what.

Eyes see form, ears hear sound, nose smells, tongue tastes, body touches, or whatever your mind thinks.

Only past "mental moments" can tell what is what. but we can't speak at that moment because it's too fast. Just a little "mind moment" has become a thing of the past. Until it was a "mind moment" that consumed emotions, so it was a thing of the past.

You try to compare who is more stupid or who is smarter?

A person who sees the past, future, and present until a problem arises. There must be suffering as usual.

As for the arhats who are wise enough to have no past, future, and present, as the Buddha said, "Do not take two things to the extreme and do not cling to the middle," that is, "not clinging to the past and the future." The top part is called the past, and the last part is called the future, and not even clinging to the medium, which is "the present."

But ordinary people can't do it. This can't be done. We have to teach each other another way, which is to know how to manage time. That... how was it in the past? How is the future, how is the present, and deal with the present properly? Don't be distracted by the past and the future, but focus on the present. It is something that needs to be done right here, now, and today. Just this, ordinary people can alleviate a lot of suffering.

But if that ordinary person sees the present deeper (profoundly), until there is no more "ordinary," people become noble monks for this reason.

#truthbetold #pyschology #mindset #time 
 ...Being happy with what you have is a great asset...

"If we consider what already exists all around us to be satisfactory, it brings comfort and richness, too rich to be measured in material wealth. As the Pali saying goes, 'Santutthi Param Dhanam = Solitude is a great wealth.'

When we appreciate the abundance in our lives, finding usefulness in what we possess, we immediately become 'rich.' On the other hand, if we constantly find everything annoying, dislikable, and remain dissatisfied, we may buy something expensive one day, only to find no satisfaction in it the next day. In such a case, the entire house would lack satisfaction, making one feel more like a 'poor person' than a 'beggar' and even beyond, a 'crazy person.'

Therefore, let us ponder on the essence of this Buddhist proverb: 'Santutthi paramadhanam = Joy over what you have is the greatest wealth.'"

#wealth #asset #mindset #rich #poor 
 Happiness Key

Many mistakenly equate the thrill of relish with happiness, but that is a misconception. Happiness should not be confused with momentary pleasures derived from the senses. Let us delve deeper into this matter and shed light on the truth obscured by ignorance.

There are those who toil tirelessly, only to spend their earnings on temporary delights like liquor and casual indulgences. These fleeting experiences are merely forms of enjoyment, not true happiness. The term "happiness" is often misused in such scenarios, but we must discern the difference.

When we witness someone finding joy in their work, it is not due to the superficial gratification they receive from the senses. Rather, it is a result of understanding and aligning their actions with the natural order of things, also known as Dharma. This concept of Dharma implies fulfilling our duties in harmony with the laws of nature.

Those who comprehend Dharma and act accordingly experience genuine satisfaction. This contentment arising from fulfilling one's duties is the epitome of true and rightful happiness. It is not an elusive state; rather, it is a continuous sense of fulfillment.

However, this level of contentment requires a certain mental development that not all possess. Ordinary individuals often fail to find satisfaction in their labor, feeling burdened by the necessity of work. To attain genuine happiness in work, one must undergo mental training and align their perceptions with the laws of nature.

Imagine a butterfly or a bee, diligently performing its tasks with inherent joy. Similarly, humans can find happiness in their work when they possess the correct understanding of Dharma. Even though they may sweat and exert effort, they remain serene within, knowing that their actions are virtuous and meaningful.

In contrast, those who disregard their duties and choose a path of avoidance lead themselves into misery. They may escape the immediate responsibilities, but true happiness eludes them.

Hence, let us recognize the significance of contentment in Dharma as the key to genuine happiness. By embracing this understanding, we can find peace and fulfillment in our endeavors, even amidst the toils of life.

https://youtu.be/KbU-82bwQDc?si=CXzteusiE1XFVOhi
#truthbetold #pyschology #mindset #happiness