ทำไมเราถึงไม่ควรควบคุมราคาขานสินค้าในตลาดที่เราอ้างว่ามีความเสรี ในกรณีที่การควบคุมราคาสินค้าทำให้ราคาขายสินค้าต่ำกว่าต้นทุนการผลิต จะทำให้ไม่มีผู้ผลิตอยากผลิตสินค้าเข้าสู่ตลาด เกิดปัญหาสินค้าขาดตลาด(supply shock) เพราะผู้ผลิตจะต้องแบกรับต้นทุนที่มากขึ้น ความเสี่ยงที่มากขึ้นทั้งต้นทุนทางเวลา ค่าเสียโอกาส เงินทุน และเนื่องจากไม่สามารถขยับราคาขายสินค้าได้ จะทำให้เกิดการแข่งขันที่น้อยลงระหว่างผู้ผลิต ตลาดจะเต็มไปด้วยสินค้าคุณภาพต่ำเนื่องจากไม่มีความจำเป็นที่จะต้องเร่งพัฒนาสินค้าหรือบริการ เพราะลงทุนไป ก็ขายได้เท่าเดิม หากแต่ในกรณีที่มีการควบคุมราคาสินค้าเกิดขึ้นกับสินค้าที่ไม่มีความต้องการในตลาดอยู่จริง ในทางกลับกันราคาขายที่สูงเกินความต้องการของตลาด ก็จะมีผู้ผลิตสินค้าจำนวนมากเร่งผลิตสินค้าเข้าสู่ตลาดเพื่อหวังจะทำกำไรในช่วงเวลาที่สามารถขายสินค้าในราคาแพงกว่าความต้องการของตลาดได้ ทำให้เกิดปัญหาสินค้าล้นตลาด(over supply) เช่นในกรณีที่เกิดกับสินค้าการเกษตร หากรัฐกำหนดให้แครอทต้องขายในราคากิโลกรัมละ 50 บาท ตามนโยบายที่หาเสียงไว้ แต่ตลาดมีความต้องการบริโภคน้อยกว่านั้น ผู้ปลูก(ผู้ผลิต)รู้ว่าจะไม่ขาดทุนเนื่องจากต้นทุนการผลิตนั้นต่ำกว่ากิโลกรัมละ 50 บาท รัฐบาลจึงต้องมีวิธีการแก้ไขปัญหา สินค้าล้นตลาด เพื่อคงขายสินค้าให้อยู่ที่กิโลกรัมละ 50 บาท โดยบังคับผู้ปลูกแครอทต้องเผาทำลายสินค้าบางส่วนเพื่อพยายามคงราคาขายในตลาดเอาไว้ให้อยู่ที่ 50 บาท เพราะธรรมชาติของธุรกิจเมื่อสินค้าขายไม่ออกการลดราคาขายสินค้าจึงเป็นหนึ่งในตัวเลือกแรก ทำให้ราคาขายแครอทนั้นอยู่ต่ำกว่า 50 บาทต่อกิโลกรัม หรืออีกวิธีหนึ่งที่รัฐบาลใช้ คือรัฐบาลรับซื้อแครอทที่เป็นส่วนเกินของตลาดเอาไว้ในราคา 50 บาทต่อกิโลกรัม #siamstr #wherostr #market210 https://image.nostr.build/b0dbec9fb792f2d88c833151a206de01d0ee301b720811c30fa0f7145853210a.jpg