Oddbean new post about | logout
 CAUTION : ผมไม่ใช้ผู้เชี่ยวชาญทางด้านสุขภาพ Note นี้ เป็นเพียงข้อความที่ผมเคยเขียนให้แฟนที่ประสบกับปัญหาอารมณ์แปรปรวนอ่านเพื่อทำความเข้าใจเท่านั้น โปรดศึกษารายละเอียดเชิงลึก หรือใครที่มีข้อแนะนำสามารถ discuss กันได้ตามอัธยาศัย 🙏

-

น้ำตาลกับโดปามีน

อาการที่เราอยากทานน้ำตาลหรือของหวานที่หลาย ๆ คนชอบพูดติดปากว่า "โหยน้ำตาล, อยากของหวาน, น้ำตาลตก" รวมถึงอาการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นเมื่อทานน้ำตาลหรือของหวานเป็นประจำ เช่น เพิ่งทานอาหารมื้อใหญ่ไปแต่ไม่นานก็หิวอีกแล้ว หิวกลางดึก หรือรู้สึกเวียนหัวแต่เมื่อได้รับน้ำตาลแล้วรู้สึกดีขึ้น จริง ๆ แล้วสิ่งนี้มาจากอาการที่สมองเสพติดสารเคมีที่ชื่อ "โดปามีน" กระบวนการนี้เกิดขึ้นได้อย่างไรเรามาดูกัน

ก่อนอื่นเรามาดูกระบวนการ การใช้พลังงานของร่างกายกันก่อน โดยปกติร่างกายของมนุษย์จะมีการใช้พลังงานอยู่ 2 ประเภท คือ พลังงานจากคาร์โบไฮเดรต (รูปแบบน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว) และพลังงานจากไขมัน (รูปแบบกรดไขมัน) ตามปกติแล้วเมื่อเราทานอาหารเข้าไป เช่น ผัก ผลไม้ ข้าว หรือขนมปัง อาหารพวกนี้จะให้พลังงานจากคาร์โบไฮเดรต ซึ่งเมื่อร่างกายได้รับอาหารประเภทนี้เข้าไปจะต้องผ่านกระบวนการย่อยเพื่อทำให้โครงสร้างของน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวที่ถักทอกันเป็นสายเส้นยาว ๆ ผสานกันเป็นโครงสร้างที่เราเรียกว่าใยอาหารหรือไฟเบอร์ ให้มีการแตกตัวออกมาเป็นน้ำตาลโมเลกุลเดียวก่อนที่ร่างกายจะนำไปใช้เป็นพลังงาน

ซึ่งอาหารพวกนี้เมื่อเราทานเข้าไปจะต้องใช้ระยะเวลาในการย่อย มันจึงค่อย ๆ ปล่อยน้ำตาลที่อยู่ในไฟเบอร์ออกมาทีละน้อย ๆ ให้ร่างกายเรามีเวลามากพอที่จะดูดซึมไปใช้ ต่างจากน้ำตาลแปรรูปที่เป็นส่วนผสมในอาหารหรือเครื่องดื่ม ที่ร่างกายสามารถดูดซึมไปใช้ได้ในทันที

น้ำตาลที่เราพบในอาหารหรือเครื่องดื่มที่มีขายอยู่ทั่วไปตามท้องตลาดนั้นเป็นโปรดักส์ที่ผ่านการผลิตจากกระบวนการอุตสาหกรรมโดยตัวอย่างหนึ่งในนั้นคือการใช้ต้นอ้อยในการนำมาผลิตน้ำตาล โดยต้นอ้อยที่ถูกตัดจะถูกส่งเข้าโรงงานแปรรูป ผ่านการบีบคั้นน้ำหวานออกจากต้นอ้อย ผ่านการต้มด้วยความร้อนเพื่อฆ่าเชื้อ และทำให้ตกผลึก (สำหรับน้ำตาลทรายขาวจะมีการดูดสีน้ำตาลที่ไม่ต้องการออก ด้วยอะคริลิคเรซิน และไซลีนเรซิน ผู้ผลิตมักบอกว่านี่ไม่ใช่กระบวนการฟอกขาว) จากกระบวนการนี้เราจะได้น้ำตาลที่ใกล้เคียงกับน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวที่ร่างกายเอาไปใช้ได้ทันที่โดยไม่ผ่านการย่อยที่กระเพาะ (ทันทีที่เราเอาน้ำตาลเข้าปาก น้ำลายจะย่อยน้ำตาลให้สามารถดูดซึมได้ตั้งแต่อยู่ในปาก)

ดังนั้นเมื่อเราทานน้ำตาลเข้าไป น้ำตาลจะถูกดูกซึมตั้งแต่อยู่ในปากเข้าไปในเส้นเลือดและลำเลียงไปที่สมอง เพราะสมองแทบจะเป็นอวัยวะเดียวของร่างกายที่ใช้น้ำตาลเป็นพลังงานหลัก ต่างจากอวัยวะอื่น ๆ ที่ใช้พลังงานจากไขมัน เมื่อสมองได้รับน้ำตาล สมองจะมีการหลังสาร "โดปามีน" ซึ่งเป็นสารก่อความสุข ทำให้เรารู้สึกมีความสุข และอารมณ์ดี

โดยปกติแล้ว "โดปามีน" นั้นจะมีการหลังออกมาเมื่อเราทำกิจกรรมบางอย่าง เช่น การประสบความสำเร็จ สำเร็จจากความท้าทายที่ยาก การเล่นเกมฯ การออกกำลังกาย การสำเร็จความใคร่ การมีเซ็ก หรือพูดได้อีกอย่างว่านี่เป็นฮอร์โมนแห่งความต้องการ

จากการศึกษาในสัตว์ทดลองอย่างหนูในงานวิจัยหนึ่ง ได้มีการทดลองในหนูสองกลุ่มตัวอย่าง โดยกลุ่มแรกมีการให้สารเสพติด "โคเคน" และ หนูในกลุ่มที่สองจะได้รับ "น้ำตาล" จากผลสรุปของการทดลอง นักวิจัยสรุปได้ว่าน้ำตาลนั้นกระตุ้นการหลังโดปามีนมากกว่าสารเสพติดโคเคน (น่าสนใจมาก)

ดังนั้น จริง ๆ แล้วเราอาจจะไม่ได้กำลังติดความหวานที่เป็นรสชาติของน้ำตาล แต่น้ำตาลนั้นกระตุ้นการหลังฮอร์โมนโดปามีนด้วยปริมาณที่มากจนทำให้เกิดอาการเสพติด สังเกตได้จากผู้ที่รับประทานสารทดแทนความหวาน ไม่ว่าจะเป็นจากธรรมชาติ เช่น หญ้าหวาน หล่อฮังก๊วย หรือ จากสารสังเคราะห์ ทั้ง ๆ ที่ให้รสชาติที่หวานเหมือนกัน แต่คนที่รับประทานมักจะบอกว่ามันไม่ชื่นใจเท่ากับได้ทานน้ำตาลจริง ๆ เพราะสารทดแทนความหวานนั้นไม่ได้กระตุ้นการหลังฮอร์โมนโดปามีนเท่ากับน้ำตาล

สมองสามารถเสพติดโดปามีนได้จากการทำกิจกรรมบางอย่างที่มากเกินไปได้เหมือนกัน จะเห็นได้จากคนที่เสพติดการออกกำลังกาย การวิ่งที่มากเกินไป วันไหนที่ไม่ได้ออกกำลังกายหรือออกไปวิ่งมักจะมีอาการซึมเศร้า หรือเด็กที่ติดการเล่นเกมที่วันไหนไม่ได้เล่น มักจะมีอารมณ์หงุดหงิด โมโหร้าย ดังนั้นการปล่อยให้ร่างกายได้รับโดปามีนมากเกินไปจึงเป็นผลเสีย และร้ายแรงยิ่งกว่ากิจกรรมอื่นใดคือการทานน้ำตาล เพราะน้ำตาลนั้นดูดซึมไปใช้ได้ง่าย เพียงแค่เรานำเข้าปาก ไม่ต้องวอร์มกล้ามเนื้อก่อนยกเวท ไม่ต้องว่างแผนก่อนการออกไปช็อปปิ่ง ไม่มีอะไรที่ยุ่งยาก

ง่าย ๆ เพียงหยิบเข้าปาก ทันทีที่น้ำตาลสัมผัสที่ปลายลิ้น สมองจะถูกกระตุ้นการรับรู้จากสัญญาณประสาทส่งผลให้เริ่มผลิตโดปามีนออกมาในปริมาณที่สูงมากในเวลาสั้น ๆ ถ้าพูดให้เห็นภาพคือ ถ้าเปรียบการทานคาร์โบไฮเดรตจากธรรมชาติอื่น ๆ คือการขึ้นภูเขาที่ไม่สูงชันมาก และยังทอดยาวออกไปหลายกิโลเมตร ก่อนจะค่อย ๆ ต่ำลง น้ำตาลนั้นเหมือนกับขึ้นรถไฟเหาะที่จุดยอดสุดนั้นสูงลิ่ว และทิ้งตัวดิ่งลงมาอย่างรวดเร็ว เมื่อทุกอย่างเกิดขึ้นและจบลงอย่างรวดเร็ว สมองจะต้องการเพิ่มอีกทำให้เราต้องหาอะไรหวาน ๆ กินอยู่ตลอดเวลาด้วยข้ออ้างที่ว่าน้ำตาลตก ทั้งที่จริง ๆ แล้ว ร่างกายของเราไม่ได้กำลังขาดน้ำตาลเลย เป็นเพราะว่าสมองของเราแค่กำลังลงแดงเพราะขาดโดปามีนจากอาการเสพติดต่างหาก

#Siamstr
#Health