พระเจ้ามีจริงหรือไม่ ?
จากมุมมองของ Friedrich Nietzsche ที่ปฏิเสธกฏหรือศีลธรรมของเหล่า Christian จากยุคศาสนนิยม สู่ ยุคปฏิวัติอุตสหกรรม กับการตอบคำถามที่ว่าพระเจ้ามีจริงหรือไม่ ?
และสิ่งที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
สิ่งที่ดูคล้ายกันคือเหล่า Atheist(อเทวนิยม) ผู้ที่ไม่ฝักใฝ่ในพระเจ้า คนเหล่านี้อยู่ในกลุ่มของลัทธิสุญกาศ หรือแนวคิด สุญนิยม (Nihilism)
ในด้านตัวของนิทเช่เองนิยามตัวเองว่าเป็นผู้ฝักใฝ่หรือสร้างตัวตนอีกแขนงหนึ่งขึ้นมาคือ อัตถิภาวะนิยม(Existentialism) ซึ่งเป็นขั้วตรงข้ามกับ สุญนิยม(Nihilism) โดยสิ้นเชิง
ดังนั้นคำว่าพระเจ้าตายแล้วและการมองเข้าไปในตัวของเค้าคือควายตาย ผู้หลั่งเลือดพระเจ้านั้นคือเรา ไม่ได้แสดงเจตจำนงแห่งชัยชนะของเหล่ามวลมนุษย์แต่อย่างใด
ในด้านกลับกันมุมมองที่ว่าเราได้ฆ่าพระเจ้าไม่ได้สิ้นสุดแค่นั้น
เพียงแต่ประโยคสั้นๆที่ว่า “God is dead,He Remains dead and we have killed him”
ถูกปู้ยี้ปู้ยำโดยลัทธิ Postmodernism(ลัทธิหลังโลกสมัยใหม่) ประโยคนี้ถูกใช้จากพวก Woke, LGBTQ+ หรือ กระทั่งพวกลัทธิไร้ศาสนาในปัจจุบัน
ซึ่งเป็นความเข้าใจและการตีความที่ผิด เหมือนกับการฟังพรรคก้าวไกลและเห็นความดีงามของพวกสังคมนิยม
นี่ถือเป็นเรื่องน่ารังเกียจที่สุด ของเหล่าลัทธิที่หลงตัวเอง และ มองไม่เห็นความจริงอีกด้านหนึ่งของความทุกข์ หรือ มองว่าชีวิตคือความสุข
“To live is to suffer; to survive is to find some meaning in the suffering.”
และเมื่อเราอ่านเนื้อในประโยคจริง ของ นิทเช่ถูกกล่าวไว้ดังนี้
“God is dead. God remains dead. And we have killed him. How shall we comfort ourselves, the murderers of all murderers? What was holiest and mightiest of all that the world has yet owned has bled to death under our knives: who will wipe this blood off us? What water is there for us to clean ourselves? What festivals of atonement, what sacred games shall we have to invent? Is not the greatness of this deed too great for us? Must we ourselves not become gods simply to appear worthy of it?”
“พระเจ้าได้ตายลงไปแล้ว พระเจ้ายังเป็นความตาย และ เราคือผู้ที่ฆ่าพวกเค้า พวกเรากล้าที่จะสุขสบายได้อย่างไร ฆาตรกรในหมู่เหล่าฆาตรกร สิ่งที่ดูศักดื์สิทธิ์และทรงพลังแห่งโลกาถูกปักโดยมีดของเหล่ามวลมนุษย์ ใครจะเช็ดคราบเลือดนั้น? น้ำวิเศษจากที่ไหนจะช่วยชำระล้างตัวเรา? เทศกาลใดจะช่วยให้เราไถ่โทษ สิ่งใดจะทำให้เรารอดพ้นเพื่อเป็นการอุทศแก่พระเจ้า? ไม่ใช่สิ่งที่ดีที่สุดของความเป็นตัวเราหรอกหรือ? ต้องเป็นเรา ตัวเราที่คู่ควรกับการเป็นผู้ที่เทียบเคียงและคู่ควรกับพระเจ้า“
นี่คือประโยคเต็มที่เราพึงระลึกมันไว้
#siamstr #siamstrOG
สำหรับมุมมองคริสเตียนโปรแทสแทนต์ที่ผมลองไปถามพี่ๆในโบสถ์ มุมมองตรงกันฮะว่าการประนีประนอมกับความเสื่อมทราม ก็คือการทำบาป เราต้องใช้ชีวิตในทุกๆวันให้สมศักดิ์ศรีของพระเจ้า
เท่าที่ผมจำได้คือ นิทเช่ปฏิเสธเยซูคริสทุกอย่างเลยครับ ถ้าตีความตามนิทเช่ เค้าน่าจะเชื่อเทพโบราณหรือพวกยุค age of Heroes อ่ะครับ ดังนั้นพระเจ้าในมุมมองนิทเช่ไม่ได้มีองค์เดียวแน่ๆ สำหรับผมนะ
ส่วนเท่าที่อ่านมานิทเช่มักจะเอาแนวคิดเชิงวรรณกรรมกรีกหรือ Apollonian และ Dyonysian มาผสมกัน
ปล.ตอนนี้ผมกลับมาอ่าน Fyodor Dostoyevski อยู่ครับ
ธรรมชาติคือพระเจ้า พระเจ้าคือธรรมชาติ
คนนึงเรียกพ่อ คนนึงเรียกบิดา
แล้วสองคนเถียงกันทำไม
ไม่ใช่… คนที่ตีความแบบนี้คือมั่ว
พระเจ้าเปรียบเสมือนความรู้สึกนึกคิดที่คอยควบคุมชีวิตเราอยู่ เมื่อเรามีความรู้สึกนึกคิดเป็นของตัวเองก็เปรียบเสมือนเราได้ฆ่าพระเจ้าไปแล้ว
ดังนั้นแล้วเราจะใช้ชีวิตอย่างไรเมื่อไม่มีพระเจ้ามาคอยควบคุมแล้ว
เราจะรับผิดชอบต่อความรู้สึกนึกคิดของเราที่เกิดขึ้นมาแล้วได้อย่างไรเมื่อไม่มีอะไรมาคอยควบคุมเราแล้ว จึงต้องเป็นตัวเราเองที่แหละที่จะควบคุมและกำหนดชะตาชีวิตของเราเอง
ปล.อันนี้มาจากการตีความของผมเองที่ไม่รู้ว่าถูกต้องมั้ย หากผิดพลาดก็ขออภัยและช่วยแนะนำด้วยครับ ขอบคุณครับ