Oddbean new post about | logout
 การเลี้ยงลูก หรือการกระตุ้นความใฝ่รู้ให้เด็กๆ หลักจิตวิทยานั้นสำคัญมาก นับเป็นศาสตร์อย่างหนึ่ง

ในวัยเด็กเล็ก ให้เด็กเล่นให้มาก ให้เขาเรียนรู้ผ่านการเล่น ยิ่งเล่นมาก ประสบการณ์ยิ่งมาก การจดจำความสุขในรูปแบบต่างๆที่เกิดขึ้นผ่านการเล่นก็ยิ่งมาก ทำให้เขาสามารถค้นหาตัวตนได้ดีขึ้นในวัยถัดไป

วัยเด็กโต เด็กๆจะเริ่มมีความชอบส่วนตัว ความสนใจที่แตกต่างกัน กระทั่งความถนัดต่างๆ ที่สั่งสมมาจากการเล่นในวัยก่อนหน้า บางคนชอบคิดวางแผน บางคนชอบลงมือทำ ไม่มีแบบไหนดีกว่ากัน เพราะผู้คนแตกต่างกัน เราถึงได้ทำหน้าที่ที่ต่างกันออกไปในแบบของตัวเอง

วัยรุ่น วัยแห่งพลัง ที่ต้องปีกกล้า ขาแข็ง ในรูปแบบของตัวเอง เพื่อสร้างความพร้อมที่จะเป็นผู้ใหญ่ เริ่มมีความเป็นตัวของตัวเองอย่างมาก เขาจะลองผิดลองถูก เพื่อพัฒนาตัวตนและความสามารถในแบบของตัวเอง เพราะโดยธรรมชาติแล้ว อีกไม่นานเขาต้องออกจากอ้อมอกของพ่อแม่ไปตามเส้นทางของตัวเอง เพราะพ่อแม่ไม่ได้อยู่กับเขาไปตลอด ความหมายคือ เขาจะไม่เป็นเด็กอีกต่อไป สิ่งหนึ่งที่จะเชื่อมความสัมพันธ์ของวัยรุ่นกับพ่อแม่ไว้ได้นั้น คือความรักความอบอุ่นที่พ่อแม่ได้มอบไว้ให้ลูกตั้งแต่วัยก่อนหน้านี้ สิ่งนี้จะทำให้เขารักและเห็นคุณค่าของตัวเอง เขาจะคิดทบทวนให้ดีก่อนที่จะเดินไปผิดทาง

ไม่ว่าจะทำโฮมสคูล หรือไม่ทำโฮมสคูลนั้น จริงๆแล้วยังไม่ใช่จุดสำคัญหลัก แต่ที่สำคัญคือพ่อแม่ได้มีเวลาให้กับลูกในแต่ละช่วงวัยหรือไม่ ได้เอาใจใส่เขาเพียงพอหรือไม่ ถ้าเพียงพอก็คงไม่มีปัญหา ไม่ว่าจะส่งลูกไปโรงเรียนหรือทำโฮมสคูล แต่ส่วนมากการส่งลูกไปโรงเรียน ทำให้เวลาใน 1 วันสำหรับครอบครัวนั้นเหลือน้อยมากจริงๆ 

ทั้งยังสภาพแวดล้อมที่อยู่เหนือการควบคุม สำหรับในวัยที่ลูกยังเด็ก สภาพแวดล้อมนั้นเป็นส่วนหนึ่งที่หล่อหลอมตัวตนของมนุษย์คนนึงขึ้นมา การส่งลูกไปโรงเรียนเหมือนการทอยลูกเต๋า ว่าสภาพแวดล้อมจะหล่อหลอมเด็กคนนึงให้ไปในทิศทางใด ไม่ได้บอกว่าดีหรือไม่ดีนะคะ แต่หมายถึงว่าปัจจัยตรงนี้อยู่เหนือการควบคุมของพ่อแม่ เหมือนกับทอยลูกเต๋า มันอาจจะดีหรือไม่ดี เราควบคุมไม่ได้

บางคนอาจจะคิดว่าการปกป้องลูกทุกอย่าง เหมือนไข่ในหิน จะทำให้ลูกไม่แข็งแกร่ง แต่ส่วนตัวเรามองว่า วัยเด็กไม่ใช่วัยที่จะต้องเผชิญความโหดร้ายเพื่อสร้างความแข็งแกร่ง แต่เป็นวัยที่พ่อแม่ต้องสร้างมาตรฐานของชีวิตให้กับลูก พ่อแม่เป็นส่วนสำคัญที่ต้องปกป้องและให้ความปลอดภัยในวันที่ลูกยังเด็ก การสร้างมาตรฐานให้ลูก ทำให้ลูกรู้ว่า ความปลอดภัยนั้นดีอย่างไร ความมีอิสระนั้นมีค่าแค่ไหน และการตัดสินใจในสิ่งที่ต่างออกไปจากผู้อื่นไม่ใช่เรื่องที่ผิด 

พอเขามีมาตรฐานชีวิตที่เป็นอิสระ มีทัศนคติที่ไม่ถูกตีกรอบ สิ่งนี้จะเป็นมาตรฐานของชีวิตเขา วันหนึ่ง เมื่อเขาไปเจอกับสิ่งที่ต่ำกว่ามาตรฐานที่เขาเคยโตมา เขาจะตั้งคำถามกับสิ่งนั้น เขาจะหลีกเลี่ยงมัน เขาจะไม่ทำอะไรเพียงเพราะผู้คนทำตามๆกัน 

ไม่ได้ว่าการไปโรงเรียนเลวร้ายหรือไม่ดีนะคะ แต่ถ้าเลือกได้เราก็ไม่อยากทอยลูกเต๋า และวัยสำหรับการหล่อหลอม ก็คือวัยเด็ก วัยที่เล่นอะไรก็สนุกที่สุด วัยโลกทั้งใบยังเป็นmagic วัยที่กำลังต้องการพ่อแม่มากที่สุด มันมีแค่ไม่กี่ปี และหลังจากนั้น แม้เราจะอยากให้เขาอยู่กับเรามากแค่ไหน เขาก็จะต้องออกไปจากอ้อมอกเราอยู่ดี


nostr:note16pr8rraxrr8ya2fkdrtrzpk4296g27899ar3l076m2cymv8y7dgqlclgzk  
 #siamstr 
 I can see a mini-disscusion of our community in this topic
@Bow RightShift
@Riina
@fastingfatdentist 
@MATH TEAHCHER
@Tum ⚡🟧 
 ต้องจัดแล้วละมั้งครับ 
 พร้อม…….ฟังครับ 
 จากมุมผู้เรียนแบบผม ผมมองว่า ต่อไป มหาลัย อาจจะต้องเป็น Personalized มากขึ้นจริงๆ หรือไม่ก็เป็นเพียงที่ฝึกวิชาภาคปฏิบัติ เช่น คลินิก แลป และงานวิจัยที่ต้องใช้แลปเพียงเท่านั้น

ผมเรียน ป ตรี ที่ไทย ป โท ที่ไทย แล้วผมเทียบกับ mooc เช่น coursera, edx, udemy แล้วส่วนตัวผม การเรียนแบบเลคเช่อ ในคลาสที่มหาลัย สู้การเรียนออนไลน์ไม่ได้เลย เหตุผลก็คือ ในคอร์สออนไลน์ เราสามารถเลือกเรียนคอร์สจากมหาลัย/คนสอนคนไหนก็ได้ ที่ถูกจริตกับเรา เป็นการ mix and match ตามที่เราต้องการ ไม่ใช่ว่าคนสอนในมหาลัยสอนไม่ดีไปซะหมด แต่แบบออนไลน์เราเลือกเฉพาะคนที่เราคิดว่าสอนดีได้ด้วยตัวเราเอง

ส่วนเรื่องที่คอร์สออนไลน์ดูจะเสียเปรียบก็คือ ถ้าเราไม่มี goal ของตัวเอง (ซึ่งส่วนใหญ่กว่าจะรู้ก็ต้องทำงานมาสักพัก) เราอาจจะเคว้างได้ เพราะไม่มีใครคอยไกด์ ว่าแบบไหนคือดี แบบไหนคือสิ่งที่จะได้ใช้  ควรจะรู้เรื่องอะไร? คนที่อยากรู้แค่เฉพาะเรื่องก็สามารถเลือกคอร์สที่ practical มากๆ ในเลือกสั้นๆ อย่างเช่นใน udemy ได้

ตอนนี้ผมมาเรียนต่อโท ในมหาลัยระดับท้อป10 ของโลก ก็ยังยืนยันคำเดิมอยู่ดี ว่าถ้าเป็นเรื่อง เลคเช่อ ยังไงก็สู้ความยืดหยุ่นและหลากหลายของคอร์สออนไลน์ไม่ได้เลย

สุดท้ายผมเห็นด้วยว่าเป็นช่วงเวลาที่มหาลัยน่าจะต้องปรับตัว อาจจะถึงขั้นปรับ position ของตัวเองใหม่เลย มหาลัยจะกลายเป็นสถานที่เพื่อการฝึกปฏิบัติและวิจัย? มหาลัยจะกลายเป็นคนไกด์เพียงว่านักศึกษาควรจะรู้เรื่องใดบ้าง? แต่ปัจจัยวำคัญอีกอันที่ทำให้มหาลัยยังอยู่ได้ก็คงจะเป็นเรื่องความเชื่อถือในกระดาษรับรองวุฒิที่ได้รับและชื่อเสียงมหาลัย ส่วนเรื่องสังคมผมมองว่าเดี๋ยวก็คงเกิดวิธีการใหม่ๆในการรวมกลุ่มกันจนเป็นที่ให้เด็กปรับตัวจากวัยรุ่นเป็นวัยผู้ใหญ่เกิดขึ้นอยู่ดี

และท้ายที่สุดในเรื่องการลงทุน ผมเคยมองว่าที่ดินรอบๆมหาลัย sexy มากๆ (ผมอยุ่หัวเมืองต่างจังหวะที่ดินราคายังพอสู้ได้) แต่ตอนนี้ผมความคิดเปลี่ยนไปเลย ผมไม่แน่ใจว่าธุรกิจหอพักที่เพิ่งสร้างและสร้างด้วยเงินกู้ จะสามารถอยู่ได้จนผ่อนงวดสุดท้ายหมดหรือเปล่า
#siamstr 
 เห็นภาพตามทุกประเด็นเลยครับ 
 มุมมองผมการทำงานต้องใช้ "ความรู้" ควบคู่ไปกับ "ทักษะ" แต่ว่าสิ่งที่สถาบันการศึกษาส่วนใหญ่จะให้ก็จะเป็นความรู้ ส่วน"ทักษะ" จะได้ลองฝึกแล้วมีประสิทธิภาพได้ลองผิดถูกจริงๆ ก็ตอนฝึกงาน

เหมือนผมเรียนครู 5 ปี ในช่วงเวลา4 ปีแรกผมนึกภาพตัวเองสอนไม่ออกเลยเพราะเรียนความรู้แต่ไม่เคยได้ลองสอนนักเรียนจริง ๆ ขนาดผมเรียนมาถึงปี 3 แค่ออกไปโฮมรูมยังรู้สึกว่าทำได้ไม่ดีเลยครับ
ทักษะการสอนผมเริ่มงอกงามจริง ๆก็ตอนเป็นนักศึกษาฝึกสอน ผมได้เรียนรู้จากการลองผิดลองถูก การทำแล้วประมวลผลว่าสิ่งนี้เป็นประโยชน์กับสิ่งที่ทำหรือไม่ จนเกิดเป็นทักษะครับ 
 จริงๆพ่อแม่รุ่นเราๆคิดแบบนี้99%
แต่แต่ละคนก็จะมีทางออกในครอบครัวตัวเอง บนบริบทของตัวเอง มันไม่มีคำตอบที่ถูกต้องวางรออยู่ตรงหน้า

เหมือนที่คุณมิ้นบอก ถ้าตัดสินใจแล้วมันต้องไปด้วยกัน - แค่ประเด็นนี้อย่างเดียวก็ยากมากแล้ว

ถ้าอาชีพเราคือเป็นแม่และครูให้กับลูก

ก่อนแปดขวบเน้นเล่น เน้นภาษา
8-10 เน้นลอง+เที่ยว
11-12 เน้นฝึกฝนวิธีการคิดแก้ปัญหา
13-15 พัฒนาเฉพาะด้าน
16-18 พัฒนาด้านที่ spark joy
มหาวิทยาลัย เอาที่ spark joy ไปทำให้เป็นอาชีพ

ถ้าเราไม่ตัดวงจรพลังงานวัยรุ่น ถ้าเราไม่ตัดพลังงานแห่งความอยากรู้และจินตนาการ เด็ก1คน เค้าจะเก่งได้หลายด้าน ไม่จำเป็นที่เราต้องค้นหาตัวตน แต่เค้าจะหยิบตัวตนของตัวเองมาสร้างคุณค่าได้เอง 
 ชอบคำนี้มากเลยค่ะ “เค้าจะหยิบตัวตนของตัวเองมาสร้างคุณค่าได้เอง” 

เป็นคำตอบของคำถามว่า ถ้าไม่มีวุฒิ แล้วโตไปลูกจะทำงานอะไร ในมุมของเราที่มองว่างานต้องสอดคล้องกับชีวิต ไม่อยากให้งานเป็นสิ่งที่ต้องทนทำเพื่อให้ได้เงิน ลูกจะทำงานอะไรในอนาคต พ่อแม่ก็ไม่สามารถตอบได้หรอก เพราะเอาจริงๆก็ไม่มีใครสามารถรู้ได้เลยว่าในอนาคตจะมีงานแบบไหนให้ทำ หรืองานแบบไหนที่จะหายไป 

แต่ตัวตนของตัวเองที่สร้างคุณค่าอะไรบางสิ่งขึ้นมา จริงๆนั่นก็คืองาน มันก็จะมีใครบางคนที่ชื่นชอบหรือต้องการในคุณค่านั้น และเขาจะเอาอะไรสักอย่างที่เป็นคุณค่าที่ได้จากงานของเขา พวกเขาจะเอามันมาแลกกัน

คิดอยู่นานว่าจะสื่อความหมายนี้ออกมายังไงดี แต่ก็คิดไม่ออก ขอบคุณคุณโบว์มากค่ะ กระจ่างเลย 
 คุณมิ้นมายาม่วงบ่อยๆนะคะ บรรยากาศดีค่ะ 
 แอบปลื้มใจ ขอบคุณค่ะ ☺️🙏🏻 
 แว่บมาอ่านๆ ขอบคุณสำหรับบทความครับ