## คอมเม้นท์เป็นกรณีศึกษา
Base on มุมมองของพี่ ความเห็นส่วนบุคคล และบนโจทย์ของการสื่อสารให้กระชับตรงประเด็นเป็นหลัก
จุดแข็งที่พี่เห็น คือ ความจริงใจและความกระตือรือร้นที่แสดงออกมาผ่านภาษาที่ใช้ รวมถึงการใช้คำถามเชิงวาทศิลป์ กระตุ้นให้คนอ่านคิดตาม และการยกตัวอย่างปัญหาที่เกิดขึ้นจริง ทำให้บทความมีความน่าสนใจ
สำหรับพี่มันอาจยังมีจุดที่ควรปรับปรุง เพื่อให้สอดคล้องกับหลักการสื่อสารตรงประเด็นประมาณนี้...
Hit the Point?
มีส่วนที่เยิ่นเย้อและออกนอกประเด็นอยู่บ้าง เช่น การพูดถึงความไร้สาระของคนที่โดนหลอก ซึ่งแม้จะเกี่ยวข้องกับหัวข้อหลัก แต่ก็เป็นการอ้อมเกินไป ทำให้ผู้อ่านอาจเสียเวลา และไม่เข้าใจประเด็นหลักที่ผู้เขียนต้องการสื่อ แนะนำว่าควรตัดส่วนที่ไม่จำเป็นออก (ในโอกาศถัดไป) และเริ่มต้นด้วยการเปรียบเทียบระหว่างทองคำและ Bitcoin ทันที
เช่น..
เคยสงสัยไหมครับว่า.. ทองคำที่เราซื้อมานั้นแท้จริงแค่ไหน? การตรวจสอบทองคำนั้นซับซ้อนมากนะครับและต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญพอสมควร แต่บิตคอยน์ต่างออกไป...
Only Signals, No Noises?
มีเนื้อหาบางส่วนที่ไม่จำเป็นและอาจทำให้ผู้อ่านสับสน เช่น ประเภทของกระเป๋าบิตคอยน์ (Cold Wallet, Hardware Wallet) หรือศัพท์เทคนิคอย่าง UTXO ซึ่งผู้อ่านทั่วไปอาจยังไม่เข้าใจและดูไม่เกี่ยวกับหัวข้อหลักเท่าไหร่
อาจจะปรับได้โดย.. ลองตัดรายละเอียดที่ไม่จำเป็นออกและมุ่งเน้นที่ประเด็นหลักแทน คือ บิตคอยน์ตรวจสอบได้ง่ายและปลอดภัยกว่าทอง
เช่น.. เพียงแค่ใช้โปรแกรม Wallet ก็สามารถตรวจสอบยอดบิตคอยน์ของเราได้ทันที มั่นใจได้ว่าบิตคอยน์นั้นเป็นของเราจริงและไม่มีใครสามารถโกงเราได้..
Structure
อาจจะยังขาดการจัดโครงสร้างที่ดี ทำให้ผู้อ่านอาจรู้สึกว่าเนื้อหากระจัดกระจายและไม่น่าติดตามได้
อาจจะแบ่งเนื้อหาออกเป็นส่วนๆ เช่น..
- ทองคำ ความยุ่งยากในการตรวจสอบ ความเสี่ยงที่จะถูกหลอก
- บิตคอยน์ ความง่ายในการตรวจสอบ ความปลอดภัยและการเป็นเจ้าของอย่างแท้จริง
Respectful and Non-Judgmental Communication (พ้อยท์นี้เกี่ยวข้องกับจิตวิทยาในการสื่อสาร ค่อนข้างลึก ค่อยๆ ฝึกและสังเกตผลเอาเองเรื่อยๆ)
มีบางคำที่ใช้ภาษาไม่สอดคล้องกับมู้ดแอนด์โทนรวมๆ ของเนื้อหา เช่น โคตร, แม่ง และบางวรรคเราเผลอตัดสิน, เหมารวมผู้อ่านที่ยังไม่รู้จักบิตคอยน์ เช่น พวกท่าน, ไร้สาระ
ลองฝึกใช้ภาษาที่เป็นกลางและเพิ่มการให้เกียรติผู้อ่านทุกๆ คน
เช่น แทนที่เราจะใช้คำว่า โคตรไร้สาระ (ซึ่งมันดูแรงดี มันดูดุดัน แต่มันอาจ Toxic กับความรู้สึกของคนอ่าน ซึ่งจะไปเบี่ยงเบนวัตถุประสงค์หลักในการสื่อสารของเราหมด) เราอาจใช้.. น่าเสียดาย
และแทนที่จะใช้คำว่า พวกท่าน (ซึ่งหมายถึงคนอ่านทุกคน, คนที่ทำเช่นนั้นทุกคน ทั้งที่เค้าอาจไม่รู้ว่าตัวเองกำลังทำไม่ถูก, เข้าใจผิด) เราอาจใช้.. หลายคนหรือบางคน อาจจะ แทน
อาจใช้คำพูดที่เชิญชวนให้คนกลุ่มนั้นลองหันมาศึกษา มากกว่าการ Toxic เพื่อให้ตาสว่าง หรือรู้สึกในเชิงลบ (โดยที่เราเองอาจไม่รู้ตัว ไม่ได้ตั้งใจ) เช่น หากท่านสนใจ..
ถ้า Mood & Tone คือการบ่น ต่อว่า วิพากษ์วิจารณ์ ให้คนเหล่านั้นโดยตรง ภาษาในลักษณะนั้นไม่ผิด วัตถุประสงค์จะชัดเจนขึ้น
แต่ถ้าเราอยากให้เขาตระหนัก ฉุกคิด ไตร่ตรอง เปิดรับข้อมูลใหม่ เราควรเปิดใจเข้าด้วย ซึ่งก้ออาจต้องลดโทน Aggressive (กับคนที่เราไม่รู้จัก) ลงหน่อย มันจะได้ผลและมีประสิทธิภาพกว่า
เราไม่ได้เก่งหรือฉลาดไปกว่าใคร เราแค่อยากแบ่งปันและแนะนำสิ่งที่เรารู้ที่เราคิดว่ามันจะเป็นประโยชน์สำหรับเขา
Anyway เสียงของตลาด เสียงของคนอ่าน ไม่ได้ดังออกมาเสมอไป บางทีมันก็อาจดังอยู่ในใจ..
ถ้าเจตนาเราดี ซึ่งเจตนาของบทความนี้ดี ก็ควรแสดงออกถึงเจตนาที่ดีนั้นให้ชัดเจนครับ