Oddbean new post about | logout
 ล้ำกว่าความฉลาด คือ รู้เท่าทันการวางตัว
…..
ตามจิตวิทยาของซิกมันด์ ฟลอยด์ นักจิตวิทยาชาวออสเตรีย
-ความอิจฉาริษยานั้นเป็นธรรมชาติของมนุษย์
.
-ความอิจฉาเป็นแรงขับทางสัญชาตญาณของมนุษย์มาช้านาน ที่จะทำให้มนุษย์มีแรงขับทางด้านการต่อสู้ เอาชนะ ช่วงชิง แข่งขันและทะเลาะเบาะแว้ง
.....
ด้วยเหตุนี้โลกมนุษย์จึงมีสงครามเสมอๆตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นสงครามการค้า,จิตวิทยา,การเมือง หรือแม้กระทั่งสงครามที่หลั่งเหลือด
.
หรือแม้แต่สุภาษิตไทยที่ว่าไว้
"ทำดีได้แต่อย่าเด่นจะเป็นภัย"
.
นั่นเพราะว่ามนุษย์เรานั้นไม่ต้องการเห็นใครเด่นเกินหน้าเกินตาตน เพราะเกิดจากแรงอิจฉาริษยา
.
ตัวอย่างมีให้เห็นชัดๆจาก โจโฉช่วงสร้างตัวที่ถูกบรรดาขุนนางเก่าๆและฮ่องเต้ แทงหลังตลอด
…..
เมื่อโจโฉนั้นรับเอาฮ่องเต้มาอยู่ด้วยที่เมืองหลวง ในขณะที่บรรดาหัวเมืองอื่นๆได้แต่อิจฉาโจโฉ
…..
โจโฉนั้นงำประกาย
เดินเกมเงียบ อ่อนนอกแข็งใน
ปฏิบัติต่อองค์ฮ่องเต้เป็นอย่างดีต่างจากคนอื่นอาทิ
.
ตั๋งโต๊ะ ปลดฮ่องเต้องค์เดิม แต่ตั้งฮ่องเต้องค์ใหม่
อ้วนเสี้ยว คิดตั้งขุนนางแซ่เล่าเป็นฮ่องเต้ซ้อน
อ้วนสุด แต่งตั้งตัวเองเป็นฮ่องเต้สะเลย
.
หากแต่โจโฉนั้น "เชิดชูฮ่องต้ บัญชาเหล่าขุนนางทั่วหล้า"
…..
อยู่ไปอยู่มา บรรดาขุนนางในเมืองหลวง อาทิเช่น ตังสิน พี่เขยฮ่องเต้ได้ยุให้ฮ่องเต้กำจัดโจโฉสะงั้น ทั้งที่โจโฉก็ดูแลฮ่องเต้เป็นอย่างดี
.
ทำไมฮ่องเต้ถึงคิดกำจัดโจโฉละ ประเด็นนี้น่าสนใจ
.
น่าสนใจ 1 แน่นอนว่า บรรดาขุนนางเก่าโดยมีตังสินเป็นแกนนำ ที่ต่อมาก็มีเล่าปี่,ม้าเท้งก็ไม่พอใจโจโฉ ที่เด่นเกินหน้าเกินตาตน
.
น่าสนใจ 2 แน่นอนว่า ตัวฮ่องเต้เองนั่นแหละที่ต้องการเป็น no.1 และไม่ต้องการเห็นโจโฉเด่นเกินหน้าเกินตาตน
.
แต่คนแบบโจโฉนะเหรอจะกลัว เรื่องพวกนี้
เขาย่อมรู้ทันและหาทางหนีทีไล่ไว้หมดแล้ว
…..
อ้างอิงงานทดลองของ Dr.simon G. Shamay-Tsoory แห่ง University of Haifa เมื่อมนุษย์เราเห็นคนอื่นประสบความสำเร็จ *****จับคลื่นความถี่ภายในสมองเบื้องลึกๆของมนุษย์ทุกคนจะรู้สึกอิจฉาไม่ว่าน้อยหรือว่ามากแล้วแต่บุคคล
.
หากแต่ใช่ว่าความอิจฉานั้นจะไม่ใช่เรื่องที่ดีเสมอไป เพราะมันเป็นปัจจัยกระตุ้นให้มนุษย์เราพัฒนาตนเองไปสู่สิ่งที่ดีกว่าเดิม และถ้าจะดีกว่านั้นถ้าเราดีขึ้นโดยที่ไม่ต้องไปเปรียบเทียบกับคนอื่น
(หากแต่ความจริง หาใช่เช่นนั้นเสมอไปไม่)
…..
จะดีกว่านั้นไหมที่ เราทำดีได้ แต่เอาที่พอประมาณ
หากว่า เด่นเกินหน้าเดินตาเจ้านายอะ
ในประวัติศาสตร์ก็มีจุดจบไม่สวยมาหลายๆคน ประเด็นนี้น่าสนใจ
.
น่าสนใจ 1 ไม่มีเจ้านายคนไหนที่ชอบเห็นลูกน้องเด่นเกินตน เพราะเขาจะรู้สึกถูกคุกคาม,ไม่มั่นคง,อิจฉา
.
ลูกน้องที่ไม่รู้ข้อนี้ ไม่มีทางหนีทีไล่ล้วนแต่จุดจบไม่สวย อาทิเช่น โจโฉ-เอียวสิ้ว,ซุยต่ำ,โหลวกุย/ เตงงาย,จงโฮย ที่เด่นเกินหน้าเกินตาสุมาเจียว หรือแม้กระทั่ง งักฮุยเทพเจ้าแห่งความซื่อสัตย์ ที่เด่นเกินหน้าฮ่องเต้ซ่งเกาจง จอมทัพที่ไม่เคยนำทัพออกรบ และอื่นๆอีกมากมายเช่น หานซิ่น-เล่าปัง,ซางยาง-อ๋องแคว้นฉินคนใหม่
.
น่าสนใจ 2 เด่นที่พอประมาณ ช่วยเหลือเกื้อกูลกันและกันระหว่างเจ้านายกับลูกน้อง เช่น ตี๋เหรินเจี๋ย-ฮ่องเต้หญิงบูเช็กเทียน
.
น่าสนใจ 3 จังหวะไหนที่ควรฉายแสงต้องดูให้ดี
หากว่าเจ้านายอยู่ในจังหวะที่กำลังลงจากตำแหน่ง หรือ อยู่ในช่วงขาลงนั้น เป็นจังหวะที่ลูกน้องควรฉายแสง และเด่นเอาให้สุดไปเลย แบบที่โจโฉนั้นทำ
…..
"อย่าเด่นเกินหน้าเกินตาเจ้านาย"
ทั้ง3 ประเด็นนี้ ต้องพลิกแพลงให้ดี
.
ดังที่พิชัยยุทธ์ซุนวูว่าไว้
-ชนะไม่ได้ก็รอได้
-เบื้องบน-เบื้องล่าง ปรารถนาตรงกันจะได้รับชัยชนะ
.
หากแต่ ถ้าเบื้องบนปรารถนาไม่ตรงกับเบื้องล่างละ
ก็ต้อง
.
มากด้วยความระมัดระวัง
มากด้วยความรอบคอบ
.
ฉะนั้น"อย่าเด่นเกินหน้าเกิดตาเจ้านาย"
เพราะบางครั้งคนเรานั้น"รู้หน้า ไม่รู้ใจ"
…..
แล้วจะทำเช่นไรดีละ
.
เสนอไอเดียดีๆ แจ๋วๆได้ แต่เวลาได้หน้า ต้องให้เจ้านายได้หน้าไป
.
ภาษิตจีนโบราณว่า "ให้หน้าเขา เราได้หน้า"
…..
สังเกตไหมครับ ทำไมเวลามีงานพิธีการสำคัญๆ จึงมักจะมี พิธีกรขาประจำเสมอๆ
.
ก็เพราะว่า พิธีกรขาประจำเนี่ย เขามักจะพูดถึงแต่คุณความดี เรื่องที่ต้องขอบคุณของผู้ใหญ่และผู้ร่วมพิธีไงครับ บรรดาคนที่มาร่วมงานร่วมพิธีก็ยิ้ม ซาบซึ้งไปตามๆกัน หรือว่าใครที่ไม่ได้ฟังพิธีกรพูดเพราะมัวทานอาหารบนโต๊ะก็แล้วแต่
.
และพิธีกรเขาจะ"ไม่ทำตัวเด่นเกินกว่าเจ้าของงานหรือว่าผู้ใหญ่ในงาน" เพราะเขายึดหลัก
"ให้หน้าเขา เราได้หน้า"
…..
บทสรุป
1.มนุษย์เราเวลาเห็นผู้อื่นประสบความสำเร็จ ภายใต้เบื้องลึกของสมองจะรู้สึก อิจฉาทุกคน มันเป็นธรรมชาติและสัญชาตญาณของมนุษย์ ไม่มากก็น้อย หากแต่ถ้าเรายินดี(มุทิตา)ได้โดยไวก็เป็นสิ่งที่ดี และถ้าดีกว่านั้นคือ "ทำดีได้อย่าเด่นจะเป็นภัย"
.
2."อย่าเด่นเกินหน้าเกินตาเจ้านาย"
และในประวัติศาสตร์ หัวหน้ามักจะระแวงเสมอๆเวลามีลูกน้องเด่นกว่าตน ด้วยเหตุนี้เมื่อมีความชอบจึงต้องให้เจ้านายได้หน้าไป
.
โจโฉเมื่อขึ้นมามีอำนาจก็มักจะมีลูกน้องที่เด่นเกินหน้าเกินตาตนเสมอ เช่น ขงหยง,เอียวสิ้ว,และพวกนี้ก็มักจุดจบไม่สวย
.
ด้วยเหตุนี้ ผู้ที่อยู่เป็นจึงรู้จังหวะโคน จึงสามารถงำประกายและเอาตัวรอดมาได้ เช่น กาเซี่ยง,สุมาอี้
.
3.โจโฉ คือตัวอย่างที่ดีในการ
"อย่าเด่นเกินหน้าเกินตาเจ้านาย" เพราะนอกจากมีศึกนอกแล้ว โจโฉยังมีศึกในตลอดทั้งจากบรรดาขุนนางเก่าๆและฮ่องเต้ ที่คอยคิดแทงหลังโจโฉตลอด เขาทำเช่นไรจึงเอาตัวรอดมาได้เป็นเรื่องที่น่าศึกษา หากแต่ในชีวิตจริงคนเรานั้น อาจจะไม่ได้เป็นแบบโจโฉทุกคน
.
4."ให้หน้าเขา เราได้หน้า" และ"อย่าเด่นเกินหน้าเกินตาเจ้านาย"
.
ทำประโยชน์ให้หัวหน้า ตอบโจทย์หัวหน้า หากแต่เมื่อได้หน้าก็ให้เขาได้หน้าไป
.
ทำกำไรให้เขาชอบ แต่อย่าไปหักหน้าเขาหรือทำให้เขาขาดทุนเป็นอันขาด
.
ผู้ที่ทำได้เช่นนี้จึงช่วยเหลือเกื้อกูลกันอยู่กันยาวๆ เช่น ตี๋เหรินเจี๋ย-ฮ่องเต้หญิงบูเช็กเทียน
.
ผู้ที่ทำตรงกันข้ามมักจะมีจุดจบไม่สวยนัก เช่น
โจโฉ-เอียวสิ้ว,ขงหยง และแม่ทัพงักฮุยเทพเจ้าแห่งความซื่อสัตย์-ฮ่องเต้ซ่งเกาจง จอมทัพที่ไม่เคยนำทัพออกสนามรบ ,เตงงายและจงโฮย-สุมาเจียว
.
5.จังหวะที่ควรเด่นและฉายแสงสำหรับ"ท่านรอง" ก็คือ จังหวะที่เจ้านายกำลังลงจากตำแหน่ง,ขาลง
.
ภาพชัดเจน คือ โจโฉ-ฮ่องเต้เหี้ยนเต้ ,CEO ที่เจ้าของกิจการไม่ค่อยชอบ แต่มีหัวหน้าแผนกที่พร้อมเสียบ,หลี่ซื่อหมิน-หลี่เจี้ยนเฉิง
.
6.คำว่า เจ้านายในที่นี่ อาจหมายถึง หัวหน้า,รุ่นพี่ที่อาวุโสกว่า พลิกแพลงใช้ให้ดี บางครั้งต้อง"งำประกาย"ดีกว่า"ฉายแสง"
.
Cr. หนุ่มหน้าหนากับม้าแปดตัว