ช่วงนี้กระแสคนตื่นธรรมคือแรงมาก เอาจริงฟังแล้วชอบนะ มันดูฟังง่ายและตามหลักความเป็นจริงดี แต่มีข้อสงสัยที่ไม่เข้าใจอย่างหนึ่ง คือ การที่อนาคตไม่ได้ถูกลิขิตไว้แล้ว คือพอจะเข้าใจว่าทุกอย่างอยู่ที่เหตุปัจจัยการกระทำของตนเอง ถ้าเราไม่ทำอะไรให้เกิดเหตุเลยมันก็ไม่มีทางที่จะเกิดอะไรขึ้นมาได้ ทีนี้คำถามคือถ้าเราพยายามทำอย่างเต็มที่แล้ว เราจะสามารถกำหนดอนาคตตัวเองได้อย่างที่เป็นจริงๆไหมจากการกระทำของเรา เพราะเอาจริงๆมันก็มีปัจจัยภายนอกที่เราควบคุมไม่ได้ อย่างสภาพแวดล้อม สังคม ผู้คนต่างๆ และ สถานการณ์อันไม่คาคคิด ยกตัวอย่างเวลา หางาน สัมภาษงาน มันมีคู่แข่งมากมายเป็นร้อนเป็นพันคน สภาวะตลาดที่ไม่เอื้อให้เด็กรุ่นใหม่ที่ไม่มีประสบการณ์อีก ถ้าสมมติเราพยายามที่จะอัพสกิลใดๆแล้ว แต่ก็ยังไม่เข้าเป้า เข้าตาของบริษัทต่างๆ ประสบการณ์จริงไม่พอ ประจวบกับ timing อาจจะไม่ได้ เป็นไปได้ไหมที่ถ้าเราพยายามหนักกว่านี้มันจะสามารถก้าวข้ามปัจจัยภายนอกต่างๆไปได้ #siamstr #discussion
📌📌
ขึ้นอยู่กับว่า เราเลือกที่จะเชื่อว่าเวลานั้น มีจริงไหม หากมีจริง แพทเทินรูปแบบการเดินมันเป็นอย่างไร การกำหนดอย่างไร วัดอย่างไร เช่นนั้น ค่อยมาดูว่าเรากำหนดหรือเปลี่ยนแปลงได้หรือไม่ หรือว่ามันถูกกำหนดไว้แล้ว
ช่วงเวลาที่ว่าหมายถึงช่วงเวลาไหนหรอครับ แล้วถ้าพูดถึงการวัดนี่จะวัดยังไงดี เพราะเราต้องดูแพทเทิน รูปแบบของมันถึงจะรู้ได้ใช้ไหมครับว่าเปลี่ยนแปลงได้หรือไม่ได้
เช่นถ้าแบบที่คนทั่วไปเข้าใจคือ เวลาเดินจาก อดีต มาปัจจุบัน และไปอนาคต เป็นเส้นตรง แต่มันมีคิดกันหลายแบบ ซึ่งผมไม่แน่ใจว่ามันจะนอกประเด็นไหมนี่ 555 ยกตัวอย่างเช่น เวลานั้นไม่มีจริง แค่มนุษย์กำหนดขึ้นมาเองเฉยๆ หรือถ้ามี ก็อาจจะมีแบบ อดีตและอนาคตไม่มีจริง มีแต่ปัจจุบันนั้นของจริง อีกแบบคือ ทุกช่วงเวลา อดีต ปัจจุบัน อนาคต นั้นเกิดขึ้นพร้อมกัน ซึ่งเท่าที่ผมทราบ วิธีคิดแบบนี้ทางวิทย์ คือพวก สิ่งมีชีวิต ที่มีระดับ มิติที่สูงกว่าเรา คิดว่าน่าจะมิติที่ 5 ขึ้นไป ส่วนทางศาสนา ผมทราบมาจาก โดเก็น พระเซนญี่ปุ่นครับ
เท่าที่ผมเข้าใจ...อดีต...จะเกี่ยวเนื่องกับ...ปัจจุบัน...และ...ปัจจุบัน...ก็ส่งผลไปยังอนาคต A = อดีต, B= อนาคต, A∩B = ปัจจุบัน https://www.statology.org/wp-content/uploads/2020/08/setops1.png
https://image.nostr.build/686c6d8252f240fdcf603abbb9c8a2d5cbdb5bd11dfb3689e04bb11cb4f793aa.jpg
ก็จริงแหะ ยังมีบางส่วนที่ยังสงสัยอยู่ ต้องหาข้อมูลเพิ่ม
พุทธไทยสำหรับผมมันคือความพังพินาศ แต่มันอยู่ได้ เพราะคนในสังคมมันมีความเชื่อฝังอยู่ เพราะไอ้พวก Cancel Culture มันทำลายไม่ได้ คนไทยมันชอบทำลายและสร้างไปพร้อมๆกัน ดูตัวอย่างกฏหมายออกมาเพื่อทำแบบนั้น จึงไม่แปลกใจว่าสังคมไทยพวกข้าราชการจึงใช้เงินมือเติบ แบบนั้น ทุนนิยมไทย ทำเหี้ยไรก็ได้แค่อย่าไปเหยียบเท้าใครก็พอ
Cancel culture นี่คืออะไรนะครับสุดหล่อ อธิบานให้หน่อย
Cancel Culture เป็นตัวทำลายโครงสร้างหลักของสังคมครับ จริงๆ แนวคิดมันมีมาตั้งแต่การปฏิวัติฝรั่งเศส ในทฤษฎีของตัวเลขและเวลา ไอ้พวกนักปฏิวัติที่จับกษัตริย์ไปฆ่า แม่งจะปรับเปลี่ยนให้โครงสร้างทางเวลาไม่ใช่ 24 ชม. พวกคอมมูน ปารีส ลองหาอ่านใน Sliberty ครับ ซึ่งไอ้ทฤษฎี Cancel Culture เป็นในสังคมไทยในตอนนี้ เพราะ มีพวก Minority ที่ไม่มีพื้นฐานด้านสังคมเดินเข้ามาในกลุ่มสังคมและบอกว่า ที่พวกมึงทำอะ… ทำลายคุณภาพชีวิต และความเชื่อที่ไร้แก่นสารของพวกมึงแม่งผิด “ยกตัวอย่างประเพณีสงกานต์ที่มีอุบัติเหตุเป็นประจำ ความผิดมาจากเล่นน้ำสงกานต์หรอ? คำตอบคือไม่ใช่ มันมาจาก ปริมาณรถที่ค่อนข้างเยอะที่ใช้ในการสัญจร” คนเหล่านี้ก็จะบอกว่าถ้าไม่มี ปัญหานี้ก็จะไม่เกิด ซึ่งหลงลืม ความเป็นมาของสังคมดั้งเดิม วัฒนธรรมเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และสร้างมาตรฐานสำหรับภาคพื้นนั้นๆ พวกวัฒนธรรมหรือการส่งออก มันมี Value ของมัน ซึ่ง Cancel Culture มันนำไปสู่การเอารัฐมาครอบกฏหมายอีกที อย่างการที่ ร.6ไล่ปราบผีบุญ หรือ ที่ไอ้ ป.พิบูล หรือ พวกระยำ 2475 มันทำกับการที่บังคับให้ผู้ที่มีเชื้อชาติใกล้เคียงกันพูดภาษาไทย ละทิ้งภาษาถิ่นเดิม(ย้อนกลับไปดูจังหวัดผม แม่งมี 4 ภาษา) ปัญหาของการรวมศูนย์มันทำให้ภาครัฐส่วนกลางมีบทบาทในวัฒนธรรมท้องถิ่นมากเกินไป แต่ประเทศไทยดีหน่อย ที่รัฐแม่งปล่อยอิสระ(บ้าง)ต่างกับจีน ที่สุดท้ายความดีความชอบขึ้นอยู่กับความเท่าเทียม อยากให้ลองสังเกตด้านประเพณีบ้าง สงกรานต์ของพรรคเพื่อไทยปีที่ผ่านมา(กฏหมายค่อนข้างหลวม) ต่างกับ ยุคก่อนมาก ที่แม่งบังคับทุกอย่าง เอาน้ำเย็นสาดใส่คนอื่น แม่งโดนปรับ คือไอ้ห่ากูออกมาเล่นสงกรานต์กูพร้อมเปียกเมษาแม่งร้อน น้ำเหี้ยไรก็เอามาเถอะ อย่าอาน้ำร้อนมาก็พอ พวกเชี่ยนี่ก็ใส่กฏหมายลงไปชิบหาย ตำรวจที่ไปช่วยแทนที่จะได้มีความสุขช่วงเทศกาลรวมเป็นหนึ่งเดียวกัน ต้องไปคอยระวังไปทุกอย่าง ระวังว่าคนนู้นคนนี้จะทำผิด ผมมองว่าสังคมที่ต้องมีกฏมาบังคับในสังคมและวัฒนธรรม รวมถึงประเพณี มันทำให้กฏนั้นเป็นกฏที่แท้จริงด้านประเพณี และใครเล่าจะทำได้ดีเท่ากับสิ่งที่ดำรงค์อยู่
เอออจริง เหมือนที่โทษทัศนศึกษาเพราะรถบัสไฟไหม้เลย
รถบัสไฟไหม้ สำหรับผมคือ Black Swan และ เราไม่จำเป็นต้องพิจารณาหรือแก้ไขปัญหา เพราะมันแก้ไม่ได้ มันมีความประมาท 1 หรือ 2 หรือ 3 ถ้า อ่าน Black Swan จะเข้าใจดีเรื่อง Insecurity ถ้าให้ออกความคิดเห็นผมมองว่า ผมสงสารเด็กๆ แต่ความสงสารผมแก้ไขปัญหาไม่ได้ ผมทำได้แค่เห็นคุณค่าของการดำรงค์ที่ดับสูญหลงแต่ฝังในความทรงจำ
ความพยายามที่มากขึ้นอาจได้หรือไม่ได้...ย่อมเป็นได้...เพราะโลกธาตุนี้เป็นของคู่...ความพยายามนั้นรู้แต่เพียงเราหาใช่ผู้อื่นทั้งหมดไม่ ...หากอิงตามตัวอย่างแล้วเราจะรู้ได้เช่นไรว่าผู้อื่นจะไม่พยายามมากขึ้นเช่นเรา😀ให้ได้มาผ่านการตัดสินใจของผู้อื่น...แต่หาเพียงยอมรับสิ่งที่เกิดขึ้นหลังจากได้พยายามไปแล้วโดยไม่ยึด ย่อมเป็นสุข มากกว่าแม้ว่าสิ่งนั้นอาจไม่ได้มาซึ่งความพอใจของเรา
ตอนเด็กผมไปแข่งบอลเดินสายบ่อย เจอกับทีมเก่งๆก็หลายครั้ง มีชนะบ้างแพ้บ้าง แต่ที่รู้ๆคือผมได้ใส่แรงกายและใจลงไปเต็มที่แล้ว ผลที่ออกมาจะเป็นยังไงก็ไม่เสียใจเพราะเราใส่สุดไปแล้ว ปล.ไม่รูว่าเป็นคำตอบได้มั้ย😅
สิ่งที่บัณฑิตสะกิดใจ มันช่างน่าสะเดาะไข ซะเหลือเกิน พอเรามาพิจารณา “ทุกข์” ที่ว่าคือ การไม่ประสบกับสิ่งที่หวัง(สิ่งที่ชอบ) “สาเหตุของทุกข์” ปัจจัยภายนอก ร้อยแปดพันเก้า มากระทบกับ ***ปัจจัยภายใน*** เกิดการกระเทือน “เหตุของการดับทุกข์” เมื่อเริ่มเห็น กระบวนการเกิดของทุกว่ามี 2 ปัจจัยมากระทบ เราจึงเริ่มสร้างเหตุปัจจัยให้เกิดผล (ในกรณีนี้ ท่านบัณฑิตเริ่มค้นพบเหตุปัจจัยภายนอกที่มากระทบ แต่ลืมดู ลืมพิจารณาปัจจัยภายใน และกระบวนการกระทบ) “ทางพ้นทุกข์” ปัจจับภายนอก ของแนะนำภาพกว้างๆ อะไรที่ใช้เผาเวลาแล้วน่าจะแก้ได้ก็ใช้ ความพยายามเป็นเชื้อ สร้างมันขึ้น ส่วนปัจจัยภายใน ขออนุญาตแนะนำ “อภิธรรม” ธรรมะของรุ่นใหญ่ เป็น ปรมัตถธรรม* คือธรรมขั้นสูง ธรรมละเอียด * “เป็นความจริงที่ไม่ใช้สมมุติ เป็นเนื้อความที่แท้จริง ที่แท้แน่นอน ไม่มีการแปรปรวนกลับกลอก จริงแบบ จะเถียงก็ไม่ได้ ไม่ว่าเวลาไหน หรือในที่ใด ทั้งไม่เกี่ยวกับบุคคล สัตว์ หรือสิ่งของ ทั้งสิ้น” ธรรมที่ต้อง verify รัวๆต้องอ่านแล้วอ่านอีก ไม่พอ”ต้องปฏิบัติ ให้รู้จักสภาวะต่างๆที่เกิดขึ้นจากภายใน” ประกอบการพิจารณา อีกอย่างรู้ทัน รู้ตลอด รู้เนืองๆ 🙏🏼🙏🏼🙏🏼
ขอบคุณมากครับบผมม จะลองศึกษาดูนะครับบ
ข้อสังเกต ให้ชวนศึกษา “อภิธรรม” คือ ชอบสวด, สวดกันเป็นพิธีเลย แต่แค่ตอน ”งานศพ” อาจจะเพราะ “คนเป็น” หวังให้มีโอกาส สักนิดให้” คนตาย” ได้รู้ ธรรม บทนี้ ยังกับเหมือนเป็นทางลัดเลย แต่ไม่ยอมศึกษากันตอนเป็นๆ😅 🙏🏼🙏🏼🙏🏼🌞
ขออนุญาตแสดง ข้อชวนสังเกต ชวนให้อยากศึกษา คนพุทธ ส่วนใหญ่ มักชอบสวด, สวดเป็นพิธีกันเลย ในงานศพ บท“อภิธรรม” เนี้ย บาททีอาจจะได้ยินกันในห้องโรงพยาบาลด้วยซ้ำ อาจจะเพราะ “คนเป็น”หวังให้”คนตาย, ใกล้ตาย”ได้ยินได้ฟัง ธรรมบทนี้ คลับคล้ายคลับคลาเหมือนเป็นทางลัดอะไรบางอย่าง แต่มีโอกาสเป็นๆกันอยู่ ทำไมเหตุอะไรจึงไม่ยอมศึกษากัน? ผมจริงถือวิสาสะแนะนำให้ ค้น , พิจารณา ธรรมบทนี้ เพื่อให้ ” รู้ ” และเข้าใจภายในตัวเองให้มากขึ้น จะได้เป็น บาตรฐาน ในการใช้ชีวิต และตอบคำถามของตนเอง ครับ GM ครับ🙏🏼🌞
ผมเชื่ิอว่าเราจะเจอที่ๆเหมาะกับเราครับ ตอนผมจบใหม่ๆก็พยายามสมัครหางานทำอยู่ปี1 2ปี เข้าๆออกที่ๆอยากไปที่ๆหมายตาไว้มักจะไม่ค่อยสมหวังแต่พอเราเลิกหวัง สิ่งๆนั้นมันดันวิ่งเข้ามาหาเราเอง อ.เบียร์ คนตื่นธรรมส่วนหนึ่งแกก็พูดถูกครับ แต่ไม่ใช่ทั้งหมดชีวิตคนเราบางที่มันก็กำหนดอะไรไม่ได้ 100% การยึดมั่นถือมั่นมากเกินไปพอสิ่งนั้นไม่เป็นอย่างที่หวังมีแต่ซ้ำให้เกิดความทุกข์ แต่ถ้าเราปล่อยวางบ้างไม่ตึงเกินไปทำความเข้าใจกับสิ่งที่อยู่ตรงหน้าและยอมรับว่ามันก็คงจะได้แค่นี้จริงๆเพราะเราทำเต็มที่ไปแล้ว แบกรับความทุกข์ไว้แล้วเดินหน้าต่อไปผมเชื่อว่ามันจะมีจังหวะของเราครับ ถึงพุทธะจะไม่เชื่อเรื่องดวงแต่จริงๆ ปัจจัยภายนอกมันก็ยังมีผลต่อเราครับและจริงๆมันไม่ได้ขัดกับแนวคิดของพุทธะด้วย ยกตัวอย่างเช่น อยู่ๆวันหนึ่งดวงอาทิตย์ดับไปแบบนี้ลองคิดดูว่ามันมีผลต่อโลกแค่ไหน หรือวันดีคืนดีมีดาวอะไรไม่รู้มาพุ่งชนใส่โลกเรางี้ ยังไงมันก็ส่งผลครับ แต่แนวคิดของพุทธะสำหรับผมมันคือการใช้สติปัญญาดิ้นรนหาทางแก้ปัญหาที่อยู่ตรงหน้าครับและมันยังช่วยให้ชีวิตมีเป้าหมายและความหมายด้วยไม่ว่าสิ่งที่เราทำนั้นมันจะสำเร็จหรือไม่แต่มันก็มีความหมายสำหรับครั้งหนึ่งในชีวิตที่เราเกิดมาเป็นมนุษย์ละครับต่อให้จะล้มเหลวมันก็ยังมีความหมาย และถ้าสำเร็จมันยิ่งดีเลยครับอย่างน้อยเรามีบทเรียนหรือผ่านบทเรียนนั้นแล้วนำมันไปบอกเล่าหรือสอนผู้อื่นต่อได้มันก็คล้ายๆเวลาเราผ่านอะไรมาก่อนพอเจอคนที่ประสบเหตุการณ์แบบเราแล้วเขามีความทุกข์พอเราไปเห็นเราก็รู้ทันทีว่าเขากำลังทุกข์เรื่องอะไรเพราะเราเจอและผ่านมันมาแล้ว แล้วเราก็แนะนำได้ว่าควรทำยังไงผมว่าตอนที่พุทธะสอนคนน่าจะอารมณ์นี้มากกว่าเพราะเป้าหมายในชีวิตของแกคือ การพ้นทุกข์ เพราะแกออกมานอกกำแพงวังแล้ว ไปเห็นสัจจะธรรมหรือความจริงเข้า ว่าเรา ต้องเกิด ต้องเจ็บ ต้องแก่ และตาย ผมว่านี่แหละคือจุดเริ่มต้นว่าทำไมแกจึงเลือกใช้สติปัญญาดิ้นรน ถ้าเกิดว่าแก่เลือกอีกทางล่ะ แกเลือกที่จะไม่ทำอะไรเลย เป็น สิทธะมีชีวิตอยู่กับลูกกับเมียไปจนแก่จนเฒ่าไม่ต้องดิ้นรนอะไรแบบนั้นคงจะมีความสุขกว่าในฐานะคนมียศถาบรรดศักดิ์ทั่วๆไป แต่ความเป็นจริงคือแกไม่เลือกทางนั้นอะครับ แกเลือกเส้นทางที่ต้องใช้สติปัญญาดิ้นรนหาทางดับทุกข์ จึงเกิดเป็นพุทธะและโลกเราจึงมีศาสนาพุทธมาจนทุกวันนี้ ดังนั้นในชีวิตเราผมมองว่า เราเลือกแบบไหนก็ได้ครับไม่จำเป็นต้องดิ้นรนแบบพุทธะเสมอไป เราควรเลือกตามความพอใจของเราครับ เลือกทางที่เราสะดวกและไม่ตึงเกินไปผมว่ามันมีความทุกข์น้อยกว่า ถ้าผมเจอพุทธะคำแรกที่ผมจะถามแก ผมจะถามว่าตลอดชีวิตที่แกตัดสิ้นใจบวชจนนิพานแกมีความสุขไหม? ผมว่าน่าถามนะครับอยากรู้เหมือนกันว่าแกจะตอบยังไง