Oddbean new post about | logout
 อีก 1 วันจะวิ่งฮาล์ฟ .. เอ้ย ฮาล์ฟวิ่ง แล้วนะฮับ 

ฮาล์ฟวิ่ง หรือ ฮาล์ฟเวนนิ่ง คืออะไร?

ฮาล์ฟวิ่งคือปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นทุก ๆ 4 ปี หรือทุก ๆ 210,000 บล็อคที่บิตคอยน์จะลดอัตราการผลิตเหรียญใหม่ลงครึ่งหนึ่ง 
บิตคอยน์ไม่มีผู้ควบคุม ไม่มีศูนย์กลางอำนาจ 
แต่มีกฎที่ใช้ร่วมกัน 

กฎเกณฑ์ต่าง ๆ ของบิตคอยน์ไม่มีการบังคับ ใครจะทำตามหรือไม่ทำก็ได้ แต่ผู้ใดที่ไม่ทำตามกฎ ก็จะไม่ได้รับการยอมรับ และไม่สามารถติดต่อสื่อสารกับคนอื่น ๆ ที่เคารพกฎอยู่ได้

ฮาล์ฟวิ่ง เป็นการลดอัตราการผลิตเหรียญใหม่ในส่วนของ Subsidy ลงครึ่งหนึ่ง ซึ่งหากบิตคอยน์ดำเนินตามแผนการดั้งเดิมที่ประจักษ์อยู่ในโค้ด มันจะลดอัตราการผลิตเหรียญใหม่ลงไปเรื่อย ๆ ทุก ๆ สี่ปี จนในที่สุดจะไม่สามารถมีการผลิตเหรียญใหม่ได้อีกเลยในปีค.ศ. 2140 ซึ่งถึงตอนนั้นจะมีบิตคอยน์ถูกผลิตออกมาประมาณ 21 ล้านบิตคอยน์เท่านั้น

นักขุด หรือผู้ทำหน้าที่เรียบเรียงและป้องกันการแก้ไขบัญชีธุรกรรมย้อนหลัง จะได้รับค่าตอบแทน (block reward) สองส่วนด้วยกัน ได้แก่ subsidy และ fee (block reward = subsidy + fee) เมื่อพิจารณาตามนี้จะเห็นได้ว่าบิตคอยน์ถูกออกแบบมาให้สามารถรักษาความมั่นคงของระบบได้ด้วย fee ที่ผู้ใช้งานเป็นผู้จ่ายให้กับผู้รักษาความมั่นคงของระบบโดยตรง ดังที่ Lord William Rees Mogg และ James Dale Davidson ได้กล่าวไว้ใน The Sovereign Individual ที่กล่าวถึงต้นทุนค่าใช้จ่ายในการใช้ระบบการเงิน 'ฟรี' ว่าระบบการเงินที่ค่าใช้จ่ายในการทำธุรกรรมเป็น 0 นั้น ไม่ได้แปลว่ามันฟรี แต่แปลว่าคุณกำลังจ่ายค่าใช้จ่ายในการใช้ระบบการเงินนั้นโดยทางอ้อม กล่าวคือ คุณกำลังจ่ายมันผ่านเงินเฟ้อ ที่ค่อย ๆ ทำให้เงินที่เหลืออยู่ของคุณด้อยค่าลงทุกวินาทีที่คุณใช้ระบบการเงินดังกล่าว

โดยหนังสือได้กล่าวถึง Cybercash ที่ใช้ระบบการเข้ารหัสอสมมาตรและบัญชีกระจายศูนย์ในการป้องกันการปลอมแปลงเงิน ทำให้เกิดสกุลเงินไร้พรมแดนที่ปราศจากเงินเฟ้อ กล่าวคือ ไม่มีธนาคารหรือรัฐบาลใดจะสามารถเสกเงินขึ้นมาได้อีก 
แต่ในระบบเงินดังกล่าว ผู้ใช้งานจะต้องจ่ายค่าใช้จ่ายในการใช้ระบบโดยตรง ทุกครั้งที่มีการทำธุรกรรม 

"จุดจบของเงินเฟ้อจะลบล้างผลกำไรแฝงที่เงินเฟ้อมอบให้กับผู้ผูกขาดอำนาจในการผลิตเงิน และถ้าหากผลกำไรแฝงจากการผลิตเงินใหม่ถูกกำจัดไปจนหมดสิ้นแล้ว กรรมวิธีในการทำธุรกรรมแบบใหม่ก็จำเป็นที่จะต้องเกิดขึ้น เพื่อเป็นการจ่ายค่าตอบแทนเหล่าผู้ผลิตเงินโดยตรง การใช้ระบบการเงินใหม่นี้จึงน่าจะจำเป็นต้องมีค่าใช้จ่ายสำหรับการทำธุรกรรมโดยตรง โดยอาจเป็นการเก็บค่าธรรมเนียมประมาณ 1 % ต่อปี ซึ่งจะถือเป็นค่าใช้จ่ายที่เล็กน้อยมากเมื่อเทียบกับค่าใช้จ่ายกว่า 2.7% ต่อปีที่เราต้องจ่ายให้กับรัฐบาล 99% บนโลกผ่านเงินเฟ้อ"

ระบบบิตคอยน์จะอยู่รอดได้ ก็ต่อเมื่อมันสามารถยืนอยู่บนขาของตัวเองได้อย่างสวยสง่า กล่าวคือ เมื่อผู้ผลิตเงิน หรือนักขุด ได้รับค่าตอบแทนจากผู้ใช้งานในรูปของค่าการทำธุรกรรมในปริมาณที่มากพอ 

จากสถิติสัดส่วนค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมต่อ subsidy เราจะเห็นได้ว่าบิตคอยน์กำลังพัฒนาไปในทิศทางดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง 
โดยจากสัดส่วนค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมที่ต่ำกว่า 0.5% ของ subsidy ในปี 2020 ได้ขยับขึ้นมาสูงถึง 10.66% ของ subsidy หรือประมาณ 0.7431 btc ต่อบล็อค โดยเฉลี่ยในปี 2024 ก่อนที่จะมีการลด subsidy ลงอีก 50% ในหนึ่งวันข้างหน้านี้ 

ค่าใช้จ่ายในการทำธุรกรรมบนระบบบิตคอยน์ในปัจจุบัน อยู่ที่ประมาณ 0.00268% ของมูลค่าธุรกรรมโดยเฉลี่ย
ข้อมูลจาก bitinfocharts

https://image.nostr.build/195a6f834bc780d0d54121eb431a5b8754171c540ff4dd0c01188eae6da29d39.png 
 ⚡⚡⚡ 
 แปลว่าหากยังใช้งานกันเท่าเดิม เมื่อลด subsidy ลงครึ่งนึง สัดส่วน  fee in reward ก็จะเพิ่มเป็น 20% หรือเท่าตัวนึงเลย
แต่หากมีการใช้งานเพิ่มขึ้นอีก ก็จะเพิ่มสัดส่วนตรงนี้ขึ้นไปอีก

ในมุมมองผู้ใช้งานในระบบ ผมคิดว่าปี 2032 ที่ subsidy ~0.75 และ miner น่าจะได้เงินจาก fee เป็นส่วนใหญ่ อาจจะเป็นช่วงเวลาที่ adoption bitcoin เพิ่มมากขึ้นแบบก้าวกระโดด เมื่อเทียบกับวันนี้

ผมว่าพอ subsidy น้อยลง มันจะเห็นลักษณะของ free market มากขึ้นในระบบ โดยที่ ผู้ใช้งาน ซึ่งเป็นแหล่งรายได้ส่วนใหญ่ของนักขุด อาจจะมีบทบาทสำคัญมากขึ้นครับ

ปล. ทาง rightshift มีแผนแปลหนังสือ the sovereign individual มั้ยครัฟ อ่านภาษาต้นฉบับยากมากเลย 😅 
 จุ๊ ๆๆๆๆๆ ตรง ป.ล. ถือเป็นความลับ 
 รอ อ่านนะงับ 
 อุ้ย รอครัฟๆ 
 พูดง่ายๆก็คือมหกรรมแลกเงินfiatเป็นsatใช่มั้ยครับ