Oddbean new post about | logout

Notes by _210 | export

 ปัญหาขาดแคลนแรงงาน ในเกาหลีใต้และปัญหาผีน้อยและปัญหาจำนวนนักท่องเที่ยวลดลงเกี่ยวข้องกันหรือไม่

เกาหลีใต้ช่วงเวลาทศวรรษปี 1970 ถึง 1980 เป็นช่วงเวลาที่เกาหลีใต้มีกำลังการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างมากโดยเฉพาะกลุ่มอุตสาหกรรมเหล็กสำหรับการผลิตเหล็กกล้า เพื่อใช้ในการต่อเรือขนาดใหญ่เพื่อการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ รวมไปถึงอุตสาหกรรมยานยนต์ที่แบรนด์รถยนต์อย่าง Hyundai และ KIA ได้เริ่มผลิตรถยนต์คันแรกสำหรับวางขายในช่วงเวลาดังกล่าว อุตสาหกรรมที่เติบโตอย่างโดเด่นในช่วงเวลานั้นยังคงมีอุตสาหกรรมภาคอิเล็กทรอนิกส์ที่เริ่มผลิตสินค้าประเภทเครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือน ภายใต้แบรนด์ samsung และ Goldstar (ที่ต่อมาคือ LG) 

แน่นอนว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจนั้นมาจากการทำงาน(work) เพื่อให้เกิดมูลค่า(value) และการสร้างมูลค่าจำเป็นต้องใช้แรงงานจำนวนมาก 

สหภาพแรงงานที่มีการก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 1945 จึงเริ่มกลับมามีอำนาจต่อรองที่มากขึ้นหลังจากการมีการลุกฮือของขบวนการประชาธิปไตยหลังล้มรัฐบาลเผด็จการทหารลงได้ในปี 1987 รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ย่อมทำตามนโยบายที่ฟังเสียงของคนกลุ่มใหญ่มากกว่าฟังความต้องการทางเศรษฐกิจ 

ปี 1988 มีการแทรกแซงกลไกราคาของตลาดแรงงานโดยใช้นโยบายจากทางภาครัฐ จนไปถึงทำให้เป็นกฎหมาย ส่งผลให้ราคาสินค้าในตลาดเพิ่มสูงขึ้นเนื่องจากต้นทุนการผลิต(ต้นทุนค่าแรง)ที่ถูกบังคับให้สูงขึ้น โดยสินค้าที่มาจากภาคอุตสาหกรรมยานยนต์ และเครื่องใช้ไฟฟ้า ที่ยังต้องพึ่งพาแรงงานมนุษย์ในขณะนั้น ได้ถูกบีบให้มองหาถิ่นฐานในการขยายโรงงานการผลิตใหม่ โดยมองหาประเทศที่มีค่าแรงต่ำกว่าประเทศต้นกำเนิดเดิมที่ตั้งถิ่นฐานอยู่เพื่อลดต้นทุนในการผลิตสินค้า เพื่อให้ราคาขายสินค้า ยังคงสู้กับแบรนด์อื่นๆในตลาดโลกได้ การหันหลังหนีของแบรนด์สินค้าและโรงงานผู้ผลิตสินค้าจากแรงงานในประเทศตัวเองที่เป็นทั้งฐานเสียงของรัฐบาล เป็นทั้งคะแนนโหวตและเป็นผู้ต้องการกฎหมายค่าแรงขั้นต่ำ (minimum wage law) กลับเป็นผู้ที่ทำให้มีอัตราว่างงานในประเทศเพิ่มมากขึ้นเสียเอง

นำพามาถึงปัญหาการนำเข้าแรงงานผิดกฎหมาย(ผีน้อย) 

ซึ่งพวกเขา เข้ามาตอบสนองต่อความต้องการแรงงานของตลาดโดยเฉพาะอุตสหกรรมที่ต้องการแรงงานจำนวนมาก อย่างภาคเกษตรกรรม การก่อสร้าง การผลิต จะเห็นได้ว่า ผีน้อย ไม่ใช่ตัวปัญหาในสายตาผู้ผลิตสินค้าที่ต้องการแรงงาน แต่เป็นผลพวงจากตลาดเสรีที่ต้องการแก้ไขปัญหาเพื่อเอาตัวรอดในประเทศ ไม่ต่างอะไรกับการที่แบรนด์หลายแบรนด์ย้ายฐานการผลิตออกจากเกาหลีใต้ 

ชาวเกาหลีใต้บางส่วนที่เป็นผู้ขายแรงงาน(ไม่ใช่ผู้ประกอบการ)มองว่าแรงงานเหล่านี้ทั้งที่เข้ามาแบบถูกกฎหมายและผิดกฎหมายเข้ามาแย่งงานชาวเกาหลีใต้ทำ รวมไปถึงการที่แรงงานเหล่านี้สามารถยอมรับค่าแรงที่ต่ำกว่าที่กฎหมายกำหนด(ตามกฎหมาย minimum wage law) ได้บ้างเป็นการเอาเปรียบพวกเขา แต่การที่แรงงานเหล่านี้ถูกเลือกเข้าไปทำงานนั้น ประกอบไปด้วยเหตุผลเล็กน้อยที่เข้าใจง่ายไม่กี่ประการ หากมองจากมุมมองของผู้ว่าจ้าง

1.ต้นทุนถูก
2.พวกเขาอยากได้งาน

การนำเข้าแรงงานต่างชาติที่(ถูกทำให้ผิดกฎหมาย)เข้ามาทำงาน จะอยู่นอกสายตาของรัฐ ทำให้ลูกจ้างไม่สามารถมี Free contract (สัญญาจ้างเสรี) ที่ผู้ว่าจ้างยินยอมพร้อมใจและเข้าใจไปพร้อมกับลูกจ้างถึงเงื่อนการทำงาน ลักษณะงาน ระยะเวลาในการทำงาน ผลตอบแทน ที่ยินยอมพร้อมกันทั้ง 2 ฝ่าย เมื่อ Free contract ไม่สามารถเกิดขึ้นปัญหาการละเมิดชีวิตความเป็นส่วนตัวของลูกจ้างจึงเกิดตามมา ในบางกรณีนำไปถึงการทำร้ายร่างกาย จนถึงขั้นเสียชีวิต 

รัฐแก้ไขปัญหาแรงงานต่างชาติผิดกฎหมายเพื่อตอบสนองทั้งกระแสสังคม และการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าแบบ รัฐๆ คือการทำให้ประเทศที่รัฐดูแลมีความน่าเยี่ยมเยือนลดน้อยลง โดยการเพิ่มเงื่อนไขจุกจิกมากมายเพื่อป้องกันการเข้าไปเป็นแรงงานผิดกฎหมายซึ่งคนที่เป็นเหยื่อในการใช้อำนาจรัฐในครั้งนี้ กลับเป็นนักท่องเที่ยวที่ถูกส่งตัวกลับเสียมากกว่า การที่นักท่องเที่ยวถูกส่งตัวกลับเป็นจำนวนมาก แต่ลูกทัวร์หายตัวจากกรุ๊ปทัวร์ไปเกินครึ่ง เกิดเป็นภาพลักษณ์ที่ไม่ดีนักสำหรับนักท่องเที่ยว เกิดเป็นปัญหาเศรษฐกิจที่ทำให้ขาดแคลนลูกค้าต่างชาติจำนวนมากแทน  

ตำรวจตรวจคนเข้าเมืองเกาหลีใต้ที่สามารถจับพิรุธคนที่ตั้งใจเข้าเมืองมาเป็น ผีน้อย ในช่วงปีแรกที่มีกระแสปราบปรามแรงงานผิดกฎหมายได้อย่างแม่นยำ กลับไม่สามารถมองเห็นว่าใครเป็นนักท่องเที่ยวจริงๆได้ในช่วงเวลาปัจจุบันที่เกิดกระแส #แบนเที่ยวเกาหลี แต่ปัญหากรุ๊ปทัวร์ที่นั่งว่างยังคงเกิดขึ้น สำหรับรัฐบาลเกาหลีใต้ย่อมต้องรู้ดีถึงวัฐจักรเศรษฐกิจภายในประเทศ ความต้องการแรงงานผิดกฎหมายในแต่ละช่วงเวลาของปีที่ต้องการใช้แรงงานจำนวนมาก อย่างช่วงเวลาเก็บเกี่ยวของภาคเกษตรกรรม อาจเป็นช่วงเวลาที่ดี ที่ตำรวจตรวจคนเข้าเมืองอาจจะผ่อนปรนมาตรการบ้างอย่างก็เป็นได้
#siamstr

https://image.nostr.build/df3d7ea6f67b2c6064db2a2862aa50227d271ee6d1fc759efb25262bfce631f4.jpg 
 ขอบคุณครับ บทความนี้ได้รับแรงบันดาลใจจากข่าวภาคค่ำคนไทยแบนเกาหลี แล้วคิดแบบย้อนขึ้นไปในประวัติศาสตร์ 
 ทำไมเราถึงไม่ควรควบคุมราคาขานสินค้าในตลาดที่เราอ้างว่ามีความเสรี 

ในกรณีที่การควบคุมราคาสินค้าทำให้ราคาขายสินค้าต่ำกว่าต้นทุนการผลิต

จะทำให้ไม่มีผู้ผลิตอยากผลิตสินค้าเข้าสู่ตลาด เกิดปัญหาสินค้าขาดตลาด(supply shock) เพราะผู้ผลิตจะต้องแบกรับต้นทุนที่มากขึ้น ความเสี่ยงที่มากขึ้นทั้งต้นทุนทางเวลา ค่าเสียโอกาส เงินทุน และเนื่องจากไม่สามารถขยับราคาขายสินค้าได้ จะทำให้เกิดการแข่งขันที่น้อยลงระหว่างผู้ผลิต ตลาดจะเต็มไปด้วยสินค้าคุณภาพต่ำเนื่องจากไม่มีความจำเป็นที่จะต้องเร่งพัฒนาสินค้าหรือบริการ เพราะลงทุนไป ก็ขายได้เท่าเดิม 

หากแต่ในกรณีที่มีการควบคุมราคาสินค้าเกิดขึ้นกับสินค้าที่ไม่มีความต้องการในตลาดอยู่จริง ในทางกลับกันราคาขายที่สูงเกินความต้องการของตลาด ก็จะมีผู้ผลิตสินค้าจำนวนมากเร่งผลิตสินค้าเข้าสู่ตลาดเพื่อหวังจะทำกำไรในช่วงเวลาที่สามารถขายสินค้าในราคาแพงกว่าความต้องการของตลาดได้ ทำให้เกิดปัญหาสินค้าล้นตลาด(over supply) เช่นในกรณีที่เกิดกับสินค้าการเกษตร 

หากรัฐกำหนดให้แครอทต้องขายในราคากิโลกรัมละ 50 บาท ตามนโยบายที่หาเสียงไว้ แต่ตลาดมีความต้องการบริโภคน้อยกว่านั้น ผู้ปลูก(ผู้ผลิต)รู้ว่าจะไม่ขาดทุนเนื่องจากต้นทุนการผลิตนั้นต่ำกว่ากิโลกรัมละ 50 บาท รัฐบาลจึงต้องมีวิธีการแก้ไขปัญหา สินค้าล้นตลาด เพื่อคงขายสินค้าให้อยู่ที่กิโลกรัมละ 50 บาท 

โดยบังคับผู้ปลูกแครอทต้องเผาทำลายสินค้าบางส่วนเพื่อพยายามคงราคาขายในตลาดเอาไว้ให้อยู่ที่ 50 บาท เพราะธรรมชาติของธุรกิจเมื่อสินค้าขายไม่ออกการลดราคาขายสินค้าจึงเป็นหนึ่งในตัวเลือกแรก ทำให้ราคาขายแครอทนั้นอยู่ต่ำกว่า 50 บาทต่อกิโลกรัม หรืออีกวิธีหนึ่งที่รัฐบาลใช้ คือรัฐบาลรับซื้อแครอทที่เป็นส่วนเกินของตลาดเอาไว้ในราคา 50 บาทต่อกิโลกรัม
#siamstr
#wherostr
#market210

https://image.nostr.build/b0dbec9fb792f2d88c833151a206de01d0ee301b720811c30fa0f7145853210a.jpg 
 จุดดุลยภาพทำงานอย่างไร
เมื่อผู้ผลิตสินค้าและผู้บริโภคมีความต้องการที่ตรงกัน(self interest ที่ตรงกัน)

ผู้ผลิตสินค้าต้องการขายสินค้า
ผู้บริโภคต้องการบริโภคสินค้า

การกำหนดราคาซื้อขายสินค้าของทั้งสองฝั่งจะเริ่มขึ้นโดยผู้ผลิตสินค้าต้องผลิตสินค้าที่ต้นทุนราคาถูกเพื่อให้ขายสินค้ามีกำไรเพื่อเป็นแรงจูงใจในการผลิตสินค้าต่อไป 

ผู้บริโภคต้องการซื้อสินค้าในราคาที่ตนรู้สึกพอใจที่จะซื้อ ไม่ถูกเกินไปไม่แพงเกินไปเมื่อเทียบกับความยากง่ายในการผลิตสินค้า โดยขึ้นอยู่กับมูลค่าที่ผู้บริโภคมอบให้กับสินค้านั้นนั้น

จุดดุลยภาพคือจุดที่มีความต้องการขายสินค้าที่ราคาขาย “ราคาหนึ่ง” ตรงกับความต้องการซื้อสินค้าที่ราคา “ราคาหนึ่ง”

เช่น หมูปิ้งขายไม้ละ 10 บาท ผู้ซื้อต้องการซื้อในราคาที่ไม่แพงกว่า 10 บาท เมื่อลูกค้าและพ่อค้ามาเจอกันการทำธุรกรรมแลกเปลี่ยน self interest โดยใช้สิ่งแทนมูลค่า(เงิน)กับสินค้าจะเริ่มขึ้น นั่นคือจุดที่เรียกว่า 

จุดดุลยภาพ 
Equilibrium (อี-คิว-ลิ-เบรียม)

#siamstr
#wherostr
#market210

https://image.nostr.build/45779cd7cbc8d9e64be9ff46ad0cb0f8902ea788c53924250532b47f62b58813.jpg