Oddbean new post about | logout
 นานมาแล้วที่อยู่กับตลาด แต่พึ่งจะมาเคยศึกษาความเป็นมาของ เงิน ว่า จนไปเจอ Series Before the FED มา เลยลองเรียบเรียงเรื่อง The First Bank of the United State มาให้เพื่อนๆ ได้อ่านกันครับ โดยจะแบ่งเป็นพาร์ตๆ เพราะเรื่องราวค่อนข้างยาว @ARIMA

-- อารัมภบท --

สงครามจบแต่คน (และเรื่องเงิน) ยังไม่จบ

https://image.nostr.build/38a17295c36d54efb3b76a64f493be56e0d28d75e864feda094c4a3ab3f8d9b6.jpg
ภาพประกอบ - วอชิงตันเข้าสู่นครนิวยอร์กในการอพยพของอังกฤษ พฤศจิกายน พ.ศ. 2326 โบสถ์เซนต์ปอลอยู่ทางซ้าย เส้นทางขบวนพาเหรดในปี ค.ศ. 1783  (พ.ศ. 2326) ไปจากโรงเตี๊ยม Bull's Head บน Bowery จากนั้นเดินต่อไปตาม Chatham, Pearl, Wall และสิ้นสุดที่ Cape's Tavern บนถนนบรอดเวย์

หลังจากสิ้นสุดสงครามอิสรภาพของชาวอเมริกัน แม้สภาพของเหล่าทหารอาสาจะดูไม่จืด แต่ก็เฉลิมฉลองชัยชนะต่อกองทัพของหนึ่งในประเทศที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกได้ หรือกองทัพอังกฤษนั่นเอง

แน่นอนว่าเมื่อสงครามจบไปแล้ว ปัญหาที่ตามมาของสงครามในตอนนั้นคือ การหยุดชะงักทางเศรษฐกิจ การชำระหนี้สงคราม มูลค่าของเงินที่ลดลงไปเนื่องจากเงินเฟ้อ และหลายๆ อย่างอีกมากมายก่ายกองเป็นยองใย

ในช่วงทศวรรษที่ 1780 เกิดการหยุดชะงักทางเศรษฐกิจไปทั่ว เนื่องจากสงครามก่อนหน้าที่ได้ขัดขวางการค้าขาย ทำให้คนในประเทศต้องแบกรับภาระหนี้สิน เพื่อประทังชีวิตให้รอดต่อไปในแต่ละวัน

ในสมัยนั้น แม้แต่เงินกระดาษที่ออกโดยสภาคองเกรสเพื่อใช้ในสงคราม ยังไม่วายต้องไร้ค่าไปด้วย เพราะเงินเฟ้อลุกลามระบาดอย่างกับโควิด แน่นอนว่า มีคนมากมายต้องสิ้นเนื้อประดาตัวถึงขั้นล้มละลายไปตามๆ กัน

ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นเพราะ ในช่วงที่สร้างประเทศใหม่ๆ ยังขาดรัฐบาลที่แข็งแรง และไม่ได้ง่ายเลยที่จะสร้างชาติได้ทันทีหลังจากการต่อสู้เพื่อเอกราช

และแน่นอนว่า เป็นหน้าที่ของเสาหลักอย่าง จอร์จจี้ (จอร์จ วอชิงตัน) จอห์นนี่ (จอห์น อดัม) และธอมมี่ (โธมัส เจฟเฟอร์สัน) ต้องหาทางออกกับปัญหาที่ยากและท้าทายนี้เพื่อให้ประเทศชาติผ่านวิกฤติไปได้

-- เสนอแนวทางแก้ไข --

ในตอนนั้นมีสถาปนิกชื่อดังคนนึงเข้ามาเสนอแนวทางการแก้ปัญหาเหล่านี้ เขามีนามว่า อเล็กซานเดอร์ แฮมิลตัน ภายหลังได้นั่งเก้าอี้คลังเป็นคนแรก (1789 - 1795)

https://image.nostr.build/904c1c7cf4f0c1b3e31b4e0465e30ce9846eb85eb1b5301cf2aff1cd0e137f89.jpg
ภาพประกอบ - อเล็กซานเดอร์ แฮมิลตัน รัฐมนตรีกระทรวงการคลัง (1789 - 1795)

แต่ในตอนนั้นเหล่าผู้นำฝ่ายอนุรักษ์นิยม ไม่ค่อยเห็นชอบกันเท่าไร โดยให้เหตุผลว่า ชาวอเมริกัน ต้องทำไร่ทำนากันเป็นหลัก

แต่แฮมิลตันก็ไม่ได้ยอมแพ้ ไปฟาร์มความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์และโครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ โดยเฉพาะ ฝรั่งเศษและอังกฤษ เพื่อหาคำตอบว่า เจ้าพวกนั้นมันสร้างชาติกันได้ยังไง

แรกเริ่มเดิมที เขาไปอ่านงานเขียนของ ฌาค เนคเกอร์ (รมต. ครังฝรั่งเศษ) เกี่ยวกับการคลัง แต่แล้วก็พอว่า วิถีแบบอังกฤษ ดูจะเข้าท่ากว่า โดยศึกษาผลงานจากนักปรัชญา เดวิด ฮูม และ อดัม สมิธ (จริงๆ แล้วเป็นชาวสก็อตแลนด์)

https://image.nostr.build/51086588cd8f21c2386be32702938ad960666e9dd1144f591edac3422d62e5d7.jpg

ภาพประกอบ - ซ้าย David Hume 1711 - 1776 และขวา Adam Smith 1723 - 1790 

ไอ้วิถีที่ว่านี้ก็คือ Public Debt หรือที่เรียกกันว่า หนี้สาธารณะ นั่นเอง แฮมิลตันพบว่า อังกฤษใช้วิธีนี้ในการระดมทุนเพื่อสร้างกองทัพ และทำให้อังกฤษกลายเป็นจักรวรรดิที่รุ่งเรื่องที่สุดขึ้นมาได้

แฮมิลตันจึงคิดว่า “เออ ว่ะ เราน่าจะเอาแนวคิดหนี้สาธารณะมาใช้แบบอเมริกันสไตล์น่าจะเข้าท่า” เขาให้เหตุผลว่า โครงสร้างทางเศรษฐกิจที่รวมหนี้ให้เป็นสาธารณะจะช่วยระดมเงินทุนได้มากพอที่จะทำให้ระบบการเงินของสหรัฐฯ ผ่านพ้นวิกฤติไปได้

หลังสงคราม สหรัฐฯ มีหนี้เยอะมาก รวมๆ กันแล้วมีมากกว่า 5 ล้านดอลล่าร์ ยังไม่รวมแต่ละรัฐที่รวมกันแล้วเป็นหนี้ก้อนโตประมาณ 25 ลานดอลล่าร์ 

แฮมิลตันจึงมีความคิดและยื่นรายงานต่อรัฐสภาว่า รัฐบาลกลางควรรับช่วงต่อหนี้สงครามของรัฐแทน เพราะคิดว่าจะทำให้คนที่ให้ยืมเงินแก่รัฐบาลมีแนวโน้มที่จะสนับสนุนรัฐบาลกลางมากขึ้น อีกทั้ง ยังจะหยุดความขัดแย้งกันในเรื่องภาษีระหว่างรัฐต่างๆ และ รัฐบาลกลางอีกด้วย

แฮมิลตันจึงมีความคิดและยื่นรายงานต่อรัฐสภาว่า รัฐบาลกลางควรรับช่วงต่อหนี้สงครามของรัฐแทน เพราะคิดว่าจะทำให้คนที่ให้ยืมเงินแก่รัฐบาลมีแนวโน้มที่จะสนับสนุนรัฐบาลกลางมากขึ้น อีกทั้ง ยังจะหยุดความขัดแย้งกันในเรื่องภาษีระหว่างรัฐต่างๆ และ รัฐบาลกลางอีกด้วย

ดังนั้นแนวคิดของเขาเกี่ยวกับการจัดการเงินและการมีธนาคารแห่งชาติจึงเป็นส่วนหนึ่งของแผนการที่จะทำให้สหรัฐอเมริกาแข็งแกร่งและเจริญรุ่งเรืองในเวลาต่อมา

-- สร้างธนาคารแห่งชาติ --

หลังจากฟาร์มความรู้มามากพอแล้วก็ถึงเวลาอันสมควร แฮมิลตันได้ส่งรายงานของเขาต่อสภาคองเกรส ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1790 (พ.ศ. 2333) ในการสร้างธนาคารแห่งชาติขึ้น 

เขาชี้แจงต่อสภาว่า ไอ้สถาบันที่ว่าจะเปิดนี้จะใช้วิธีออกเงินกระดาษ (ภายหลังเราเรียกมันว่า ธนบัตร) โดยให้สถานที่ที่เรียกว่าธนาคาร เป็นที่ปลอดภัยสำหรับเก็บเงิน และอำนวยความสะดวกแก่การทำธุรกรรมเชิงพาณิชย์ ทำหน้าที่เป็นตตัวแทนทางการคลังของรัฐบาล รวมถึงการเก็บรายได้ภาษีของรัฐบาลด้วย (โมโนโพลีสัสๆ)

https://image.nostr.build/7d3899c975eeffefd185b0ce03fa6229bd04e3e16569cbd90e40edfbfdb69ba6.png

แฮมิลตันมียังมีแนวคิดที่จะเพิ่มฟีเจอร์ให้กับธนาคาร โดยอิมพลิเมนท์มาจากธนาคารแห่งอังกฤษ แต่ต่างกันตรงที่ ถ้าคุณเป็นเจ้าของส่วนหนึ่งในธนาคาร คุณก็จะมีหนึ่งเสียง 

แต่แฮมิลตันบอก ที่นี่เราไม่ทำแบบนั้น แผนของเขาคือ จำนวนคะแนนเสียงที่คุณได้นั้นขึ้นอยู่กับขนาดของการลงทุนของผู้ถือหุ้นแต่ละราย 

นอกจากนี้ ธนาคารของแฮมิลตันยังมีกฏเกี่ยวกับจำนวนเงินที่จะให้กู้ยืมได้เมื่อเทียบกับจำนวนทองคำหรือเงินที่มีอยู่ (เมื่อก่อนสิ่งเหล่านี้จะเรียกว่า Specie) ในขณะที่ธนาคารแห่งอังกฤษไม่ได้มีกฏนี้

สัดส่วนการเป็นเจ้าของจะมี รัฐบาลสหรัฐฯ ป็นเจ้าของธนาคารอยู่ร้อยละ 20 ในขณะที่ธนาคารแห่งอังกฤษ จะเป็นของเอกชน แต่ธนาคารทั้งสองแบบไม่สามารถซื้อขายสินค้าได้ และต้องได้รับอนุญาติจากรัฐบาลก่อนที่จะให้กู้ยืมเงินแก่รัฐหรือรัฐบาลท้องถิ่น

พูดง่ายๆ คือ แนวคิดของแฮมิลตันเป็นการอิมพลิเมนท์ Bank of England และเปลี่ยนเมธอดให้ดีขึ้นและเหมาะสมในแบบ อเมริกันสไตล์

-- การตอบรับต่อข้อเสนอของแฮมิลตันในสภา --

แน่นอนว่านโยบายอันสุดโต่งที่ขัดต่อวิสัยทัศน์ของกลุ่มชาตินิยมสมัยนั้น ที่มีฐานสังคมเป็นเกษตรกรรมส่วนใหญ่ โดยเฉพาะ โธมัส เจฟเฟอร์สัน (ปธน. คนที่ 3 ในเวลาต่อมา) 

https://image.nostr.build/0cf5363153532e6c14309c625e5320af1567ace1045e995f3d48dcdd0938ccb8.png

ธอมมี่กลัวว่า ระบบธนาคารแห่งชาติแบบเนี่ย จะเป็นบ่อนทำลายธนาคารของรัฐ โดยที่นโยบายหลายๆ อย่างจะไปเอื้อต่อนักการเงินและเหล่าพ่อค้าซะมากกว่า แถมยังขัดต่อรัฐธรรมนูญอีกด้วย

ยังไม่พอ ธอมมี่อธิบายต่อว่า ระบบแบบนี้ มีแต่จะทำให้เกษตรกรเป็นหนี้ แล้วเจ้าหนี้จะมีแต่นักลงทุนและเหล่าพ่อค้า เขาแย้งอีกว่า รัฐธรรมนูญฉบับนั้น ไม่ได้ให้อำนาจแก่รัฐบาลในการจัดตั้งบริษัทต่างๆ รวมทั้งธนาคารแห่งชาติด้วย (ก็คือ ทำงานแยกกัน)

เจมส์ เมดิสัน (ประธานาธิบดี คนที่ 4 ในภายหลัง) ก็ไม่วายมาผสมโรงด้วย โดยให้เหตุผลเดียวกันนั้นล่ะ ว่าไอ้ระบบแบบเนี่ยย มันเป็นบ่อนทำลาย ชาติ!!

https://image.nostr.build/07172cfa9e8b4b1d55ad891fa04036a1f0de4e558ebc308bcc920b7a652795d1.jpg
ภาพประกอบ - เจมส์ เมดิสัน ประธานาธิบดี คนที่ 4 ในเวลาต่อมา

เขายังคัดค้านต่ออีกว่า ขอเสนอของธนาคารเป็นการ ลบหลู่ เอ้ย ลิดลอน สิทธิของรัฐเป็นเวลา 20 ปี และจะทำให้รัฐต่างๆ ต้องสวามิภักต่อรัฐบาลกลางมากเกินไป ซึ่งไม่สอดคล้องกับวิถีอเมริกัน

ยัง เรื่องมันยังไม่จบ เสียงสนับสนุนส่วนใหญ่มาจากนิวอิงแลนด์ และรัฐกลางมหาสมุทร แอตแลนติก และรัฐต่างๆ ทางตอนใต้ก็เกรงว่าไอ้รัฐบาลกลางเรื่องมันจะมาลุกล้ำสิทธิของตนมาเกินไป

จอร์จจี่ เริ่มจะไม่มั่นใจละว่า จะลงนามร่างกฏหมายนี้ดี หรือจะปัดตกไป เขาจึงไปขอคำแนะนำ เอ็ดมันด์ แรนดอล์ฟ อัยการสูงสุด และ โธมัส เจฟเฟอร์สัน และแน่นอนว่าทั้งสองคน บอกจอร์จจี้ว่า ไม่เห็นชอบครับ 

https://image.nostr.build/2a90887ea3a42656ed81e109bad9839986143bc6d82e7591b04e39c62f774e4b.jpg
- ภาพประกอบ เอ็ดมันด์ แรนดอล์ฟ อัยการสูงสุด 1789 - 1794

กระนั้นยังไม่พอ จอร์จจี้ยังคงลังเลใจที่จะส่งเอกสารที่มีความคิดเห็นของแรนดอล์ฟและเจฟเฟอร์สัน ไปยังแฮมิลตัน ในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 1791 โดยให้เวลากระทรวงการคลังหนึ่งสัปดาห์ในการตอบกลับ

แฮมิลตันก็ไม่ได้ท้อถอย เขายังคงเดินสายหาเสียง เอ้ย ไปรวบรวมความคิด สรุปความคิดเห็น และขอคำปรีกษากับคนอื่นๆ มากขึ้น (งานล้อบบี้ ก็มา)

ในคืนสุดท้ายก่อนเส้นตาย ของวันที่ 22 กุมภาพันธ์ แฮมิลตันอยู่กะยันเช้า เพื่อยื่นข้อโต้แย้งของเพื่อนสมาชิก ครม. ที่มีความยาว เกือบ 15000 คำ กับ ประธานาธิบดี วอชิงตันเพื่อลงนามในร่างกฏหมาย

https://image.nostr.build/7c0badd27641cb68fd7cbb21279fdba315a0047de4a357c1a068a0d47bd3865e.jpg

แม้จะมีเสียงค้านมากมาย แต่สุดท้ายก็แบ่งเค้กกันเสร็จ ร่างกฏหมายของแฮมิลตันก็เกิดแลนด์สไลด์ได้ทั้ง สส. และ สว. เฉยๆ ทั้งที่เถียงกันมาตั้งนาน สุดท้ายก็ได้ลงนามโดย ปธน. จอร์จ วอชิงตัน ในปี 1791 (พ.ศ. 2334)

https://image.nostr.build/0a5bec966cee84c691b93df96ce0c28a2f10a3e5aee5bdeb0136500e7d0cb086.jpg
- ภาพวาดในยุค 1830 ชื่อ 'Girard's Bank, late the Bank of the United States, ใน Third Street, Philadelphia' แสดงให้เห็นอาคารที่เป็นที่ตั้งของ First Bank รูปภาพผ่าน บริษัท ห้องสมุดแห่งฟิลาเดลเฟีย


-- ธนาคารแห่งแรกของสหรัฐอเมริกา --

วันที่ 12 ธันวาคม ค.ศ. 1791 (พ.ศ. 2334) ธนาคารแห่งสหรัฐอเมริกา ซึ่งปัจจุบันเรียกว่า ธนาคารแห่งแรก (First Bank) ได้เปิดทำการวันแรกที่ฟิลาเดเฟีย โดยมีกฏบัตร (สัญญาเช่า) 20 ปี 

สำนักงานนี้เดิมทีตั้งอยู่ใน คาร์เพนเตอร์ ฮิล แต่ภายหลังย้ายไปอยู่บนถนนที่สามในอีก 6 ปีต่อมา และมีสาขาเปิดเพิ่มในบอสตัน นิวยอร์ก ชาร์ลสตัน และบัลติมอร์ในปี 1792

ในตอนเป็นสตาร์ทอัพใหม่ๆ ธนาคารแห่งแรกนั้นเริ่มต้นด้วยเงินทุน 10 ล้านดอลล่าร์ โดยมีสัดส่วนการถือหุ้นจากรัฐบาล 2 ล้าน และ 8 ล้านจาก นลท. เอกชน

https://image.nostr.build/1a4c97d6977f74411e3b9c6005976a83d301b18e225a8ef01fd474d1557b7733.jpg
- โทมัส วิลลิง 1731 - 1821 นักการเมือง พ่อค้า พ่อค้าทาส และเป็นประธานคนแรกของ Bank of North America และ First Bank of the United States

ธนาคารได้รับการดูแลโดยคณะกรรมการจำนวน 25 คน ซึ่งส่วนใหญ่มาจากฟิลาเดลเฟีย นิวยอร์ก และบอสตัน แต่มีตัวแทนจากแมริแลนด์ นอร์ธแคโรไลนา เซาท์แคโรไลนา เวอร์จิเนีย และคอนเนตทิคัตด้วย

https://image.nostr.build/407abf8b7e6eb7cc7f968befd3021d9f62efd38a0762136ad5ef26b824ef31b7.png

สมาชิกคณะกรรมการประกอบด้วยทนายความ พ่อค้า และนายหน้า ตลอดจนสมาชิกวุฒิสภาและสมาชิกรัฐสภาหลายคน

ในตอนนั้น ธนาคารนี้ทำหน้าที่เป็นตัวกลางทางการเงินของรัฐบาลกลาง รวบรวมรายได้จากภาษี รักษาเงินทุนของรัฐบาล และให้รัฐบาลกู้เงินได้ด้วย ฝากถอนโอนไวได้โบนัสเมื่อชวนเพื่อ เอ้ย รับโอนเงินฝากของรัฐบาลผ่านเครือข่ายสาขาของธนาคาร และชำระค่าใช้จ่ายของรัฐบาลอีก

แถมยังมีฟังก์ชั่นจัดการดอกเบี้ยของกระทรวงการคลังให้กับ นลท ชาวยุโรปในหลักทรัพย์รัฐบาลสหรัฐ

เท่านั้นยังไม่พอ ธนาคารนี้ยังรับเงินฝากจากประชาชนแถมยังปล่อยสินเชื่อให้กับประชาชนได้อีกด้วย ในสมัยนั้น ระบบอะไรแบบนี้ถือว่าว้าว!! มาก

แต่ก็มีข้อจำกัดอยู่อย่างคือ กฏบัตรหรือสัญญาของธนาคารกำหนดให้ต้องขออนุมัติจากสภาคองเกรสก่อน รัฐอื่นๆ หรือชาวต่างชาติ จะมาขอกู้ได้ แถมยังจำกัดดอกเบี้ย ไว้ที่ ร้อยละ 6 เท่านั้น


https://image.nostr.build/6ec5cd31b1d74a34331c8f94d55ce44633c2fca00cc0a0a64243baf28700ea47.jpg

- ธนาคารอเมริกาเหนือ ฟิลาเดเฟีย 7 มกราคม 7 1782 (อย่าสับสนกันระหว่าง Bank of British North America กับ National Bank of North America)


10 ล้านนี่ถือว่าเยอะมากๆ ด้วยขนาดของเงินทุนอันมหาศาล (ในยุคนั้น) ทำให้ สถาบันดังกล่าวเป็นสถาบันการเงินที่ใหญ่ที่สุด สำหรับประเทศเกิดใหม่ และยังถือว่าเป็นบริษัทที่ใหญ่ที่สุดในทุกประเภทอีกด้วย 

https://image.nostr.build/987e99616f26d2c3b7f7291319407eca2389aee64c77d958c3120c593b6c332d.png

แน่นอนด้วยความใหญ่ของมัน ไม่วายต้องเปิด IPO และแน่นอนว่าเป็นการเปิดขายที่ใหญ่ที่สุดอีก

นักลงทุนรายแรกๆ ส่วนใหญ่จะเป็นชาวต่างชาติ ซึ่งแน่นอนว่า ชาวอเมริกันไม่ถูกในสิ่งนี้ แม้ว่าตามระเบียบของธนาคารที่แฮมิลตันเขียนไว้ในตอนแรก ว่าความเป็นเจ้าของหรือสิทธิการออกเสียงจะขึ้นอยู่กับสัดส่วนการลงทุน แต่ชาวต่างชาติก็ไม่มีสิทธิออกเสียอยู่แล้ว

แล้วที่ Peak กว่านั้นคือ หุ้นที่ซื้อไป ไม่ได้เป็นหุ้นที่เราซื้อ แล้วถือไว้ เหมือนเราซื้อหุ้นเข้าพอร์ตนะ มันเป็นหุ้นแบบต้องจ่ายรายเดือน เหมือนเราสับตะไคร้ Netflix โดยตั๋วที่ นลท จะได้ จะเป็นกระดาษ สมัยนั้นจะเรียกว่า Scrip

https://image.nostr.build/520e9d05c87c4f6a968848d405b6e2d4e90c370c2fcaa512c291216edf12b21f.png
- ภาพประกอบ ต้นฉบับที่ลงนามโดยโรเบิร์ต มอร์ริส ผู้ลงนามในปฏิญญาอิสรภาพ ข้อบังคับของสมาพันธ์ และรัฐธรรมนูญของสหรัฐอเมริกา โอนหุ้นธนาคารแห่งสหรัฐอเมริกาจำนวน 42 หุ้นให้แก่โจเซฟ บอลล์เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2335 ขณะนั้น โรเบิร์ต มอร์ริสเป็นวุฒิสมาชิกสหรัฐอเมริกาจากเพนซิลเวเนีย

และก็มีคนบ้าจี้จริงๆ แย่งกันซื้อตั๋วนั่นจนหมดภายในไม่กี่ชั่วโมง โดยเริ่มขายในเดือนกรกฎาคม ปี 1791 ซึ่งหมดเร็วจนต้องมีการประมูลเพื่อแย่งกันในตลาดรอง

แน่นอน ว่าต้องมีคน FOMO กลัวจะตกรถ ถึงขั้นไปกู้หนี้ยืมสินกันมาเลยทีเดียว ขายทรัพย์มาแลกเงินไปแห่ซื้อกัน และแน่นอนอย่างที่เรารู้กัน สัญญาณแบบนี้แหละ ที่เป็นสัญญาณที่จะมีคนติดดอย และนำพาประเทศเข้าสู่วิกฤติทางการเงิน

--------
พาร์ตแรกจบไปแล้วครับ ไว้ต่อกันพาร์ตหน้า ว่าเกิดอะไรขึ้นบ้าง ในช่วงวิกฤติการเงินที่เกิด The First Bank นี้ 

#Siamstr
#Thainostrich 
 โอ้ น่าเอาลง #YakiHonne กับ #Habla ด้วยครับ