2. Transactions นิยามของเหรียญอิเล็กทรอนิกส์ในที่นี้ คือห่วงโซ่ที่คล้องเกี่ยวกันของ digital signature โดยที่เจ้าของเหรียญอิเล็กทรอนิกส์จะโอนเหรียญไปยังเจ้าของคนถัดไป ด้วยการลง digital signature บน hash ของธุรกรรมก่อนหน้ารวมถึงกุญแจสาธารณะของเจ้าของคนถัดไป และผนวกมันไว้ที่ส่วนท้ายของธุรกรรม และผู้รับเงินเองก็สามารถตรวจสอบลายเซ็นเพื่อยืนยันความเป็นเจ้าของได้ https://image.nostr.build/a467896797a9fb9f98c3c234f0adb4df2376f2c3d9a7cc9d8672d7a9f5aa9efa.png แน่นอนว่าปัญหาก็คือผู้รับเงินไม่สามารถตรวจสอบได้ว่าเจ้าของคนใดคนหนึ่งก่อนหน้าเขาได้ใช้เหรียญดังกล่าวซ้ำซ้อนมากกว่าหนึ่งครั้งหรือไม่ และวิธีการแก้ไขปัญหานี้โดยทั่วไปก็คงเป็นการกำหนดตัวกลางที่มีความน่าเชื่อถือมาเป็นคนตรวจสอบทุกธุรกรรมเพื่อป้องกันการใช้จ่ายซ้ำซ้อน และหลังจากการทำธุรกรรมแต่ละครั้ง เหรียญจะต้องถูกส่งกลับไปยังตัวกลางเพื่อออกเหรียญใหม่ และจะมีเพียงเหรียญที่ออกจากตัวกลางโดยตรงเท่านั้นที่จะเชื่อถือได้ว่าจะไม่ถูกใช้จ่ายซ้ำซ้อน แต่ปัญหาก็คือ ชะตากรรมของระบบเงินทั้งหมดจะขึ้นอยู่กับตัวกลางตัวนี้ เพราะทุกธุรกรรมจำเป็นจะต้องผ่านพวกเขา ซึ่งก็ไม่ต่างอะไรกับธนาคาร เราจึงต้องการวิธีการที่ทำให้ผู้รับเงินทราบได้ว่าเจ้าของคนก่อน ๆ ไม่ได้ลงนามในธุรกรรมใด ๆ มาก่อน เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์นี้ เราจะทำการนับว่าธุรกรรมที่เกิดขึ้นก่อนเป็นธุรกรรมที่ถูกต้อง และจะไม่สนใจความพยายามใด ๆ ในการที่จะใช้เหรียญนั้น ๆ ซ้ำอีก และวิธีเดียวที่ทำแบบนี้ได้ คือการรับรู้ถึงธุรกรรมทั้งหมด เช่นเดียวกับโมเดลที่ได้กล่าวข้างต้น ที่ตัวกลางจะรับรู้ถึงธุรกรรมทั้งหมดและตัดสินว่าธุรกรรมใดมาก่อนมาหลัง เพื่อให้บรรลุเป้าหมายนี้โดยไม่ต้องมีบุคคลที่สามที่เชื่อถือได้ ธุรกรรมทั้งหมดจะต้องถูกประกาศต่อสาธารณะ [1] และเราต้องการระบบที่ผู้เข้าร่วมเห็นพ้องในประวัติธุรกรรมชุดเดียวกันตามลำดับที่ได้รับ ส่วนผู้รับเงินก็จำเป็นจะต้องมีหลักฐานว่า ในขณะที่ทำธุรกรรม "โหนด" ส่วนใหญ่ในระบบเห็นพ้องต้องกันว่าธุรกรรมนั้นได้รับเป็นลำดับแรก(ไม่มีธุรกรรมที่ใช้เหรียญพวกนี้มาก่อน) [1] W. Dai, "b-money," http://www.weidai.com/bmoney.txt, 1998. #siamstr