ควรจบได้รึยังกับการแทรกแซง (เสร่อ) ชุมชนท้องถิ่นโดยรัฐ?
“ผมก็แค่เผาป่าเก็บเห็ดเองครับ….ผมจำเป็นจริงๆ”
คำกล่าวจากชายเกษตรกรผู้หนึ่งต่อหน้าเจ้าหน้าที่ตำรวจและเจ้าหน้าที่กรมป่าไม้ ซึ่งกำลังจับกุมเค้าในข้อหารุกรานพื้นที่ป่าไม้ (ตามประกาศพื้นที่เขตอุทยาน) ณ จังหวัดเชียงใหม่ จากเบื้องต้นจะเล็งเห็นได้ถึงความ “พยายาม” ของรัฐในการสร้างมาตราฐานการอนุรักษ์ป่าตามแนวทางของสากลนิยม (University) โดยมาในรูปแบบการกำหนดนโยบายสาธารณะ (Public Policy) ต่อพื้นที่ชุมชน แม้จะมองในแง่ทั่วไปว่าในการปฏิบัติตามหลักยุทธศาสตร์เพื่อความยั่งยืน (SDGs) ของรัฐเป็นไปในทางที่ดีต่อประชาชน แต่นั้นเป็นสิ่งประชาชนแต่ละปักเจกบุคคลต้องการจริงๆ หรือ?
ปัญหาที่เราจะเห็นได้ชัดที่สุดจากการเข้ามาของรัฐคืออำนาจส่วนกลาง (Solidarity) ในการกำหนด “ทุกอย่างที่อยู่ภายใต้อำนาจรัฐ” โดยไม่สนความต้องการของแต่ละพื้นที่และแต่ละปักเจกบุคคล จนเกิดการละเมิดของอำนาจรัฐโดยความชอบธรรมตามกฎหมายหรืออำนาจส่วนกลางซะเสียเอง
งั้นเราจะพอได้รึยังกับ “นักเสร่อ” ชีวิตผู้อื่น? ผมขอแนะนำผลงานของ Ryan McMaken เรื่อง Breaking Away ว่าด้วยการกระจายอำนาจขั้นสุด (Radical Decentralization) เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของคนในพื้นที่เองและเป้าหมายของปักเจกบุคคล (Self-Determination) โดยที่ไม่ถูก “นักเสร่อ” มาควบคุมวิถีชีวิตของตนเอง นี้คือสิ่งที่ผมได้แนะนำข้างต้นจากแนวคิดของสำนักเศรษฐศาสตร์ออสเตรียสายมิเซเซียน (Misesian) ที่ผมฝากไว้ให้ผู้อ่านได้คิดไปพิจารณาต่อครับ แล้วคุณล่ะอยากให้โลกใบนี้หยุดความ “เสร่อ” ชีวิตคนอื่น เฉกเช่นเดียวกับผมไหม?
#siamstr https://image.nostr.build/9c068f1e2348d712c187259921403ffc06d2da01c33b7a5a2fdaaf900a315abc.png