Oddbean new post about | logout
 fiat currency มันปล้นแทบจะทุกอย่างในชีวิตของเราไป  บีบให้ใช้ชีวิตแบบหาเช้ากินค่ำ หรือไม่ก็เดือนชนเดือน   
 เป็นวัฏจักรที่โคตรนรกเลยครับ 

ถ้าเริ่มทำงานเมื่อ 10 ปีที่แล้ว เงินเดือนสตาร์ท 15,000 บาท (money supply m3 ไทยบาทตอนนั้น 15 ล้านล้านบาท)

เอาหน่วยที่เราได้ต่อเดือน 15,000 บาท หาร ปริมาณเงินทั้งหมดในระบบตอนนั้น 15 ล้านล้านบาท (กำลังซื้อเฉลี่ยต่อเดือนของเราจะเท่ากับ 0.0000001% ต่อเงินทั้งระบบ)

โอเค 10 ปีผ่านไป เงินเดือนเราขึ้น 100% จาก 15,000 บาท เป็น 30,000 บาท (money supply m3 ไทยบาท ปัจจุบัน 24.9 ล้านล้านบาท)

เอาหน่วยที่เราได้ต่อเดือน 30,000 บาท หารปริมาณเงินทั้งระบบในตอนนี้ 24.9 ล้านล้านบาท (กำลังซื้อต่อเฉลี่ยต่อเดือนของเราจะเท่ากับ 0.0000001205% ต่อเงินทั้งระบบ)

เมื่อเอา % กำลังซื้อเมื่อ 10 ปีที่แล้วเทียบกับ 10 ปีผ่านมา กำลังซื้อของเราจะเพิ่มขึ้นมาแค่ 20.48% (ทั้ง ๆ ที่จำนวนเงินเดือนเรามันเพิ่มขึ้น 100%)

เงินเดือนเพิ่มขึ้น 15K > 30K = 100%
กำลังซื้อเพิ่มขึ้นเพียง 20.48%

จะเห็นได้ว่าเราได้จำนวนหน่วยของเงินที่เพิ่มขึ้นจากเงินเดือน แต่กำลังซื้อเราไม่ได้เพิ่มขึ้นตามจำนวนหน่วยที่เราได้เพิ่ม (การขึ้นเงินเดือนมันเป็นเพียงภาพแค่ลวงตา)

และนี่เป็นเหตุผลว่าทำไมเราถึงทำงานแทบตาย ส่ง KPI อย่างยอดเยี่ยม เงินเดือนที่เพิ่มขึ้นมามันถึงไม่เคยเพียงพอกับค่าใช้จ่ายในปัจจุบัน

ถ้าจะเปรียบให้เห็นภาพที่กลับกันคือ เงินเดือนสตาร์ท 15,000 บาท 10 ปีผ่านมา เงินเดือนเราเพิ่มขึ้นเป็น 30,000 บาท (แต่จริง ๆ แล้วเรากำลังมีเงินเดือนแค่เดือนละ 18,072 บาท)

เราไม่วันที่จะมีจำนวนหน่วย (ของเงิน) ได้มากพอ เมื่อปริมาณเงินถูกผลิตเพิ่มได้เรื่อย ๆ 

แค่เรื่องนี่เรื่องเดียวก็โคตร Suffer แล้วครับ เรื่องอื่น ๆ ไม่ต้องพูดถึง

#Siamstr 
 ใช่เลยครับ ทำงานเหนื่อยแทบตาย เงินเดือนก็ได้มากขึ้น ทำไมชีวิตไม่ดีขึ้นเลยว่ะ 5555+ ยิ่งทำยิ่งมีภาระค่าใช้จ่ายก็ยิ่งมากขึ้นอีก คือไรว่ะ555   ชีวิตนี้ความฝันที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคือการได้มีบ้านไว้ซุกหัวนอนสักหลังก็หรูแล้ว #Bitcoin คือทางออก 
#siamstr 
 จริงครับอินด้วยคนเหมือนโดนกันตัวเองเป๊ะ
https://media.tenor.com/gwahalmwTIoAAAAM/screaming-internally-nervous.gif 
 "โดนกัน">>"โดนกับ" 
 เด็กวัยทำงานเจนนี้ตายอย่างเขียด เงินเดือนไม่พอใช้
สิบต้นๆปีก่อนผมก็สตาร์ท 14500 กูยังสร้างงตัวไม่ได้เลย ทุกวันนี้คนส่วนใหญ่ก็ยังสตาร์ทหมื่นห้าหรือไม่ถึงด้วยซ้ำ เพื่อนผมเพิ่งบรรจุราชการใช้วุฒิปวช. หรือปวส. ไม่แน่ใจ เงินเดือนสตาร์ท 11,500 เอง เวรกรรม

และ 1 ในผู้ประสบภัยแสนสาหัสคือผู้แระกอบการรายย่อยแบบผมนี่แหละ เพราะราคาข้าวของขึ้นได้ไม่จำกัด แต่ราคาขายสินค้าขึ้นได้จำกัด มันมีเส้นที่ผู้บริโภคเต็มใจจะจ่าย ประมาณ 10 ปีที่ผ่านมา ต้นทุนวัตถุดิบขึ้นอย่างน้อย 50% ไปจนเป็น 1-3 เท่าตัว แต่ผมก็ยังไม่กล้าขึ้นราคา เช่น หมูบด ผมเคยซื้อครั้งแรกที่ 80-90 บาทเอง ตอนนี้เกือบ 200 พี้ยสุดเกือบ 300 ปีที่แล้ว

ถ้าเราเลือกที่จะคงอัตรากำไรขึ้นต้นไว้เท่าเดิม ราคาขายมันจะขึ้นไปไกลและเราจะเจ๊งเพราะผู้บริโภคไม่ยินดีจ่าย

ผู้ประกอบการรายย่อยจึงอยู่ในสถานะถูกรีดเลือดจนใกล้จะแห้ง จากกำไร 20k ก็เหลือ 10k 5k จนสุดท้ายวันนึงจะขาดทุนและต้องปิดกิจการ 
 ชื่อบริษัทพิลึกจังเลยครับ ราคาขายสินค้าขึ้นได้(จำกัด) 
 เคๆ ไว้จะเก็บไปพิจารนังคัดฉามิ 
 ตั้งชื่อบริษัท มีแต่โจรที่พิมพ์เงินได้ไม่ จำกัด (สำนักงานใหญ่) 
 นี่แหละครับคือตัวอย่างที่ดีว่าสมนึกได้ความร้ายกาจมาจากไหนกัน 
 นอกจากจะ**ทำงานหนัก**แล้ว

จะโดนเฆี่ยนตี ว่า **"กระจอก คนรุ่นนี้ไม่อดทน ไม่พอใจก็ลาออกไป"** อีก🌚 
 ก็ยังดีที่เป็นบวกนะ 
 สวัสดีครับ อ. 🧡 อันนี้ผมลองคำนวณจากการได้ขึ้นเงินเดือนเฉลี่ยปีละ 10% เวลา 10 ปี

หลาย ๆ บ. ที่ปรับปีละ 5% ก็ถือว่าดีมากแล้ว เพราะว่าเขามักจะบอกว่าปรับเงินเดือนตามอัตราเงินเฟ้อ 3~4% เหมือนจะดูดี ดู cover เงินเฟ้อตั้ง 1% แต่คำนวณจริง ๆ จะติดลบกำลังซื้ออยู่ราว ๆ -10% 😱 
 วิชานินจา ฉึบชับๆ บึ้ม  ⚡️ 
 เขากำลังเล่นกับตัวเลข
ค่าเท่าเดิมแค่จำนวนตัวเลขมากขึ้น
คล้ายๆกับ
ยุคแรก 1kg
ยุคถัดมา 1,000g
ยุคต่อไป 1,000,000 mg
ซึ่ง 3บรรทัดนี้ มันค่าเท่าเดิมเลย แค่ตัวเลขมันหลอกตา

พอมาเป็นจำนวนตัวเลขที่เกี่ยวข้องกับเงิน คนคนก็เข้าใจผิดคิดว่าตัวเลขที่เพิ่มขึ้นในบัญชีที่มากขึ้นคือรวยขึ้น คนส่วนมากแยกไม่ออกแล้วว่า ตัวเลขที่เพิ่มขึ้นนั้น ไม่เกี่ยวกับมูลค่าของมัน เพราะกำลังในการซื้อไม่ได้เพิ่มตามไปด้วย 

อีกหน่อยเงินบาทคงมีหน่วยใหม่ในการนับ แบบ100บาท=1หน่วยใหม่
เหมือนในอดีตที่ 100สตางค์ = 1บาท
สมัยก่อนหลักสตางค์ยังมีค่า แต่ปัจจุบันหลักสตางค์ซื้ออะไรไม่ได้อีกแล้ว
 
 แบบนี้เห็นภาพมากครับ 
 “นี่ทฤษฎีสบคบคิดรึป่าว” นี่คือคำตอบที่เคยได้รับเมื่อผมเริ่มสาทยายความ fuck up ของระบบ fiat 
 โหฟังแล้วอยากร้องไห้แทน🥹 
 อึ้งไปตามๆกัน.. 😂 
 สตาร์ท15,000
เข้าเกียร์ 3,000
เหยียบครัช 2,500
เหยียบเบรค 2,000
เปิดไฟเลี้ยวครั้งละ 20 
โอ้ว ชีวิตแบบเฟียตๆ 
 คิดสภาพว่าคุณได้ย้อนเวลาไปคุยกะข้าราชการสมัยจอมพล ป. (ได้เงินเดือนกัน 15-200 บาทได้มั้ง เดาจากเอกสารที่หาได้) คุณเล่าให้เขาฟังว่าในอนาคต คนไทยทำงานได้วันละ 300 เขาจะคิดยังไง 5555555 
 เขาน่าจะถามกลับมาว่า พวกคุณกินก๋วยเตี๋ยวชามละเท่าไร? 555 
 โอโห คนลุ่นมึงได้วันละ ๓๐๐ แบบนี้ลวยกันทั้งปะเทด

แต่ก๊วยเตี๋ยวยุคผมชามละ 50 นะพี่ 
 555 
 จริงด้วย 
 รัฐแสดงแค่ตัวเลขเงินเฟ้อที่ดูไกลตัวจนใครหลาย ๆ คนมองข้ามไป "มันก็แค่ 2~4% ต่อปี ที่ข้าวของจะแพงขึ้น ก็แค่ขยันทำงานมากขึ้นก็พอ" หลาย ๆ คนคิดแบบนี้

ทั้ง ๆ ที่จริงแล้วเราลืมไปว่าเรากำลังถือ หน่วยของเงินที่ออกโดยรัฐ ดังนั้นเงินทั้งกองที่พวกเราใช้กันอยู่มันมีจำนวนทั้งหมดอยู่เท่าไร? เป็นเรื่องที่ไม่ยากจนเกินไป หากจะคำนวณมูลค่าของการเป็นเจ้าของร่วมสำหรับเงินของเรา กับเงินทั้งระบบ (จากความเป็นจริงที่ไม่ได้มาจากปากของรัฐ)

ถ้าหาก เมื่อ 10 ปีที่แล้ว เราอยู่ในระบบของเงินที่ถูกจำกัดปริมาณการผลิต มันถูกล็อกจำนวนไว้ที่ 2,100,000,000,000,000 (2,100 ล้าล้าน) Sats แล้วเงินเดือนเริ่มต้นของเรามันเท่ากับ 15,000 Sats/เดือน กำลังซื้อต่อเงินทั้งระบบของเราจะคิดเป็นประมาณ 0.0000000007% 

ผ่านมาอีก 10 ปี เงินเดือนเราขึ้นเป็น 30,000 Sats/เดือน และ ปริมาณเงินทั้งระบบยังคงเท่าเดิม (จริงมันคงจะลดลงเพราะมีคนทำ seed หาย) ปริมาณ Sats ต่อเดือนของเราจะเพิ่มขึ้นมา 100% และ กำลังซื้อของเราต่อเงินทั้งระบบจะมีประมาณ 0.0000000014% (คือเพิ่มมา 100% เท่ากันกับจำหน่วยที่ได้)

แบบนี้ก็เห็นภาพดีว่า ยิ่งเราขยัน ยิ่งเราพัฒนาคุณค่าของเราให้เก่งขึ้นในระบบที่เงินไม่ถูกผลิตเพิ่ม

ทุกอย่างที่เราทำลงไป มันจะตอบแทนทุก ๆ ความพยายามของเรา อย่างสมเหตุสมผล :)

#Siamstr