ยาสามัญง่ายๆ ที่แสดงให้เห็นถึงความเก่งของร่างกาย ในการกำจัดสารเคมีแปลกปลอม ถึงแม้ด้าน pharmacodynamic : pd (ยาทำอะไรกะคนกิน) ยังไม่ชัดเจน แต่มนุษยชาติก็พอจะเข้าใจ pharmacokinetic : pk (กรูทำอะไรกะยาที่กรูกิน) ค่อนข้างแน่นทีเดียว ปกติ pk จะมี 4-5 ส่วนคือ ADME Absorption : การดูดซึม Distribution : การกระจายไปตามส่วนต่างๆของร่างกาย Metabolism : การทำปฏิกริยากะยา โดยร่างกายเรา Elimination : การเอายาออกจากร่างกาย เคสนี้โฟกัสที่ ME รวมๆละกัน พาราในกระแสเลือดบางส่วนจะถูกร่างกายจัดการโดยเอาไปทิ้งทางปัสสาวะ (ผ่านทางไต) พาราอีกหลายส่วนจะถูกตับปู้ยี่ปู้ยำปฏิกริยาเคมีต่างๆเพื่อทำให้พาราโดนขับออกไปทางปัสสาวะได้ง่ายขึ้น อาทิเช่น การเอาโมเลกุลน้ำตาล หรือไม่ก็เปปไทด์ที่ชื่อกลูต้าไทโอนไปแปะ เพื่อให้มันละลายน้ำได้ดีขึ้น ถูกขับออกทางไตได้ง่ายขึ้น ปฏิกริยานึงที่สำคัญคือ oxidation สำคัญเพราะปกติปฏิกริยานี้เป็นเหมือนการเจาะเกราะโมเลกุลเคมีให้ร่างกายแปะโมเลกุลน้ำตาลหรือกลูต้าไทโอนเข้าไปแปะได้ง่ายขึ้น แต่ระหว่างทาง สิ่งที่เกิดขึ้นคือสารพิษที่ชื่อ napqi ซึ่งถ้าคุณร่างกายปกติ และไม่ได้กินพารามากเกินไป ก็จะมีกลูตาไทโอนเพียงพอต่อการแปะเข้าไปกำจัด napqi ออกไปโดยไม่ก่อปัญหานัก Napqi นี้เอง เป็นที่มาของการที่ไกด์ไลน์จำกัดปริมาณการกินพาราต่อวัน หรือจริงๆมาจากอย่างอื่นหว่า แต่ผมเข้าใจแบบนี้อะ 555555 ในทางการแพทย์ในปัจจุบัน มนุษย์จะใช้ Acetylcysteine injection (ใช่ครับ โมเลกุลเดียวกะยาละลายเสมหะเม็ดฟู่นั่นแหละ) เป็น antidote กรณี acetaminophen overdose เพราะ Acetylcysteine มีส่วนที่คล้ายกลูตาไทโอน คล้ายถึงขั้นที่ว่าเคยมีคนซื้อยาชงละลายเสมหะไปกินเอาผิวขาวอยู่ยุคนึง บอกแล้ว ผมไม่ได้ซื้อใบประกอบมา ปั้ดโธ่! #siamstr https://image.nostr.build/401c39c884a230bb1e62db7d9bc2184864157c065307f687fa430f626d253001.jpg